การวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (ฉบับย่อ)
แมคลีน และโซเดน ได้กำหนดขั้นตอนของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ดังนี้
1. กำหนดหน้าที่ภารกิจของหน่วยงานสารสนเทศ เพื่อทำหน้าที่ในการวางแผนด้านระบบสารสนเทศ คือหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
2. ประเมินสภาวะแวดล้อม เป็นการจำแนกว่ามีโอกาสหรือความเสี่ยงใด ๆ จากการนำระบบสารสนเทศมาใช้
ในองค์กร
3. กำหนดวัตถุประสงค์ด้านระบบสารสนเทศ เป็นการระบุว่าระบบที่ได้คิดไว้จะให้อะไรต่อองค์กรได้บ้าง โดย
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรด้วย
4. กำหนดแนวทางด้านกลยุทธ์อย่างกว้าง ๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้างต้น
5. กำหนดนโยบายด้านสารสนเทศ กำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ ซึ่งการกำหนดนโยบายจะต้องคำนึงถึงทรัพยากรและขีดจำกัดอื่น ๆ ที่มีอยู่
6. นำวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และนโยบายมาจัดทำเป็นแผนระยะยาวและระยะสั้น เพื่อกำหนดทิศทางที่องค์กรจะดำเนินการหรือก้าวต่อไป
7. ทำแผนงานที่กำหนดเป็นรูปธรรมแล้วนำไปดำเนินการ เมื่อแผนงานได้ทำเป็นรูปธรรมแล้วก็จะนำไปดำเนินการ
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://wanchai.hi.ac.th/3204-2012/Mis4.htm
เสาวรักษ์ พูลทา
ประโยชน์ของการวางแผน (Advantage of Planning)
ตอบลบ1. บรรลุจุดมุ่งหมาย (Attention of objectives) จะต้องมีจุดปลายทางที่กำหนดไว้
2. ประหยัด (Economical Operation) งานที่มีระบบ ระเบียบ ทำให้ประหยัดในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้
3. ลดความไม่แน่นอน (Reduction of Uncertainty) เป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตล่วงหน้า ลดความไม่แน่นอนได้
4. เป็นเกณฑ์ในการควบคุม (Basic of Control) การวางแผน นำมาซึ่งการควบคุม เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีระบบ
5. ส่งเสริมให้เกิดแนวคิดใหม่และการสร้างสรรค์ (Encourage Innovation and Creativity) เป็นการแก้ปัญหาและตัดสินใจทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา
6. พัฒนาแรงจูงใจ (Improve Motivation) การวางแผนที่ดีจะเป็นเครื่องมือชื้ให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน
7. พัฒนาการแข่งขัน (Improve Competitive Strength) การวางแผนที่ดีนำมาซึ่งการแข่งขันที่ต้องอาศํยข้อมูลข่าวสารที่ดีด้วย เฉพาะจึงต้องมีการพัฒนาการแข่งขันของตนให้สามารถแข่งขันกับองค์การอื่น ๆ ได้
8. ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี (Better Coordination) เป็นการดำเนินการร่วมกันตามแผนงานที่ดี จะช่วยทำให้เกิดการประสานงานที่ดีด้วย
น.ส. ศุภญานี แต้มคุณ (มุก)