วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทําเหมืองข้อมูล (Data Mining)

การทําเหมืองข้อมูล (Data Mining)
การทําเหมืองข้อมูล (Data Mining) คือกระบวนการที่กระทํากับข้อมูลจํานวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น ในปัจจุบันการทําเหมืองข้อมูลได้ถูกนําไปประยุกต์ใช้ในงานหลายประเภท ทั้งในด้านธุรกิจที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ในด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์รวมทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม

วิวัฒนาการของการทำเหมืองข้อมูล
- ปี 1960 Data Collection คือ การนําข้อมูลมาจัดเก็บอย่างเหมาะสมในอุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือและป้องกันการสูญหายได้เป็นอย่างดี
- ปี 1980 Data Access คือ การนําข้อมูลที่จัดเก็บมาสร้างความสัมพันธ์ต่อกันในข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการนําไปวิเคราะห์ และการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ
- ปี 1990 Data Warehouse & Decision Support คือ การรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บลงไปในฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยครอบคลุมทุกด้านขององค์กร เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
- ปี 2000 Data Mining คือ การนําข้อมูลจากฐานข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผล โดยการสร้างแบบจําลองและความสัมพันธ์ทางสถิติ

ขั้นตอนการทำเหมืองข้อมูล
ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานย่อยที่จะเปลี่ยนข้อมูลดิบให้กลายเป็นความรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
- Data Cleaning เป็นขั้นตอนสำหรับการคัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
- Data Integration เป็นขั้นตอนการรวมข้อมูลที่มีหลายแหล่งให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
- Data Selection เป็นขั้นตอนการดึงข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์จากแหล่งที่บันทึกไว้
- Data Transformation เป็นขั้นตอนการแปลงข้อมูลให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
- Data Mining เป็นขั้นตอนการค้นหารูปแบบที่เป็นประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่
- Pattern Evaluation เป็นขั้นตอนการประเมินรูปแบบที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูล
- Knowledge Representation เป็นขั้นตอนการนำเสนอความรู้ที่ค้นพบโดยใช้เทคนิคในการนำเสนอเพื่อให้เข้าใจ



ประเภทข้อมูลที่ใช้ทำเหมืองข้อมูล
- Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตาราง โดยในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดสามารถแสดงได้โดย Entity Relationship Model
- Data Warehouses เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันและรวบรวมไว้ในที่ๆ เดียวกัน
- Transactional Database ประกอบด้วยข้อมูลที่แต่ละทรานเเซกชันแทนด้วยเหตุการณ์ในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน จะเก็บข้อมูลในรูปชื่อลูกค้าและรายการสินค้าที่ลูกค้ารายซื้อ
- Advanced Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบอื่นๆ เช่น ข้อมูลแบบ Object-Oriented ข้อมูลที่เป็น Text File ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลในรูปของ Web





ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>>>>http://compcenter.bu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=75&Itemid=172

นางสาว ณัฐธีรดา ละดาดก (นิด)


วิธีการติดตั้งระบบ

วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี้ หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่ เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ มีการวิธีการติดตั้งที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธีการ และการนำไปใช้นั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์และระบบการทำงานดังนี้คือ
1. การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง (Direct Changeover)
หมายถึง การนำระบบใหม่เข้ามาในองค์กรทันทีตามที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า จะมีการเริ่มใช้งานระบบใหม่เมื่อใด เมื่อนั้นระบบเดิมจะถูกยกเลิกทันที การรติดตั้งแบบนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อระบบงานได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะถูกนำมาติดตั้ง แต่การติดตั้งระบบด้วยวิธีการนี้มีอัตราความเสี่ยงสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น เพราะหากระบบใหม่ได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว หากเกิดความผิดพลาดในการทำงาน จะทำให้การทำงานอื่น ๆ ในองค์กรหยุดชะงัดองค์กรเกิดความเสียหายได้จึงไม่เป็นที่ยมใช้หากสามารที่จะหลีกเลี่ยงได้
2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
หมายถึง การที่ระบบงานเก่ายังคงปฏิบัติงานอยู่ แต่ระบบใหม่ก็เริ่มต้นทำงานพร้อม ๆ กัน วิธีการนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะทำให้อัตราความเสี่ยงของการหยุดชะงัดของงานลดน้อยลง วิธีการนี้เหมาะสมที่สุดเมื่อระบบงานเด่าเป็นระบบงานที่ใช้คนทำ และระบบงานใหม่จะเป็นระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้ระบบงานทั้ง 2 ทำงานควบคู่กันไปในระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการเปรียบเทียบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบงานทั้งสองระบบคล้องจองกัน เมื่อผลลัพธ์ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าถูกต้องในช่วงเวลาหนึ่ง ระบบงานเก่าจึงจะถูกยกเลิกออกไปเหลือเพียงระบบงานใหม่ในองค์กรเท่านั้นที่ยังปฏิบัติงานอยู่ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ การที่จะต้องใช้ระบบ 2 ระบบทำงานไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทำงานสูง ภาระในการทำงานจะตกอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงาน
3. การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased Or Gradual Conversion)
การติดตั้งแบบนี้เป็นการรวมเอาข้อดีของ 2 วิธีการแรกมาใช้ โดยเป็นค่อย ๆ นำเอาบางส่วนของระบบใหม่ซึ่งอาจจะเป็นระบบงานย่อยเข้าไปแทนบางส่วนของระบบงานเดิม วิธีการนี้จะทำให้อัตราเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดลดน้อยลงกว่าการติดตั้งแบบทันที โดยกระทบจากข้อผิดพลาดจะอยู่ในวงจำกัดที่สามารถควบคุมได้ แต่ข้อเสียจะมีตรงเวลาที่ใช้ในการทยอยเอาส่วนต่าง ๆ ของระบบใหม่มาแทนระบบเดิมซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลานาน วิธีการนี้เหมาะกับระบบงานใหญ่ ๆ แต่ไม่เหมาะกับระบบงานเล็ก ๆ ที่ไม่ซับซ้อน
4. การติดตั้งแบบโมลดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
เป็นการแบ่งระบบงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ (Module) และอาศัยการติดตั้งด้วยวิธีทยอยนำระบบใหม่เข้าไปทีละส่วนย่อย ๆ แล้วผู้ใช้ระบบทำการใช้ส่วนย่อย ๆ จนกว่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ระบบ จึงค่อยนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความไม่คุ้นเคยระหว่างผู้ใช้กับระบบไปได้มาก ข้อเสียของระบบนี้คือ ส่วนย่อย ๆ (Module) ที่ให้ผู้ใช้ทดสอบอาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ตามที่คาดไว้ และการติดตั้งแบบนี้อาจต้องใช้เวลานานและต้องการความเอาใจใส่อย่างมากจากนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ระบบด้วย
5. การติดตั้งแบบกระจาย (Distributed Conversion)
เป็นการติดตั้งระบบให้กับธุรกิจที่มีสามาขามากกว่า 1 แห่ง เช่น ธนาคาร บ.ประกันภัย ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การติดตั้งจะเริ่มทำการติดตั้งทีละสาขา โดยจะทำการติดตั้งและทดสอบเป็นอย่างดีแล้วในสาขาแรก จึงค่อย ๆ ทยอยนำไปติดตั้งในสาขาอื่น ๆ ต่อไป ข้อดีของวิธีการนี้คือ ระบบงานสามารถจะได้รับการทดสอบการปฏิบัติงานจริงจนกว่าจะเป็นที่พอใจ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสาขาอื่น ๆ เนื่องจากระบบงานใหม่จะทำงานเฉพาะสาขาที่ทำการติดตั้งเท่านั้น ไม่ได้โยงไปยังสาขาอื่น ๆ วิธีการติดตั้งสำหรับสาขาหนึ่งอาจจะให้ไม่ได้กับอีกสาขาหนึ่งจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ผู้ใช้กับการพัฒนาระบบมีความสำคัญจริงหรือ

สำหรับระบบที่ดิฉันน่าจะอธิบายและเข้าใจได้ดีที่สุดน่าจะเป็นการนำเอาระบบโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีมาใช้กับองค์กร จะเห็นได้ว่าองค์กรส่วนใหญ่ได้นำมาใช้เพื่อทดแทนการทำบัญชีแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้เป็น Book ที่การเก็บข้อมูลต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก การรื้อค้นข้อมูลไม่สะดวก ทำให้เสียเวลาในการทำงาน แต่ตอนนี้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีเข้ามามีบทบาทค่อนข้างสูง เพราะทุกองค์กรเล็งเห็นถึงประสิทธิภาพที่มีมากกว่าการทำบัญชีแบบเดิม ๆ โดยโปรแกรมที่จะเลือกใช้ต้องคำนึงถึงประเภทของธุรกิจขององค์กรนั้น ๆ หากต้องการให้คุ้มค่าที่สุดคงต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับธุรกิจ และใช้อย่างคุ้มค่าทุก function นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมวิธีการใช้ให้กับผู้ปฏิบัติงานด้วย ซึ่ง โปรแกรมทางการบัญชีแม้ว่าเป็นการซื้อลิขสิทธิ์ แต่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นพนักงานบัญชีกับฝ่าย IT ขององค์กรได้มีการพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งจากการทำงานที่ผ่านมามักเกิดปัญหาเมื่อผู้พัฒนาระบบซึ่งเป็นฝ่าย IT ไม่มีความรู้ทางการบัญชี และเมื่อพนักงานบัญชีเสนอความคิดเพื่อให้มีการพัฒนาระบบมักจะไม่ได้รับการตอบรับจากผู้พัฒนาระบบ ส่งผลให้ผู้เสนอความคิดเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเมื่อเสนอไป คิดไป ไม่ได้รับการตอบรับจากอีกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ปัญหาที่มีเกือบจะได้รับการแก้ไขแต่กลับล้มเหลวเพราะขาดการประสานงานที่ดีต่อกัน จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าผู้ใช้ได้มีส่วนร่วมต้องการให้ความร่วมมือแต่งานกลับล้มเหลวเพราะขาดการประสานงานที่ดีระหว่างกัน จากกรณีนี้ทางฝ่ายบัญชีเคยมีความรู้สึกว่าน่าจะมีฝ่ายพัฒนาระบบที่มีความรู้ทางการบัญชีเพื่อรองรับความต้องการด้านนี้โดยเฉพาะในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และคอยตอบคำถามและปัญหาของผู้ใช้อย่างรวดเร็ว


จะเห็นได้ว่าผู้ใช้ในองค์กรให้ความร่วมมืออย่างดีในการพัฒนาระบบ คำถามต่อมาคือเป็นเพราะเหตุใด เขามีวิธีการอย่างไร จึงไม่มีปัญหาในการที่ผู้ใช้ไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบ คำตอบที่ดีสำหรับกรณีนี้คือ ผู้ให้เห็นความสำคัญและประสิทธิภาพของการนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีมาใช้ในระบบงาน ทำให้พวกเขาทำงานได้เร็วขึ้น ลดภาระในการท่องจำหรือหาข้อมูลในอดีต เมื่อมีข้อดีเช่นนี้ทำให้พวกเขามีเวลาว่างในการทำงานมากขึ้น ลดภาระการเคร่งเครียดกับงานตลอดทั้งวัน ซึ่งผลดีเหล่านี้พวกเขาจึงมีความสุขกับงาน ส่งผลให้พวกเขามีความต้องการและคิดค้นการทำงานหรือปฏิบัติงานที่รวดเร็ว


นอกจากการนำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปมาพัฒนาแล้ว ดิฉันอยากเสนอความคิดในการพัฒนาระบบหนึ่งที่เป็นความต้องการของตัวเอง หากผู้ดีมีความคิดเพิ่มเติมน่าจะเขียนมาคุยกันได้นะค่ะ คือด้านการจัดเก็บขอ้มูลการเข้าและออกของสินค้าสำเร็จรูป กล่าวคือน่าจะมีการว่าจ้างโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาระบบให้งานรวดเร็วขึ้น เพื่อลดขั้นตอนในการทำงานซ้ำซ้อนของแต่ละแผนก คำว่าซ้ำซ้อนที่ดิฉันรู้สึกคือ องค์กรส่วนใหญ่มักให้ แผนกสต๊อก แผนกขาย และแผนกบัญชี มีการเก็บข้อมูลการเข้าและออกของสินค้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่เหมือนกันแต่เกิดขึ้นคนละเวลา คือแผนกสต๊อกทำเมื่อผลิตสินค้าเสร็จนำเข้าคลังและทำสินค้าออกเมื่อสินค้าถูกขนถ่ายขึ้นรถลูกค้า แผนกขายรับเมื่อการแจ้งจากแผนกสต๊อกและตัดออกตามinvoice ส่วนแผนกบัญชีทำรับสินค้าเมื่อถูกแจ้งจากแผนกขาย และตัดสินค้าออกจากบัญชีเมื่อรับใบขนส่งสินค้าจากแผนกขาย ซึ่งทำให้เสียเวลาในการทำงาน หากมีการจัดทำข้อมูลโดยขั้นตอนเดียวแต่ข้อมูลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง 3 ฝ่าย ก็เป็นการทำงานดีเยี่ยมทีเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/blog/kmworld/2612

เสาวรักษ์ พูลทา (กิ๊ก)

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ ธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรง อยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะ ยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Abilety) ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony) ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง

กลยุทธ์ธุรกิจ

"กลยุทธ์ ยุทธวิธี หรือยุทธศาสตร์" แปลมาจากภาษาอังกฤษ "Strategy" ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า "Strategia" หมายถึง "Generalship" หรือศาสตร์และศิลป์ในการ บังคับบัญชากองทัพ ปกติกลยุทธ์เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางทหารในเรื่อง เกี่ยวกับการ สงคราม และแนวทางในการเอาชนะศัตรู ซึ่งได้รับความสนใจจากนักการทหารในทุกประเทศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่อง จากในอดีตการปกครองและ การทหาร จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยผู้ปกครองมักจะเป็นผู้นำทางการทหาร หรือผู้นำทางการ ทหารมักจะเข้ามา มีบทบาทและ อำนาจ ทางการเมือง กลยุทธ์จึงได้ รับความสนใจจากนักการเมืองและนักปกครองที่พยายาม ศึกษา และนำหลักการมาประยุกต์ในการสร้าง ฐานอำนาจ การขึ้นสู่อำนาจ การรักษาอำนาจ และการปกครองคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่าง สงบสุข
เนื่องจาก "กลยุทธ์" ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในหลายแนวทาง เช่น กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์ในการสงคราม กลยุทธ์ การ ครอง เรือน กลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ และ กลยุทธ์การเกษตรเป็นต้น ดังนั้นเราจะกล่าวถึง "กลยุทธ์ธุรกิจ" ตามความหมายของผู้เชี่ยวชาญ ในสาขา นี้เป็นสำคัญโดยเราจะศึกษาจากความหมายของ ohmae วิศวกรนิวเคลียร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งทำงานให้กับบริษัท ที่ปรึกษาทาง ธุรกิจ McKinsey โดยที่ Ohmae ได้รับการยอมรับว่าเป็นปรมาจารย์ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Guru) คนเดียวของ เอเซีย นอกจากนี้เขายังได้รับการกล่าวถึงจาก บุคคลทั่วไปว่าเป็น "นายกลยุทธ์ (Mr. Strategy)" จากงานเขียนชื่อ "The Mind of the Strategist (1982)" กล่าวว่า "กลยุทธ์ คือ การหาแนวทางให้องค์การสามารถ เอาชนะคู่แข่งขัน อย่างมี ประสิทธิภาพ ภาย ใต้เงื่อนไข ของ ทรัพยากรที่มีอยู่" เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน การจำแนก กลยุทธ์ตาม ระดับและขอบเขต การดำเนิน งานขององค์การออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy) จะถูกกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ปกติกลยุทธ์ในระดับ องค์การ จะมีขอบเขตครอบคลุมระยะเวลายาวและทั่วทั้งองค์การ โดยที่กลยุทธ์ระดับองค์การจะเป็นเครื่องกำหนดว่า องค์การสมควรจะ ดำเนิน ธุรกิจ อะไร และ จัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินงานและการดำรง อยู่ในอนาคต

2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) จะมีขอบเขตที่จำกัดว่ากลยุทธ์ระดับองค์การ โดยกลยุทธ์ระดับธุรกิจจะให้ความ สำคัญ กับการ แข่งขันของธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมกลยุทธ์ระดับนี้มัก ถูกกำหนด โดย "ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ (Business Unit Head , BU Head)" เพื่อให้หน่วยธุรกิจ (Business Unit , BU) ของตนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทาง เดียวกับ ภารกิจ (Mission) และวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์การ

3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) จะถูกกำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การ ดำเนิน การ และทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า โดยที่กลยุทธ์ระดับนี้จะมีลักษณะที่เฉพาะ เจาะจง ตาม หน้า ที่ ทาง ธุรกิจ โดยรวบรวมข้อมูลจากภายในหน่วยงานและจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานเฉพาะ หน้าที่ประสบ ความสำเร็จภายใต้ ช่วงระยะ เวลาที่แน่นอน

ที่มา : http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/117/mis.htm

นายต้น เหรียญรุ่งเรือง (ต้น)

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การตวรจสอบแผนงานการติดตั้งระบบ

เมื่อแผนงานการติดตั้งระบบงานได้ถูกวางเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ควรตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงานอีกครั้ง โดยสิ่ง ที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องคำนึงมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการคือ

1. ผลการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ
สามารถนำมาช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบในตอนนี้ด้วย นั่นก็คือนักวิเคราะห์ระบบควรพิจารณาว่าอาจมีผู้ใช้ระบบบางคนที่มีความ สามารถ อาจช่วยเหลือท่านได้

2. บันทึกการทดสอบระบบงาน
นักวิเคราะห์ควรตรวจสอบบันทึกการทดสอบระบบงานอีกครั้งเพื่อความแน่ใจว่าระบบงาน ได้รับการทดสอบและแก้ไขทั้งหมดแล้ว

3. ตรวจสอบรายชื่อซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อระบบ
นักวิเคราะห์จะต้องตรวจสอบรายการซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับระบบว่าจะต้องมีแผนงานติดตั้งอย่างครบถ้วน และมีรายละเอียดติดตั้งอย่างเพียงพอ

4. ตรวจสอบแผนงานการจัดตั้งแฟ้มและการบันทึกข้อมูล
ในแผนงานติดตั้งระบบจะต้องมีรายละเอียดการจัดตั้งแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลอย่างพร้อมมูล ในกรณีที่จะต้องมีการบันทึกข้อมูลเข้าไปในแฟ้มหรือฐานข้อมูลในแผนงานจะต้องระบุชื่อ ผู้รับผิดชอบในการบันทึกไว้ให้ชัดเจน

5. คู่มือการติดตั้ง
ในการติดตั้งระบบงาน โดยเฉพาะระบบงานที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์จากภายนอกจะต้องมีคู่มือติดตั้งให้พร้อม เพื่อใช้ในวันติดตั้งระบบ คู่มือติดตั้งจะต้องระบุถึงสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการติดตั้ง แผนงานการติดตั้งระบบจะต้องถูกจัดทำขึ้น เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะประกอบด้วยงานต่างๆ ที่ต้องทำวันที่ที่จะทำการและผู้รับผิดชอบ โดยแผนงาานติดตั้งระบบจะต้องนำเสนอให้กับนักบริหารก่อนเพื่ออนุมัติ

ข้อมูลเพิ่มเติม >>>> http://www.bcoms.net/system_analysis/lesson85.asp

by ชุติมน ศิริศรชัย (ก้อย):))

การติดตั้งระบบ

การติดตั้งระบบ
ในขั้นตอนของการติดตั้งระบบนี้ประกอบด้วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องทำอย่างเป็นลำดับคือ

1. การเขียนโปรแกรมของระบบใหม่
2. ทดสอบโปรแกรม
3. การติดตั้งระบบใหม่

สำหรับกระบวนการติดตั้งระบบนี้ จะเริ่มลงมือหลังจากผู้บริหารได้ตกลงยอมรับระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้ประกอบด้วย การติดตั้งระบบใหม่และยกเลิกการทำงานของระบบเก่าในระยะการติดตั้งระบบนี้จะ เป็นส่วนที่ยากที่สุดในทุก ๆ งาน ดังนั้นจึงควรเผื่อเวลาสำหรับทำงานในกรณีที่ล่าช้ากว่ากำหนดเอาไว้บ้าง
ในระหว่างการติดตั้งระบบ ปัญหาที่ไม่คาดคิดจากช่วงของการออกแบบระบบมักจะเกิดขึ้นการแก้ไขปัญหาเหล่า นี้จึงมีผลทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้ออกแบบไว้ ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรยอมรับการแก้ไขเหล่านั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมไม่ปรับเปลี่ยนเกินความจำเป็น
การติดตั้งระบบประกอบด้วย 3 อย่างด้วยกัน เริ่มจาการเขียนโปรแกรมในขั้นตอนสามารถร่นระยะเวลาให้สั้นลงได้ ถ้าสามารถซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้แทนการการเขียนเองทั้งหมด ขั้นต่อไปคือ การทดสอบโปรแกรมซึ่งประกอบด้วย การทดสอบการทำงานแต่ละโปรแกรม การทดสอบระบบรวมและการทำเอกสารประกอบ ขั้นตอนสุดท้ายคือ การติดตั้งระบบ

การเขียนโปรแกรมระบบใหม่
ก่อนที่จะเริ่มการเขียนโปรแกรม ควรได้รับการเห็นชอบหรือตกลงกันในระบบที่ได้ออกแบบไว้เสียก่อน รวมทั้งจะพิจารณาซื้อโปรแกรมมาใช้ทำงานในบางขั้นตอนของระบบแทนการเขียนทั้ง หมด ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมโดยคร่าว ๆ มีดังนี้
1. การทำเอกสารต่าง ๆ ก่อนลงมือเขียนโปรแกรม ได้แก่ Data Flow Diagram Minispecification เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบรวมทั้งพิจารณาความถี่ในการทำงานแต่ละขั้นตอนและภาษาที่เหมาะสม
2. สรุปรูปแบบของข้อมูล (Output) และข้อมูลเข้า (Input) ข้อมูลอกได้แก่ รายงานรูปแบบต่าง ที่ผู้ใช้หรือผู้บริหารต้องการ ส่วนข้อมูลเข้า ได้แก่ หน้าจอ (Screen) สำหรับใส่ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบรายงานต่าง ๆ เหล่านั้น รวมแหล่งที่มาของข้อมูลและการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้
3. เขียนโปรแกรม Flow Chart เพื่อแสดงการทำงานทุกขั้นตอนของโปรแกรม
4. ออกแบบแฟ้มข้อมูล (File Layout) ตามความเหมาะสมในการใช้งาน ลักษณะแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้แก่ แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential) ซึ่งเหมาะสมในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ และไม่ต้องการดึงข้อมูลมาใช้เฉพาะบางระเบียน (Record) อย่างรวดเร็ว ต่อไปคือ แฟ้มข้อมูลดัชนี (index Sequential file) มีลักษณะเหมือนแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับแต่จะมีดัชนี (Index) เพื่อใช้ในกรณีต้องการดึงข้อมูลขึ้นมาใช้เฉพาะบางระเบียนได้ และแฟ้มข้อมูลเข้าถึงโดยตรง (Random – Access File) เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องการดึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว
5. เขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้
6. ทำการ Compile และตรวจสอบความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม โดยอาจจะสมมติข้อมูลง่าย ๆ ไว้ใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบ
7. ทดสอบการทำงานรวมของระบบ โดยใช้ข้อมูลครอบคลุมทุก ๆ เงื่อนไข เริ่มจากโปรแกรมแรกจนถึงโปรแกรมสุดท้าย การทดสอบรวมทุกเงื่อนไขนี้เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละโปรแกรมทำงานต่อเนื่องกัน ได้อย่างถูกต้อง
8. ทำเอกสารประกอบทุกโปรแกรม ได้แก่ เอกสารที่ใช้ประกอบในการเขียนโปรแกรมและเอกสารวิธีใช้โปรแกรม

การทดสอบโปรแกรม
เป็นการทดสอบโปรแกรมว่ามาสารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องรู้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด โดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนั้น ๆขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการทดสอบโปรแกรมคือ
1. ทดสอบการทำงานของแต่ละโปรแกรม ในขั้นตอนนี้มักจะต้องเสร็จสิ้นในขั้นการเขียนโปรแกรม
2. สร้างข้อมูลสำหรับทดสอบโปแกรม ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นจะต้องควบคุมทุก ๆ กรณีที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานจริง โดยการสร้างชุดข้อมูลนี้โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ใช้และผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นจำเป็นจะต้องร่วมกันคิดชุดข้อมูลขึ้นเพื่อ ทดสอบการทำงานที่ถูกต้องตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม ทดสอบรูปแบบต่าง ๆ ในการใส่ข้อมูล ทดสอบค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดที่ป้อนเข้าไป
3. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทำงานหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมต่อกันของแต่ละโปแกรมนั้น สามารถทำได้อย่างถูกต้อง
4. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทดสอบท่านหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมกันได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นก็เพื่อทดสอบเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ใช้ระบบว่ามีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและป้อนข้อมูล สุดท้ายก็เพื่อทดสอบว่าแต่ละโปรแกรมที่ทำงานเชื่อมต่อกันนั้นมีความถูกต้อง ตามคุณสมบัติที่นักวิเคราะห์ระบบเขียนเอาไว้หรือไม่
5. ทดสอบการสำรองแฟ้มข้อมูลและการเริ่มทำงานของระบบใหม่ การทดสอบเหล่านี้มีความจำเป็นในกรณีที่ระบบที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอย่าง กะทันหัน ซึ่งการสำรองแฟ้มข้อมูลตามระยะเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้การนำข้อมูลที่เสีย ไปนั้นกลับขึ้นมาอย่างง่ายดาย รวมทั้งการเริ่มทำงานใหม่ก็ต้องถูกต้องด้วย
6. เขียนเอกสารประกอบโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย
6.1 หมายเหตุที่เขียนขึ้นภายในโปรแกรม เพื่อบอกหน้าที่ของแต่ละชุดคำสั่งแฟ้มข้อมูลที่ใช
้6.2 Flowchart แบบต่าง ๆ หรือ Data Flow Diagram เพื่ออธิบายขั้นตอนของแต่ละโปรแกรม
6.3 ในกรณีที่มีหลาย ๆโปรแกรมประกอบกัน ควรจะมี Flowchart แสดงการทำงานรวมด้วย
6.4 ในโปรแกรมใดที่มีขั้นตอนการทำงานซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการคำนวณ ขั้นตอนการปรับปรุงแฟ้มข้อมูล หรืออื่น ๆ ควรจะใช้ Minispecification เพื่ออธิบายรายละเอียดให้ชัดเจน
6.5 ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก

การติดตั้งระบบใหม่
เป็นขั้นการเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมมาเป็นการทำงานในระบบใหม่ งานขั้นนี้ไม่ค่อยซับซ้อนแต่จะใช้เวลานาน โดนทำงานดังต่อไปนี้

1. เขียนคู่มืออธิบายการใช้ระบบงาน
2. จัดทำแบบฟอร์มต่าง ๆ สำหรับใช้กับระบบงานใหม่
3. จัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน และผู้ใช้จนมีความเข้าใจ
4. เปลี่ยนข้อมูลที่เดิมมีอยู่แล้วให้เป็นข้อมูลระบบใหม่

ลักษณะของระบบที่ดี

ระบบที่ดีสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment) ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" ซึ่งทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (Open system) คือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (input) จากสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงาน อาหาร ข้อมูล แล้วเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้กลายเป็นผลผลิต (output) แล้วจึงส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose) คือ ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ก็มีจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนว่า "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation) ทำได้โดยการแลกเปลี่ยน input และ output กันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบหรือระบบย่อย เช่น ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย หรือระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ฯลฯ
4. มีการแก้ไขตนเอง (self-correction ) เพื่อการรักษาสภาพของตนเอง เช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม) อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างกายก็จะต้องผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัดเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น

อ้างอิงจาก ---> http://www.st.ac.th/av/inno_system.htm

โดย นางสาวสุภาพร แซ่แต้ (บี) 51040886

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

PHP, SQL, MySQL คือ?

PHP, SQL, MySQL คือ?

พีเอชพี (PHP) คือ...

ภาษาคอมพิวเตอร์ ประเภท Open Source ที่ใช่กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งใช้ในการจัดทำเว็บไซต์ และสามารถประมวลผลออกมาในรูป HTML มีโครงสร้างคำสั่งคล้าย ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่งง่ายต่อการเรียนรู้ เป้าหมายหลักของภาษานี้ คือเป็นเครื่องมือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้

ภาษาแบบ Server-Side Script จึงต้องมีเครื่องบริการ ที่บริการการแปลภาษา เป็นภาษาที่ถูกนำไปใช้พัฒนาเว็บเพจร่วมกับภาษา HTML เดิม PHP พัฒนาจาก ภาษาซี (C Language) และมีโครงสร้างภาษาคล้าย PERL คำว่า PHP ย่อมาจาก Personal Home Page แต่ต่อมาได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และเปลี่ยนเป็น Professional Home Page

เอสคิวแอล (SQL) คือ...

SQL (Structured Query Language) คือ ภาษาสอบถามข้อมูล หรือภาษาจัดการข้อมูลอย่างมีโครงสร้าง มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมฐานข้อมูลที่รองรับมากมายเพราะจัดการข้อมูลได้ง่าย เช่น MySQL, MsSQL, PostgreSQL หรือ MS Access เป็นต้น สำหรับโปรแกรมฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมคือ MySQL เป็น Open Source ที่ใช้งานได้ทั้งใน Linux และ Windows

มายเอสคิวแอล (MySQL) คือ...

โปรแกรมฐานข้อมูล มีหน้าที่เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รองรับคำสั่ง SQL (Structured Query Language) เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ที่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นอย่างสอดคล้อง เพื่อให้ได้ระบบที่รองรับความต้องการของผู้ใช้ เช่น เครื่องบริการเว็บ (Web Server) และโปรแกรมประมวลผลฝั่งเครื่องบริการ (Server-Side Script) MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ใช้ในการจัดการดาต้าเบส (Database) โดยใช้ภาษา SQL ถูกพัฒนาโดยบริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน มีทั้งแบบใช้ฟรี และเชิงธุรกิจ


BY นางสาวพิชชานันท์ พินิจธนภาคย์ (เอ)

ขอบคุณข้อมูลจาก>>>> http://www.esarndesign.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8:php-sql-mysql-&catid=2:knowledge&Itemid=10

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

คุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
พิจารณาคุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1.       จำนวนงานที่ทำได้ ถ้ามีหลายโปรแกรมทำงานพร้อมกันได้ เรียกว่า Multi - Tasking OS แต่ถ้า OS ควบคุมให้โปรแกรมทำงานได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น เราเรียกว่า Single - Tasking OS
2.       จำนวนผู้ใช้ จำนวนผู้ใช้ OS สามารถควบคุมการทำงาน ให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้ หลายเครื่องในระบบเครือข่าย ที่มีผู้ใช้หลายคน ถ้า OS สามารถจัดการระบบ ที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คน พร้อมกันได้ในระบบเรียกว่า Multi-User OS แต่ถ้า OS สามารถจัดการระบบ ได้เพียงเครื่องเดียว หรือมีผู้ใช้ระบบ ได้เพียงครั้งละ 1 คน เรียกว่า Single - User OS
3.       ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้ ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
·         Generic Operation System ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ประเภทใด
·         Proprietary Operating System ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งระบบใด หรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อใดเท่านั้น ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียว ไม่สามารถนำไปใช้ กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple II ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorola ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปได้

ลำดับวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์

  1. การวางแผน(Planning) เป็นขั้นตอนการการวางแผนงานโดย กำหนดรูปแบบของซอฟแวร์ ประมาณการต้นทุนในการพัฒนาระบบ กำหนดแนวทางของการพัฒนาระบบ กำหนดระยะเวลา เป็นต้น
  2. การวิเคราะห์ความต้องการ(Analysis) เป็นขั้นตอนของการค้นหาความต้องการของระบบ และวิเคราะห์ความต้องการนั้น เพื่อให้เข้าใจภาพรวมและหน้าที่การทำงานของระบบ
  3. การออกแบบ(Design) เป็นขั้นตอนการออกแบบส่วนประกอบต่างๆของซอฟแวร์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว
  4. การเขียนโปรแกรม(Development) เป็นขั้นตอนการสร้างระบบโดยการเขียนโปรแกรม ตามแนวทางการออกแบบจากขั้นตอนที่ผ่านมา
  5. การทดสอบ(Testing) เป็นขั้นตอนการนำระบบที่ทำมาทดสอบการใช้งาน ว่าทำงานถูกต้องตามความต้องการที่ได้หรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะรวมถึงการทดสอบการเชื่อมโยงกับระบบซอฟแวร์อื่นๆที่เกี่ยว ข้องด้วย
  6. การประเมิน เป็นขั้นตอนการประเมินว่าระบบที่ผ่านการทดสอบแล้ว เหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้หรือไม่
  7. การโอนย้ายข้อมูล(Data Conversion) เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลเก่าเข้าระบบใหม่ก่อนการนำระบบไปใช้จริง
  8. การนำไปใช้งานงานจริง(Production) เป็นขั้นตอนที่นำระบบที่พัฒนาสำเร็จและผ่านการทดสอบแล้วไปใช้งาน โดยทำการติดตั้ง และสอนวิธีการใช้งานแก่ผู้ใช้
  9. การให้ความช่วยเหลือ(Support) เป็นขั้นตอนของการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ใช้ เมื่อพบปัญหา โดยหากปัญหาที่เกิดไม่สามารถแก้ไขได้ จะต้องทำการพัฒนาระบบเพิ่มเติม ก็จะเริ่มวนไปที่ขั้นตอนแรกใหม่
By: นางสาวธารทิพย์ โลหณุต (แพร)

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

กระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ดีควรหาข้อผิดพลาดให้ได้ แต่ต้องไม่สับสนเรื่องขั้น-ตอนในการพัฒนา ถ้าผลิตอย่างมีขั้นตอน ก็ควรมีความยืดหยุ่นพอสมควร และไม่ยึดติดกับขั้นตอนมากเกินไป จนทำให้โครงการล่าช้าหรือล้มเหลวเพราะเลือกใช้ขั้นตอนที่ไม่เหมาะสมกับประเภทของซอฟต์แวร์

ถ้าพบข้อผิดพลาดช่วงแรกๆ ก็จะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้มาก การศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทจีทีอี (GTE) และบริษัททีอาร์ดับเบิลยู (TRW) โดยนายแบรี บีม(Barry Boehm) ในปี ค.ศ. ๑๙๓๖ พบว่า ถ้าแก้ไขข้อผิดพลาดเมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จแล้วแทนที่จะแก้ไขตั้งแต่ตอนที่หนดคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น๑๐๐ เท่า ตัวอย่างของปัญหานี้เห็นได้อย่างชัดเจนในการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ หรือที่เรียกว่า ปัญหาวายทูเค (Y2K) บริษัที่ออก-แบบซอฟต์แวร์ให้ใช้กับปีที่มีเลข ๔ หลักตั้งแต่ต้นแทบจะไม่เดือดร้อนในการแก้ไขเลย แต่ซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ต่างละเลยปัญหานี้ โดยยังคงใช้ปีเป็นเลข ๒ หลักอยู่ บางรายใช้อยู่เป็นสิบๆ ปี เมื่อถึงเวลาแก้ไขข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ ก็ปรากฏว่าต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากถึงหลายสิบล้านบาท ร้อยล้านบาท หรือมากกว่านั้น

การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมีขั้นตอน มีหลายแบบและยังมีวิวัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่องเพราะสาขาทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์นี้ เพิ่งเกิดขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๒๐ หากเทียบกับระยะเวลาที่มนุษยชาติศึกษากระบวนการสร้างที่อยู่อาศัยที่มีมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ก็นับได้ว่าสาขาวิชานี้ยังใหม่อยู่มาก ดังนั้น ในการเลือกกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องตั้งคำถามว่า กระบวนการใด "เหมาะ" ที่สุดสำหรับโจทย์ปัญหาและประเภทของซอฟต์แวร์ ไม่ใช่กระบวนการใด "ดี" ที่สุด

การพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ใช่กระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่แน่นอนเหมือนเช่นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากซอฟต์แวร์ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้โจทย์ปัญหาบางอย่างให้แก่มนุษย์ เมื่อสภาพของโจทย์ปัญหาหรือคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไป ซอฟต์แวร์ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม ซอฟต์แวร์ที่ขาดการทำนุบำรุงจึงเสื่อมคุณภาพ ทั้งที่ไม่ได้สึกหรอ ทั้งนี้เพราะไม่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป

ในสมัยแรกๆ การผลิตซอฟต์แวร์มักไม่มีขั้นตอน คือ เริ่มต้นด้วยการเขียนซอฟต์แวร์เลยเมื่อมีปัญหาก็แก้ไข เขียนแล้วแก้สลับกันไปจนกว่าจะได้คุณลักษณะที่ต้องการ ผลก็คือ จะได้ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนมาก หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในภายหลัง และผู้ที่แก้ไขไม่ใช่ผู้เขียนซอฟต์แวร์นั้นเอง ก็จะมีปัญหามาก มักทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงซอฟต์แวร์เกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้

ต่อมาได้มีการนำหลักวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์จึงแบ่งได้เป็น ๓ ระยะ คือ

๑. กำหนดคุณลักษณะซอฟต์แวร์ (Definition) เน้นว่าจะ "สร้างอะไร" โดยให้คำตอบว่า "โจทย์ปัญหาที่ต้องการแก้คืออะไร" และ "สิ่งที่จะใช้แก้ปัญหานี้คืออะไร"
๒. สร้างซอฟต์แวร์ (Development) เน้นว่าจะ "สร้างอย่างไร" โดยให้คำตอบเรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะสร้างสิ่งที่นำมาใช้แก้ปัญหาได้" และ "ทำอย่างไรจึงจะตรวจสอบหาข้อบกพร่องของสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ตลอดจนสิ่งที่นำมาใช้แก้ปัญหารวมทั้งซอฟต์แวร์และเอกสารอธิบายซอฟต์แวร์"
๓. วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Evolution)เน้นว่าจะ "เปลี่ยนแปลงอย่างไร" โดยให้คำตอบเรื่อง "เมื่อสภาพการณ์หรือปัญหาเปลี่ยนแปลงไปต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับปรุงสิ่งนั้นให้ยังคงใช้แก้ปัญหาได้"

แม่แบบของกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นขั้นตอนที่เก่าแก่ที่สุดนั้น เรียกกันว่า แม่แบบแบบขั้นน้ำตก (Waterfall Model) ซึ่งเมื่อลากเส้นเชื่อมต่อแต่ละขั้นตอนลงไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ก็จะมีลักษณะคล้ายน้ำตก

เพิ่มเติม http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C/

นางสาวอริญญา ปิ่นแก้วกาญจน์ ปอย

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

กระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ดีควรหาข้อผิดพลาดให้ได้ แต่ต้องไม่สับสนเรื่องขั้น-ตอนในการพัฒนา ถ้าผลิตอย่างมีขั้นตอน ก็ควรมีความยืดหยุ่นพอสมควร และไม่ยึดติดกับขั้นตอนมากเกินไป จนทำให้โครงการล่าช้าหรือล้มเหลวเพราะเลือกใช้ขั้นตอนที่ไม่เหมาะสมกับประเภทของซอฟต์แวร์

ถ้าพบข้อผิดพลาดช่วงแรกๆ ก็จะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้มาก การศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทจีทีอี (GTE) และบริษัททีอาร์ดับเบิลยู (TRW) โดยนายแบรี บีม(Barry Boehm) ในปี ค.ศ. ๑๙๓๖ พบว่า ถ้าแก้ไขข้อผิดพลาดเมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จแล้วแทนที่จะแก้ไขตั้งแต่ตอนที่หนดคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น๑๐๐ เท่า ตัวอย่างของปัญหานี้เห็นได้อย่างชัดเจนในการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ หรือที่เรียกว่า ปัญหาวายทูเค (Y2K) บริษัที่ออก-แบบซอฟต์แวร์ให้ใช้กับปีที่มีเลข ๔ หลักตั้งแต่ต้นแทบจะไม่เดือดร้อนในการแก้ไขเลย แต่ซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ต่างละเลยปัญหานี้ โดยยังคงใช้ปีเป็นเลข ๒ หลักอยู่ บางรายใช้อยู่เป็นสิบๆ ปี เมื่อถึงเวลาแก้ไขข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ ก็ปรากฏว่าต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากถึงหลายสิบล้านบาท ร้อยล้านบาท หรือมากกว่านั้น

การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมีขั้นตอน มีหลายแบบและยังมีวิวัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่องเพราะสาขาทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์นี้ เพิ่งเกิดขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๒๐ หากเทียบกับระยะเวลาที่มนุษยชาติศึกษากระบวนการสร้างที่อยู่อาศัยที่มีมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ก็นับได้ว่าสาขาวิชานี้ยังใหม่อยู่มาก ดังนั้น ในการเลือกกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องตั้งคำถามว่า กระบวนการใด "เหมาะ" ที่สุดสำหรับโจทย์ปัญหาและประเภทของซอฟต์แวร์ ไม่ใช่กระบวนการใด "ดี" ที่สุด

การพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ใช่กระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่แน่นอนเหมือนเช่นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากซอฟต์แวร์ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้โจทย์ปัญหาบางอย่างให้แก่มนุษย์ เมื่อสภาพของโจทย์ปัญหาหรือคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไป ซอฟต์แวร์ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม ซอฟต์แวร์ที่ขาดการทำนุบำรุงจึงเสื่อมคุณภาพ ทั้งที่ไม่ได้สึกหรอ ทั้งนี้เพราะไม่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป

ในสมัยแรกๆ การผลิตซอฟต์แวร์มักไม่มีขั้นตอน คือ เริ่มต้นด้วยการเขียนซอฟต์แวร์เลยเมื่อมีปัญหาก็แก้ไข เขียนแล้วแก้สลับกันไปจนกว่าจะได้คุณลักษณะที่ต้องการ ผลก็คือ จะได้ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนมาก หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในภายหลัง และผู้ที่แก้ไขไม่ใช่ผู้เขียนซอฟต์แวร์นั้นเอง ก็จะมีปัญหามาก มักทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงซอฟต์แวร์เกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้

ต่อมาได้มีการนำหลักวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์จึงแบ่งได้เป็น ๓ ระยะ คือ

๑. กำหนดคุณลักษณะซอฟต์แวร์ (Definition) เน้นว่าจะ "สร้างอะไร" โดยให้คำตอบว่า "โจทย์ปัญหาที่ต้องการแก้คืออะไร" และ "สิ่งที่จะใช้แก้ปัญหานี้คืออะไร"
๒. สร้างซอฟต์แวร์ (Development) เน้นว่าจะ "สร้างอย่างไร" โดยให้คำตอบเรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะสร้างสิ่งที่นำมาใช้แก้ปัญหาได้" และ "ทำอย่างไรจึงจะตรวจสอบหาข้อบกพร่องของสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ตลอดจนสิ่งที่นำมาใช้แก้ปัญหารวมทั้งซอฟต์แวร์และเอกสารอธิบายซอฟต์แวร์"
๓. วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Evolution)เน้นว่าจะ "เปลี่ยนแปลงอย่างไร" โดยให้คำตอบเรื่อง "เมื่อสภาพการณ์หรือปัญหาเปลี่ยนแปลงไปต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับปรุงสิ่งนั้นให้ยังคงใช้แก้ปัญหาได้"

แม่แบบของกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นขั้นตอนที่เก่าแก่ที่สุดนั้น เรียกกันว่า แม่แบบแบบขั้นน้ำตก (Waterfall Model) ซึ่งเมื่อลากเส้นเชื่อมต่อแต่ละขั้นตอนลงไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ก็จะมีลักษณะคล้ายน้ำตก

เพิ่มเติม http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C/

นางสาวอริญญา ปิ่นแก้วกาญจน์ ปอย

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การพูดที่ดีจะทำให้ผู้พูดขึ้นสู่ที่สูง แต่บุคลิกภาพจะทำให้ผู้พูดสามารถดำรงอยู่ได้นาน


  บุคลิกภาพมีความสำคัญมากต่อการพูด โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ผู้พูดหรือนักพูดจะต้องมีบุคลิกภาพที่ต้องตาผู้ฟัง บุคลิกภาพมีความสัมพันธ์กับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนจนการฝึกอบรมในปัจจุบันหลายๆ หลักสูตรมักจะมีเนื้อหาบุคลิกภาพกับการพูด เช่น หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดแบบผู้นำ ฯลฯ
                มีคำถามว่า  แล้วบุคลิกภาพที่ดีของนักพูดหรือผู้พูดในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีอะไรบ้าง  สำหรับบุคลิกภาพที่ดีของนักพูดหรือผู้พูดต่อหน้าที่ชุมชนมี 2 อย่างครับ คือ บุคลิกภาพภายนอกกับบุคลิกภาพภายใน สำหรับบทความฉบับนี้กระผมขอพูดถึงบุคลิกภาพภายในก่อนครับ บุคลิกภาพภายในของนักพูดที่ดีมีดังนี้ครับ
-                    มีความมั่นใจหรือเชื่อมั่นในตนเอง นักพูดหรือผู้พูดที่ขาดความมั่นใจหรือเชื่อมั่นใน
ตนเอง มักจะพูดด้วยความไม่หมั่นใจ พูดแบบไม่เต็มอารมณ์ เต็มอาการของตนเอง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เมื่อต้องการแสดงท่าทางประกอบการพูดมักจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร แต่ถ้าแสดงความมั่นใจหรือเชื่อมั่นจนเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้เหมือนกัน เนื่องจากผู้ฟังสามารถสัมผัสได้
-                    มีไหวพริบ เชาว์ปัญญา มีความรอบรู้ บุคคลที่ต้องการเป็นนักพูดหรือพูดเก่ง พูดเป็น
จำเป็นต้องเป็นคนที่มีความรอบรู้ มีเชาว์ปัญญา และมีไหวพริบ สามารถแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆได้ เนื่องจากเวลาพูดแต่ละสถานที่มักมีปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น เพศ วัย อายุ สถานที่ เครื่องเสียง ฯลฯ
-                    มีความหนักแน่น มีสติ ควบคุมตัวเองได้ เนื่องจากการพูดแต่ละครั้งผู้พูดต้องเผชิญกับ
เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจากตัวผู้พูดเองหรือตัวผู้ฟัง เช่น ผู้พูดอาจจะอารมณ์เสียเนื่องจากโกรธหรือโมโหใครมา แต่เวลาขึ้นพูดผู้พูดต้องควบคุมตัวเองได้ มีสติ ถ้าหากผู้พูดหลุดหรือพูดพลาด อาจจะมีผลร้ายแรง ทำให้ผู้ฟังขาดความนับถือ ศรัธทา และบางครั้งอาจร้ายแรงจนต้องติดคุกติดระรางไปเลยก็มีเนื่องจากไปพูดหมิ่นประมาทผู้อื่น
-                    มีความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา พวกเราคงเคยได้ฟังหรือเคยไปอบรมกับวิทยากรหรือ
อาจารย์หลายๆ ท่านมาแล้ว บางท่านเราฟังแล้วรู้สึกสนุกสนาน มีชีวิตชีวา แต่เมื่อเราฟังบางท่านพูดแล้ว เรากลับเบื่อหน่าย ง่วงไม่อยากฟัง อยากให้การพูดนั้นจบไวๆ ดังนั้น การที่จะให้ผู้ฟังเกิดความมีชีวิตชีวาหรือเกิดความกระฉับกระเฉงเวลาฟัง ตัวเราผู้พูดก็ต้องทำตัวให้มีความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวาไปด้วย เนื่องจากในทางจิตวิทยาการพูดมันสามารถสื่อสารถึงกันได้ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ หากเราต้องการให้ผู้ฟังมีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไร ตัวผู้พูดต้องแสดงอารมณ์และความรู้สึกอย่างนั้นก่อน
-                    มีความเข้าใจเห็นใจผู้ฟัง นักพูดที่สามารถพูดจูงใจคน จำเป็นจะต้องศึกษาจิตวิทยา
ฝูงชน นักพูดที่พูดแล้วคนถูกใจ พอใจ นักพูดผู้นั้นมักเป็นคนที่มีความสามารถเข้าถึงหัวใจของผู้ฟังได้ นักพูดที่ให้เกียรติผู้ฟัง ผู้ฟังก็มักจะให้เกียรติผู้พูด ดังนั้นอย่าได้ดูถูกดูหมิ่นหรือแสดงอาการยโสโอหัง แก่ผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องไม่แสดงโทสะหรืออารมณ์โกรธจนลืมตัวเพราะเราแสดงอารมณ์โทสะเวลาพูด มันก็จะสื่อให้แก่ผู้ฟังเข้าใจอารมณ์โทสะของผู้พูดได้เช่นกัน
-                    มีความจริงใจ ไม่พูดโกหกผู้ฟัง อดีตประธานาธิบดีลินคอนล์ เคยกล่าวไว้ว่า “ เราสามารถโกหกคน
บางคนได้ตลอดเวลา เราสามารถโกหกคนทุกคนได้บางเวลา แต่เราไม่สามารถโกหกคนทุกคนและทุกเวลาได้”
ถ้าต้องการเป็นนักพูดที่ดี อย่าได้โกหกคนเลยครับ ควรพูดแต่ความจริง
                                ดังนั้นเราจะเห็นว่าบุคลิกภาพภายในของนักพูดมีความสำคัญมากในการพูด สำหรับบุคลิกภาพภายนอก เช่น การแต่งตัว การเดิน การยืน การนั่ง การแสดงท่าทาง ฯลฯ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจึงมีหน้าที่ที่ต้องฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ


ที่มา : http://www.gotoknow.org/blog/markandtony/411378
นายนฤพนธ์ วุฒิภาพภิญโญ (nix)

การอธิบายการประมวลผล (Process Description)

จุดมุ่งหมายในการใช้การอธิบายการประมวลผลนั้นสรุปไก้ 3 ข้อ คือ
1. เพื่อให้การประมวลผลนั้นชัดเจน
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องในการอธิบายในรูปแบบเฉพาะของการประมวลผลนั้นระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์
3. เพื่อตรวจสอบการออกแบบระบบ

วิธีการที่ใช้อธิบายการประมวลนั้นมี 2 วิธ๊
1.ประโยคโครงสร้าง
2.การตัดสินใจแบบตาราง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้มเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ปี 2554

แนวโน้มเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ปี 2554

  • 1) Cloud Computing
  • 2) Mobile Applications and Media Tablets
  • 3) Open Source Software
  • 4) Web 2.0
  • 5) Broadband Technology
    1. Cloud Computing การนำคอมพิวเตอร์มาให้บริการผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากรอย่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นของตัวเอง โ ซึ่งเป็นบริการในรูปแบบ Software as a Service หรือเรียกสั้นๆ ว่า SaaS บริการรูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ใช้บริการมองเห็นประโยชน์ในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ที่ลดลง ไม่ต้องเสียกำลังคนในการดูแลรักษาระบบ ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องการอัพเดทระบบรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้ทุกอย่างถูกรวมอยู่ในค่าบริการรายเดือนแล้วนั่นเอง
    2. Mobile Applications and Media Tablets เนื่องจากการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้บรรดาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ทำงานบนอุปกรณ์เหล่านั้นเพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้พัฒนาต่างรีบส่งแอพพลิเคชั่นของตนเองออกสู่ตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้นผ่านบริการรูปแบบ Application Store บวกกับระบบการสื่อสารความเร็วสูงอย่าง 3G ทำให้การทำงานทุกอย่างบนอุปกรณ์พกพากลายเป็นความจริงขึ้นมา
    3. Open Source Software เทคโนโลยีที่พลิกโฉมหน้าการพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่งผลให้เกิดระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านซอฟต์แวร์ในเครื่องระดับเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ทอปแล้ว ยังสร้างปรากฎการณ์ใหม่บนแพลตฟอร์มของอุปกรณ์พกพาที่ถนนทุกสายพากันวิ่งเข้าสู่ Android
    4. Web 2.0 เทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้งาน Social Network ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านบริการในรูปแบบของ Podcast, Videocast, Blog, Wiki และ Social Bookmark มากขึ้น คาดการณ์ว่าจะมีการนำเอาเทคโนโลยี Web 2.0 มาใช้ในทางธุรกิจมากขึ้น และจะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ออกมาสนับสนุนการใช้งานรูปแบบนี้
    5. Broadband Technology เทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยให้มีการขยายความกว้างของการส่งสัญญาณในเครือข่าย เรียกง่ายๆ ว่ามีการเพิ่ม Bandwidth นั่นเอง ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะส่งผลให้มีความพร้อมในการใช้งานรูปแบบของ Location Based มากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Location Based เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย


น.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ)


Spiral Model

Spiral Model คือ Software Development Process ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเอาจุดแข็งของ Development Model อื่นที่ดีอยู่แล้วมาประยุกต์ (waterfall model) และเพิ่มเติมส่วนของการวิเคราะห์ และตีค่าความเสี่ยงที่เกิดเพื่อจะได้ทราบว่าจุดใดมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน จะได้หาวิธีลดความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้การพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ การวิเคราะห์หรือต้นเหตุของความเสี่ยง ก็เพื่อที่จะหาวิธีการที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด รวมถึงวิธีการแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ถ้าความเสี่ยงน้อยลง ก็ทำให้ Cost หรือ ต้นทุนที่ใช้ก็จะลดลงตามไปด้วย

Development Process ของ Spiral Model

ถูกพัฒนามากจากโครงสร้างพื้นฐานของ Waterfall Model ที่มีการแบ่งแยกขั้นตอน เช่น Concept Of Operation phase, Software Requirements phase, Design phase, Coding phase, Integration phase, Implement phase เป็นต้น เนื่องจากใน Waterfall model สามารถ ส่งผลลัพธ์ที่ได้ป้อมกลับไปยังขั้นตอนก่อนหน้านั้นโดยที่ไม่ต้องมีการแก้ไขทุกขั้นตอนใหม่หมด แต่ Waterfall Model ยังไม่มีส่วนไปจะมีความสำเร็จที่เป็นไปได้มาน้อยขนาดไหน ฉะนั้น การใช้ Waterfall Model ในแต่ละขั้นตอนจะเกิดการ Feedback บ่อยครั้ง Spiral Model จึงถูกพันกับความเสี่ยงและความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้น ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดข้อผิดพลาด

ข้อดี เปรียบเทียบกับ Software Development Process Model อื่น ๆ

ถ้าใน Project มีความเสี่ยงต่ำในด้านของ User Interface หรือ performance และมีความเสี่ยงสูงในแง่ของ Budget และ ระยะเวลามันจะเหมือนกับเป็น Waterfall Model ถ้าความต้องการ Software มีค่าค่อนข้างคงที่ คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย จะเหมือนกับเป็น Two – leg Model ถ้าใน Project มีความเสี่ยงต่ำในแง่ของ Budget แต่มีความเสี่ยงสูงในแง่ของ User Interface ว่าจะไม่ตรงกับความต้องการจะเหมือนกับเป็น Evaluation Model ถ้าสามารถเปลี่ยนจาก Application ไปเป็น Software หรือ Code ได้ จะเหมือนกับเป็น Transform Model ถ้ามีความเสี่ยงในหลายปัจจัยข้างต้น Spiral Model จะช่วยให้เสี่ยงน้อย คือมีความเหมาะสมที่สุดในแต่ละปัจจัย

สรุปข้อดีของ Spiral Model ได้ดังนี้

1. สนับสนุน กานนำ Software กลับมาใช้อย่างเต็มตัว
2. ในแต่ละ Cycle มีขั้นตอนประมวลผลที่สิ้นสุดภายใน Cycle เดียว
3. การวางแผนเพื่อกำหนดทางเดินของ Software Process ในรอบต่อไป
4. เนื่องจากการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทำให้ ผลลัพธ์ของ Software Product ตรงกับความต้องการ
5. แก้ไขข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่น ๆ
6. มีความเป็นอิสระต่อกันทางด้านการพัฒนาและการแก้ไข

ข้อเสีย เนื่องจาก Spiral Model ทุก Cycle ของการพัฒนามีการวิเคราะห์และตีค่า ถ้าการวิเคราะห์เกิดผิดพลาด จะทำให้ Software Produce ที่ออกมาผิดพลาดทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ปฐมพงษ์ ตระกูลมณีเนตร (เต้) 51040854

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของระบบสารสนเทศ

การจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะดังต่อไปนี้ได้อีกด้วย คือ

ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ

สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคล หรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากร จะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems)

ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ

ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน (Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ

การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification by Functional Area)
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น

  • ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management information system)

    ที่มา http://www.bcoms.net/temp/lesson8.asp

    นางสาวกนกวรรณ ดาษเสถียร (แนน)