ผมไปอ่านเจอบทความดีๆ มีคนเขียนไว้ เลยเอามาให้เพื่อนๆอ่านกันครับ
ขั้นตอนการเริ่้มต้นการทำโปรเจ็คจบ (Senior Project)
1. หาอาจารย์ที่ปรึกษา
เนื่องด้วยยังรู้สึกว่าตัวเองยังอ่อนด้อยใน เชิงประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ในโลกกว้างนี้อยู่มากมาย แบบว่าเรียนมาตั้ง 3 ปีเต็ม ถ้าถามว่าที่เรียนมาชอบวิชาอะไรมากสุด ก็คงจะตอบไม่ได้ เพราะกราฟชีวิตการเรียนของออฟมันเป็นรูปตัวยู แบบว่าขึ้นและดิ่งตกลงมา ก่อนที่จะมีการตะกายขึ้นไปใหม่
ในช่วงปีหนึ่งนั้นที่เรียนวิชาพื้นฐานพวก ฟิสิกส์ I,II และ Math I,II ,III ก็ผ่านมาได้อย่างดี (อย่างน้อยก็เกรดเฉลี่ย สามกว่าๆ) ถึงแม้ว่าตอนที่แอดมิชชั่นเข้ามาจะเข้ามาด้วยคะแนนของไทยและสังคมที่นำลิ่ว ไปเลยก็ตาม ส่วนคะแนนเลขและฟิสิกส์ก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แบบว่าบางคนที่เค้าเข้าไปมั่วก็อาจจะได้เยอะกว่าด้วยซ้ำ แต่ต้องบอกว่าเรามองเกมส์ขาด เพราะว่าตอนนั้นคะแนนแบ่งเป็นส่วนของ O-net และ A-net ซึ่งออฟตั้งใจทำส่วนของ O-net เลยได้คะแนนดีพอสมควร ที่ต้องตั้งใจเพราะว่ามันสอบได้ครั้งเดียว กลัวว่าตัวเองจะเรียนแล้วไม่รอด เผื่อต้องมาเอนท์ใหม่กับน้องจะได้มีคะแนนดีๆไว้เป็นทุน (ดีที่ไม่ต้องใช้อะ)
พอเข้าปีสองก็เจอวิชาภาคอย่าง Theory of Computation, Algorithm Design & Analysis แถมต่อด้วย System Software ที่ต้องบอกว่าเรียนให้รอดจากการถูกปลากัดอย่างเดียว แต่ก็ยังรอดมาได้อย่างหวุดหวิดเป็นน้องหมา น้องแมว อิอิ ช่วงนั้นเครียดมากๆเลย เรียนอะไรไปก็ไม่เข้าใจ ด้วยยังไม่ค่อยเข้าใจว่าไอ้ที่เรียนนี่มันจะได้เอาไปใช้ยังไง แบบว่ายังเข้าไม่ถึงกึ่นของมันนั่นแหละ ก็เลยเน่าๆมา
พอเข้าปีสามนี่ต้องบอกว่าหลายวิชานี่รู้สึก เหมือนจะได้เอาไปใช้ในชีวิตจริงมากขึ้น ไม่เหมือนกับทฤษฏีที่เรียนผ่านมาแล้วก็ผ่านเลยไปแบบก่อนๆ วิชาอย่าง Database Systems, Design & Constr. of Large Software Systems, Computer Networks และ Web Service คือว่าพอมองเห็นว่าเรียนแล้วเอาไปทำอะไรได้บ้าง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กระจ่าง โปรอะไรกับเค้านัก แต่ก็ทำให้เกรดเฉลี่ยกลับมาเกือบๆสามอีกครั้ง หลังจากดำดิ่งลงไปตอนช่วงปีสอง
พร้ำเพ้อไปกับชีวิตที่ผ่านมาทำให้รู้สึกว่า เวลาผ่านไปเร็วจังนี่ฉันปีสี่แล้วหรอ (เมื่อไหร่เธอจะกลับไปเรื่องอาจา่รย์ที่ปรึกษาหล่ะ = =) ก็ต้องบอกว่าเรียนผ่านมาก็ยังไม่ค้นพบอะไรในชีวิตที่ัตัวเองสนใจและทำได้ นานๆ สิ่งที่ตอนนี้สนใจและทำได้นานๆ อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาปีกว่าก็ต้องเป็นเรื่อง “การอัพบล็อค” นี่แหละ แต่จะเอาอะไรไปทำโปรเจ็คกับเค้าต้องบอกได้อีกว่า “ยังไม่มี” ที่ปรึกษาเลยเป็นสิ่งที่มีส่วนสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้รอดจนจบและ การทำโปรเจ็คของออฟ
การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา (จริงๆ แล้วอาจารย์ก็เลือกเราด้วยนั่นแหละ) นั้นก็มีหลายรูปแบบเหมือนกัน เนื่องด้วยปีนี่ทางภาคกำหนดให้อาจารย์แต่ละท่านมีนิสิตที่ปรึกษาได้ 2-5 คนซึ่งการรับสมัครของอาจารย์แต่ละคนก็แตกต่างกัน ซึ่งก็มีหลายแลบที่เปิดรับสมัครและมีการสอบสัมภาษณ์
อันดับแรก ในการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาคือ “ถามตัวเองก่อนว่าชอบด้านไหน” ถ้าตอบได้ว่าชอบ Network, Data Mining, Theory หรืออะไรก็ตามก็ไปหาอาจารย์ที่ท่านถนัดเรื่องนั้น หรือแลบที่เค้าทำเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ส่วนตัวออฟเองได้คำตอบว่า “ไม่รู้ ไม่ได้ชอบอะไรเป็นพิเศษ” ก็เลยไม่รู้จะไปสมัครเข้าแลบกันที่เพื่อนๆเข้าทำไม
อันดับสอง หลังจากที่หลุดจากการเข้าแลบ หรือการเลือกอาจารย์ที่ปรึษาตามด้านที่ชอบแล้ว ถ้าได้คำตอบจากการถามข้อแรกว่า “ไม่รู้ ไม่ได้ชอบอะไรเป็นพิเศษ” เหมือนออฟ ก็อยากให้ลองถามตัวเองดูต่อว่า “สนิทกับอาจารย์ท่านไหนเป็นพิเศษรึเปล่า” สนิทในที่นี้หมายถึงว่าอาจจะเคยทำงานร่วมกัน หรือว่าเคยไปปรึกษาหารือในเรื่องต่างๆ กับอาจารย์เค้า ซึ่งพอมาถึงคำถามนี้ออฟก็ได้ชื่ออาจารย์ พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า มาอยู่ในใจแล้วอ่ะ แบบว่าคุยกับแกบ่อย เรื่องปัญหาชีวิตโลกแตก และเรื่องทั่วไป ก็ถือว่าแอบสนิทกันเหมือนกันนั่นแหละ
อันดับสาม ถ้าไม่มีใครอยู่ในใจเลย ออฟคิดว่าน่าจะเลือกอาจาย์ที่ปรึกษาที่ติดต่อง่าย แบบว่าไม่ใช่ว่าเดือนนึงเจอกันซักครั้งแบบว่าหาตัวยากสุดๆ พอมีเรื่องหรือมีปัญหาก็ต้องไปคุยกับคนอื่นก่อนอะไรอย่างนั้น
อย่าเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาเพราะ
- มีคนบอกว่าอาจารย์เค้าใ้ห้เกรดง่าย : ที่เค้ารู้สึกว่าได้มาง่ายอาจจะเป็นเพราะว่าเค้าทุ่มเทก็ได้นะ
- อาจารย์หาตัวยากจะได้ไม่มีคนคอยตามงานเรา : ถ้าไม่ไปปรึกษาและตามงานจะมีไว้ทำไมหล่ะ
2. การเข้าไปคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา
หลังจากที่ติดต่อขอเข้าเป็นนิสิตในที่ ปรึกษาของอาจารย์เสร็จแล้ว ถ้ามีโปรเจ็คที่สนใจอยู่แล้วก็ให้เตรียมข้อมูลและร่างโครงร่างหรือเนื้อ เรื่องคร่าวของโปรเจ็คไปคุยกับอาจารย์เลย อันนี้อาจจะเริ่มไปคุยตอนช่วงแรกๆ ของการเปิดเทอมหนึ่งก็ได้ ยังทันอยู่
แ่ต่สำหรับออฟ ไปหาอาจารย์ตั้งแต่ยังไม่ปิดปีสามด้วยซ้ำ แบบว่าบอกแกไปตรงๆ เลยว่า “ยังไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษ แต่อยากทำเกี่ยวกับเวบ” แล้วไอ้เกี่ยวกับเวบนี่มันก็ร้อยแปดพันเก้าอย่างได้เลยทีเดียว หลังจากที่คุยเลยได้การบ้านอันยิ่งใหญ่ให้ไปลองคิดโปรเจ็คมา 30 โปรเจ็ค ได้มาซัก 10 อันแล้วมาคุยกัน จริงๆ แล้วโปรเจ็คของอาจารย์ก็มีอยู่หลายอย่างที่น่าทำ แต่ว่าอาจารย์บอกให้ลองคิดเองก่อน เพราะว่าการที่ทำงานที่เราอยากทำด้วยตัวเราเองเราจะให้ความทุ่มเทมากกว่างาน ที่ได้รับมาจากคนอื่น
3. การเริ่มคิดโปรเจ็ค
มีหลายคนที่คิดจะทำโปรเจ็คโดยเริ่มจากว่า อยากใช้ Tool อะไร อย่างนู้นอย่างนี้ แต่ถ้ามาลองคิดดู เทคโนโลยีมันเปลี่ยนทุกวัน เราวิ่งตามมันไหวหรือ ก็เปล่า ตอนนี้เรายังวิ่งไล่ไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ พอเราทำออกมาบางทีเค้าอาจจะเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่นกันแล้วก็ได้ อาจารย์เลยใ้ห้ออฟลองคิดโปรเจคจากปัญหาที่มีอยู่รอบตัว แล้วเริ่มจากปัญหานั้นค่อยคิดเป็นโปรเจ็คเพื่อไปแก้ปัญหา
อีกมุมมองนึงที่ต้องเริ่มคิดพร้อมกับการ เริ่มคิดโปรเจ็คนั่นก็คือ กลุ่มของผู้ใช้ โปรเจ็คของเราจะมีเป้าหมายไปที่กลุ่มใด เค้ามีปัญหาอะไร ถ้าเราทำขึ้นมาแสดงว่าเราต้องทำให้ชีวิตของเค้าง่ายขึ้น ถ้าเค้าลำบากขึ้นเค้าก็คงไม่มาใช้ของเราหรอก เช่น จะให้คนกรอกข้อมูลอะไรซักอย่าง คนที่มากรอกเค้าจะได้อะไร ถ้าเค้าไม่ได้อะไรเค้าจะมากรอกให้เราไหม บางทีแค่จุดเล็กๆตรงนี้ก็ต้องมองให้เห็นด้วย
4. คิดโปรเจ็คได้แล้ว แต่พอไปหาข้อมูลเค้าก็ทำกันแล้ว
หลายๆคนก็คงเคยคิดโปรเจ็ค, โปรแกรม หรือตัวช่วยอะไรบางอย่างที่เราคิดว่าถ้าทำมันน่าจะแก้ปัญหานี้ได้ แต่พอลองหาข้อมูลดู เ้ค้าก็มีการทำเอาไว้อยู่แล้วตั้งเยอะ ทำเอาต้องไปคิดใหม่อีกรอบ โดยต้องล้างของเดิมออกไปให้หมด เวลาที่เสียไปก็หายไปกับสายลม หลังจากตอนช่วงแรกๆ ที่ออฟคิดก็มีปัญหานี้เหมือนกัน ก็เลยถามพี่ที่ฝึกงาน เลยได้ไอเดียว่า “เราต้องการกระบวณการ หรือผลลัพธ์” เช่น การแก้สมการคณิตศาสตร์ เราต้องการผลจากสมการนั้น หรือว่าต้องการวิธีในการแก้สมการนั้น
ก็เหมือนกับว่าเวลาที่เราโปรเจค บางครั้งสิ่งที่เราอยากได้อาจจะมีคนทำไว้แล้ว แต่ก็อยากให้ลองคิดว่ากระบวณการในการทำนั้นเป็นสิ่งที่เราสนใจด้วยรึเปล่า ถ้าเรายังสนใจก็ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของข้อบกพร่อง และจุดเสียของสิ่งที่มีอยู่แล้ว เพราะอย่างว่า ถ้าเรามองไม่เห็นจุดเสียหรือข้อบกพร่องก็ไม่มีการพัฒนา ไม่งั้นตอนนี้พวกเราก็คงเล่น ICQ กันอยู่ไม่เปลี่ยนมาเล่น MSN หรือ Gtalk กันหรอก เพราะจริงๆ มันก็ Instant Messaging เหมือนกันนั่นแหละ แต่ทำไมตอนนี้ไม่มีคนเล่น ICQ กันแล้วหล่ะ??
5. อย่าจมดิ่งไปกับความคิดเดียว
อย่าคิดว่าความคิดแรกจะดีที่สุด หรืออย่าจมอยู่กับเรื่องๆ เดียว บางคนพอคิดอะไรได้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็จะมุ่งมั่นคิดต่อยอดไปเรื่อยๆ แต่ออฟคิดว่าในช่วงของการเริ่มต้นนั้น ให้คิดแค่โครงร่างและเนื้อเรื่องคร่าวของโปรเจ็คไว้ก็พอ ว่าทำเพื่ออะไร ใช้กับใคร มันดียังไง เช่น อยากทำเวบที่ช่วยในการเปลี่ยนทรงผม ใช้กับหนุ่มๆ สาวที่อยากเปลี่ยนทรงผมแต่ยังไม่กล้าทำจริง ดีตรงที่ว่าคนใช้ไม่ต้องตัดจริง เพียงคลิกไม่กี่คลิกก็ได้แบบและทรงผมที่ต้องการ พอคิดได้ซักอันแล้วก็ให้คิดไปอีก คิดไปเรื่อยๆ พอความคิดเป็นรูปเป็นร่างดีแล้ว ก็ให้ทุบมันออกมาให้กระจายกันใหม่อีกครั้ง แล้วเริ่มคิดอีกครั้ง อ้อ แล้วที่สำคัญอย่าลืมไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยหล่ะ เผื่อได้ไอเดียดีๆ แล้วจะได้เริ่มลงมือได้เลย
ที่มา : http://don-jai.com/lets-begin-to-do-senior-project/
พิเชฐ โพธิ์สุวรรณ (บิ๊กเอ็ม)
การทำ project นั้นจะทำให้ผู้ศึกษานั้นมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถต่อยอดงานระบบงานให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น
ตอบลบนายต้น เหรียญรุ่งเรือง ( ต้น )
ตอนนี้ผมยังไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาเลยครับ พอเห็นบทความนี้ก็ทำให้ผมมีแนวทางในการหาอาจารย์ที่ปรึกษาและจะนำหลักการทั้งห้าข้อมาปรับใช้ในการทำโปรเจคของผมให้ดีขึ้นครับ
ตอบลบนฤพนธ์ (nix)
เป็ประโยชน์กับสถานะการณ์ตอนนี้พอดีเลยค่ะ
ตอบลบชุติมน ศิริศรชัย (ก้อย)