วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

GUI (Graphical user Interface)

GUI (Graphical user Interface)

ใช้ตัวย่อว่า GUI (อ่านว่ากุย) เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์
ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพ เช่น ใช้เมาส์กดเลือกสัญรูป(icon)
แทนการพิมพ์คำสั่งดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกที่เรียกว่าระบบเมนู

GUI เป็นอินเตอร์เฟซด้วยกราฟฟิคของผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บบราวเซอร์
เนื่องจากการอินเตอร์เฟซกับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรกไม่ได้ใช้กราฟฟิคแต่เป็นการใช้ตัวอักษรและแป้นพิมพ์
ปกติจะเป็นคำสั่งที่จาได้ เช่น ระบบปฏิบัติการDOS ในขั้นกลางการอินเตอร์เฟซของผู้ใช้
เป็นการอ่านอินเตอร์เฟซแบบเมนู (Menu-based Interface) ซึ่งยอมให้ใช้เมาส์คลิกคาสั่งได้
นอกจากการพิมพ์แป้นพิมพ์เมื่อมีการสร้างโปรแกรมประยุกต์ เครื่องมือแบบ object-oriented
จะเขียนการอินเตอร์เฟซด้วยกราฟฟิค ในแต่ละสมาชิกของ GUI จะเรียกว่า class form
เมื่อสร้างอ็อบเจคขึ้นมาแล้ว ซึ่งสามารถเขียนคาสั่งหรือปรับปรุงด้วยเมธอด (method)
เพื่อทาให้อ็อบเจคเหล่านั้นตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้ทั่วไป

สาเหตุที่นิยมใช้ GUI ในการเขียนโปรแกรม

GUI (Graphical User Interface อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้)
เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัวอักษร
กุยมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์
หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน จียูไอพัฒนาพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดนาโดย ดัก เอนเกลบาร์ต
(Doug Engelbart) โดยการใช้งานร่วมกับไฮเปอร์ลิงก์และเมาส์
ซึ่งภายหลังได้นามาวิจัยต่อที่ศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค (Xerox PARC)
โดยใช้งานระบบกราฟิกแทนที่ระบบตัวอักษร โดยบางคนจะเรียกระบบนี้ว่า PARC
User Interface หรือ PUI ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970
แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นามาใช้ครั้งกับเครื่องแมคอินทอช
ซึ่งภายหลังทางไมโครซอฟท์ได้เลียนแบบความคิดมาใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์

ในปัจจุบันจียูไอเป็นที่นิยมโดยสามารถเห็นได้จากระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และ วินโดวส์
และล่าสุดในลินุกซ์ GUI ย่อมาจาก Graphical User Interface
(ซึ่งในรายงานฉบับนี้ขอแปลว่าโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้แบบกราฟ)
คือโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้ซึ่งถูกสร้างจากวัตถุแบบกราฟ (องค์ประกอบต่างๆ
ของโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้แบบกราฟ) ได้แก่ ปุ่มกด (push buttons) ตัวเลือกแบบเมนู
(pop-up menu) กราฟ (axes) ฯ หากโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้ได้รับการออกแบบที่ดี
จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการทำงานหรือใช้งานได้อย่างไม่ต้องทราบขั้นตอนการทำงานมาก่อนเลย

ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนของ GUI
คือการที่ผู้ใช้สามารถทางานกับโปรแกรมได้โดยไม่ต้องผ่านทางการเขียนคำสั่งทีละบรรทัด
ดังเช่นการเขียนโปรแกรมตามปกติ กล่าวคือผู้ใช้เพียงแต่ปฏิบัติตามคำสั่งสาเร็จรูปที่ทางผู้ออกแบบได้จัดหามาให้
และทำการใช้งานได้ทันที ดังนั้นจึงเป็นการง่ายกว่าสาหรับผู้ใช้ทั้งในด้านการเรียนรู้ละการใช้งานโปรแกรม
หัวข้อถัดไปจะเป็นการบรรยายแบบพอสังเขปเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้แบบกราฟผ่านทาง GUIDE
ซึ่งรวมถึงการ วางแบบ (laying out) องค์ประกอบ(components)
และโปรแกรมองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อให้ทางานตอบสนองต่อผู้ใช้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ

นางสาวน้ำผึ้ง รักแดง (ลูกน้ำ)

7 ความคิดเห็น:

  1. GUI เป็นการใช้การติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาพทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น การใช้ภาพเป็นสัญลักษณ์ทำให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย

    นางสาวอริญญา ปิ่นแก้วกาญจน์ (ปอย)

    ตอบลบ
  2. ผมคิดว่าประโยชน์ในการใช้งานของ GUI ที่สามารถช่วยให้การใช้งานด้วยคำสั่งต่างๆง่ายขึ้น ทำให้มันเป็นที่นิยมในระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และ วินโดวส์มาจนถึงทุกวันนี้

    นฤพนธ์ (nix)

    ตอบลบ
  3. GUI มันทำให้ผู้ใช้งาน ใช้งานได้ง่ายขึ้นมากๆ เลยนะ เพราะการที่ผู้ใช้ระดับ end-user ต้องมานั่งเขียนคำสั่งทีละบรรทัดแบบสมัยเรียน DOS ตอนเด็ก ก็คอยข้างจะยุ่งยาก แถมสมัยนี้พวก GUI ทำออกมาเป็นกราฟฟิกสวยๆ มันก็ยิ่งง่ายตอการเรียนรู้และจดจำ

    แต่เพิ่งรู้นะว่า GUI อ่านว่ากุยหรือกูอี้ 555 เราอ่านว่า จียูไอมาตลอด

    นัทธมน847 (โดนัท)

    ตอบลบ
  4. ดังที่กล่าวว่า ในปัจจุบันจียูไอเป็นที่นิยมโดยสามารถเห็นได้จากระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และ วินโดวส์ และล่าสุดในลินุกซ์ ..

    เราเชื่อว่า GUI ในอนาคตจะสามารถพัฒนาความสามารถของมันไปได้อีกเรื่อยๆตามการเปลี่ยนของ New Features ใหม่ๆที่คอยพัฒนาอยู่เรื่อยๆค่ะ

    (น.ส. ชุติมา สิงห์เส .. 'อ๋อหรอ')

    ตอบลบ
  5. GUI มีประโยชน์มาก ทำให้ใช้งานระบบได้ง่ายขึ้นมาก ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการทำงานได้อย่างไม่ต้องทราบขั้นตอนการทำงานมาก่อน


    น.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ)

    ตอบลบ
  6. WYSIWYG - - - - รู้จักคำนี้กันไหม คะ

    What you see is what you get?

    ตอบลบ
  7. WYSIWYG (อ่านว่า "วิซซีวิก"[1]) ย่อมาจาก What You See Is What You Get เป็นคำศัพท์เฉพาะในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงระบบเนื้อหาระหว่างการแก้ไข และเนื้อหาเมื่อแก้ไขเสร็จแล้วมีหน้าตาและรูปแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมตระกูลโปรแกรมประมวลผลคำ หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บเพจ พวกโปรแกรม Dreamwerver, Amaya หรืออื่นๆ
    เป็นโปรแกรมที่เราลากอะไรไปใส่ มันก็จะเขียนเป็นโค้ดให้เราเองโดยอัตโนมัติ
    ที่มา http://ruunoi.com/index.php/know-less/8-wysiwyg-.html

    มานิตา 872 (pick)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น