วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้งระบบ

การติดตั้งระบบ
ในขั้นตอนของการติดตั้งระบบนี้ประกอบด้วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องทำอย่างเป็นลำดับคือ

1. การเขียนโปรแกรมของระบบใหม่
2. ทดสอบโปรแกรม
3. การติดตั้งระบบใหม่

สำหรับกระบวนการติดตั้งระบบนี้ จะเริ่มลงมือหลังจากผู้บริหารได้ตกลงยอมรับระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้ประกอบด้วย การติดตั้งระบบใหม่และยกเลิกการทำงานของระบบเก่าในระยะการติดตั้งระบบนี้จะ เป็นส่วนที่ยากที่สุดในทุก ๆ งาน ดังนั้นจึงควรเผื่อเวลาสำหรับทำงานในกรณีที่ล่าช้ากว่ากำหนดเอาไว้บ้าง
ในระหว่างการติดตั้งระบบ ปัญหาที่ไม่คาดคิดจากช่วงของการออกแบบระบบมักจะเกิดขึ้นการแก้ไขปัญหาเหล่า นี้จึงมีผลทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้ออกแบบไว้ ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรยอมรับการแก้ไขเหล่านั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมไม่ปรับเปลี่ยนเกินความจำเป็น
การติดตั้งระบบประกอบด้วย 3 อย่างด้วยกัน เริ่มจาการเขียนโปรแกรมในขั้นตอนสามารถร่นระยะเวลาให้สั้นลงได้ ถ้าสามารถซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้แทนการการเขียนเองทั้งหมด ขั้นต่อไปคือ การทดสอบโปรแกรมซึ่งประกอบด้วย การทดสอบการทำงานแต่ละโปรแกรม การทดสอบระบบรวมและการทำเอกสารประกอบ ขั้นตอนสุดท้ายคือ การติดตั้งระบบ

การเขียนโปรแกรมระบบใหม่
ก่อนที่จะเริ่มการเขียนโปรแกรม ควรได้รับการเห็นชอบหรือตกลงกันในระบบที่ได้ออกแบบไว้เสียก่อน รวมทั้งจะพิจารณาซื้อโปรแกรมมาใช้ทำงานในบางขั้นตอนของระบบแทนการเขียนทั้ง หมด ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมโดยคร่าว ๆ มีดังนี้
1. การทำเอกสารต่าง ๆ ก่อนลงมือเขียนโปรแกรม ได้แก่ Data Flow Diagram Minispecification เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบรวมทั้งพิจารณาความถี่ในการทำงานแต่ละขั้นตอนและภาษาที่เหมาะสม
2. สรุปรูปแบบของข้อมูล (Output) และข้อมูลเข้า (Input) ข้อมูลอกได้แก่ รายงานรูปแบบต่าง ที่ผู้ใช้หรือผู้บริหารต้องการ ส่วนข้อมูลเข้า ได้แก่ หน้าจอ (Screen) สำหรับใส่ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบรายงานต่าง ๆ เหล่านั้น รวมแหล่งที่มาของข้อมูลและการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้
3. เขียนโปรแกรม Flow Chart เพื่อแสดงการทำงานทุกขั้นตอนของโปรแกรม
4. ออกแบบแฟ้มข้อมูล (File Layout) ตามความเหมาะสมในการใช้งาน ลักษณะแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้แก่ แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential) ซึ่งเหมาะสมในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ และไม่ต้องการดึงข้อมูลมาใช้เฉพาะบางระเบียน (Record) อย่างรวดเร็ว ต่อไปคือ แฟ้มข้อมูลดัชนี (index Sequential file) มีลักษณะเหมือนแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับแต่จะมีดัชนี (Index) เพื่อใช้ในกรณีต้องการดึงข้อมูลขึ้นมาใช้เฉพาะบางระเบียนได้ และแฟ้มข้อมูลเข้าถึงโดยตรง (Random – Access File) เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องการดึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว
5. เขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้
6. ทำการ Compile และตรวจสอบความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม โดยอาจจะสมมติข้อมูลง่าย ๆ ไว้ใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบ
7. ทดสอบการทำงานรวมของระบบ โดยใช้ข้อมูลครอบคลุมทุก ๆ เงื่อนไข เริ่มจากโปรแกรมแรกจนถึงโปรแกรมสุดท้าย การทดสอบรวมทุกเงื่อนไขนี้เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละโปรแกรมทำงานต่อเนื่องกัน ได้อย่างถูกต้อง
8. ทำเอกสารประกอบทุกโปรแกรม ได้แก่ เอกสารที่ใช้ประกอบในการเขียนโปรแกรมและเอกสารวิธีใช้โปรแกรม

การทดสอบโปรแกรม
เป็นการทดสอบโปรแกรมว่ามาสารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องรู้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด โดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนั้น ๆขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการทดสอบโปรแกรมคือ
1. ทดสอบการทำงานของแต่ละโปรแกรม ในขั้นตอนนี้มักจะต้องเสร็จสิ้นในขั้นการเขียนโปรแกรม
2. สร้างข้อมูลสำหรับทดสอบโปแกรม ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นจะต้องควบคุมทุก ๆ กรณีที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานจริง โดยการสร้างชุดข้อมูลนี้โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ใช้และผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นจำเป็นจะต้องร่วมกันคิดชุดข้อมูลขึ้นเพื่อ ทดสอบการทำงานที่ถูกต้องตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม ทดสอบรูปแบบต่าง ๆ ในการใส่ข้อมูล ทดสอบค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดที่ป้อนเข้าไป
3. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทำงานหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมต่อกันของแต่ละโปแกรมนั้น สามารถทำได้อย่างถูกต้อง
4. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทดสอบท่านหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมกันได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นก็เพื่อทดสอบเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ใช้ระบบว่ามีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและป้อนข้อมูล สุดท้ายก็เพื่อทดสอบว่าแต่ละโปรแกรมที่ทำงานเชื่อมต่อกันนั้นมีความถูกต้อง ตามคุณสมบัติที่นักวิเคราะห์ระบบเขียนเอาไว้หรือไม่
5. ทดสอบการสำรองแฟ้มข้อมูลและการเริ่มทำงานของระบบใหม่ การทดสอบเหล่านี้มีความจำเป็นในกรณีที่ระบบที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอย่าง กะทันหัน ซึ่งการสำรองแฟ้มข้อมูลตามระยะเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้การนำข้อมูลที่เสีย ไปนั้นกลับขึ้นมาอย่างง่ายดาย รวมทั้งการเริ่มทำงานใหม่ก็ต้องถูกต้องด้วย
6. เขียนเอกสารประกอบโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย
6.1 หมายเหตุที่เขียนขึ้นภายในโปรแกรม เพื่อบอกหน้าที่ของแต่ละชุดคำสั่งแฟ้มข้อมูลที่ใช
้6.2 Flowchart แบบต่าง ๆ หรือ Data Flow Diagram เพื่ออธิบายขั้นตอนของแต่ละโปรแกรม
6.3 ในกรณีที่มีหลาย ๆโปรแกรมประกอบกัน ควรจะมี Flowchart แสดงการทำงานรวมด้วย
6.4 ในโปรแกรมใดที่มีขั้นตอนการทำงานซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการคำนวณ ขั้นตอนการปรับปรุงแฟ้มข้อมูล หรืออื่น ๆ ควรจะใช้ Minispecification เพื่ออธิบายรายละเอียดให้ชัดเจน
6.5 ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก

การติดตั้งระบบใหม่
เป็นขั้นการเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมมาเป็นการทำงานในระบบใหม่ งานขั้นนี้ไม่ค่อยซับซ้อนแต่จะใช้เวลานาน โดนทำงานดังต่อไปนี้

1. เขียนคู่มืออธิบายการใช้ระบบงาน
2. จัดทำแบบฟอร์มต่าง ๆ สำหรับใช้กับระบบงานใหม่
3. จัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน และผู้ใช้จนมีความเข้าใจ
4. เปลี่ยนข้อมูลที่เดิมมีอยู่แล้วให้เป็นข้อมูลระบบใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น