หากกล่าวถึงยุค Mobile Commerce สามารถจำแนกออกเป็น 4 ยุค ได้แก่
ยุคที่ 1 เป็นการส่งข้อความขนาดสั้นถึงกันประมาณ 160 ตัวอักษร
ยุคที่ 2 เป็นการติดต่อสื่อสารผ่าน WAP (Wireless Application Protocol) โดยสามารถติดต่อเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ได้
ยุคที่ 3 เป็นยุคของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นข้อความ รูปภาพ, เสียง, ภาพเคลื่อนไหวและวิดีโอคลิป โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งล่าสุด iPhone เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวอย่างของระบบโทรศัพท์ที่ใช้ 3G เทคโนโลยี
ยุคที่ 4 เป็นยุคที่มีการใช้มาตรฐานของอุปกรณ์มือถือไร้สายสื่อสารถึงกันและอุปกรณ์มือถือเหล่านั้นมีความแตกต่างกันร่วม 20อุปกรณ์ แต่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น การสื่อสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบวางตัก (Laptop) ไปสู่กล้องดิจิตอล, การสื่อสารจากอุปกรณ์จีพีเอส (GPS) ไปสู่ตู้คอนโซลเกม และเป็นปฏิบัติการด้วยอัตราความเร็วถึงอุลตร้าบรอดแบนด์ (Gigabit-Speed) หรือสามารถดาวน์โหลดข้อมูลด้วยความเร็วสูง 100 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ 4G จะต้องมีการใช้งานอยู่บน IP Address ซึ่งมีการใช้อินเทอร์เน็ต
บล็อคอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมนะคะในประเทศสหรัฐฯ มีอยู่ 2 ระบบที่ใช้ 4G Mobile Technology ระบบแรกที่เรารู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ WiMaxอันเป็นการเชื่อมต่อโทรศัพท์เข้ากับด้วยอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูงกว่า 2.0 เมกกะบิตต่อวินาที พร้อมทั้งมีความปลอดภัยสูง บริษัทที่เป็นเจ้าของระบบนี้ คือ Sprint Nextel ทำธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมอยู่ที่รัฐแคนซัส ระบบนี้ได้มีการทดสอบการใช้บริการที่ Baltimore ในปี ค.ศ. 2008 และนำออกไปใช้ในด้านการตลาดในปี ค.ศ. 2009 และมีเป้าหมายที่จะขยายออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ 80 เมืองในปลายปี ค.ศ. 2010 ส่วนระบบคู่แข่งระบบที่สอง คือ LTE (Long Term Evolution) ผู้อยู่เบื้องการพัฒนาระบบนี้ขึ้นมาใช้ คือ บริษัท Verizonได้มีการทดสอบการใช้บริการเสร็จเรียบร้อยแล้วในปี ค.ศ. 2010 นี้เอง โดยจะมีการใช้ไปถึงปี ค.ศ.2012 แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก บริษัทผู้ทำการพัฒนาคาดหวังว่า ต้องพยายามแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ให้หมดไปโดยเร็ว โดยการเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้นกว่าเดิมและพยายามผลิตอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพงจนเกินไป
หวังว่าการเชื้อมต่อความเร็วสูงจะเกิดขึ้นในเมืองไทยในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งอาจนำมาสู่ความสะดวกของชีวิตเรามากขึ้น ในทุกๆวงการจะนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างทางการแพทย์ ทางด้านตำรวจ หรือแม้แต่ความสะดวกสบายของเราในชีวิตประจำวัน
ตอบลบในปัจจุบัน..เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ตอบลบจึงทำให้ผู้ประกอบการด้านการสื่อสารเชื่อมต่อ จึงมีการแข่งขันกันมากขึ้น
เราจึงควรติดตามศึกษาให้เข้าใจ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง
(น.ส. ชุติมา สิงห์เส .. 'อ๋อหรอ')
เมืองไทยในปัจจุบัน 3G ก็ยังใช้ได้แค่บางพื้นที่ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เนื่องด้วยผลประโยชน์ต่างๆ ทำให้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าในการให้สัมปทานกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งในการให้บริการ แต่ให้เป็นใบอนุญาตแทน
ตอบลบhttp://hilight.kapook.com/view/50576 ข่าวเรื่อง3G
นายธนชัย กะชามาศ (แบงค์) 51040840
บ้านเมืองอื่นเค้าเจริญกันไปถึงไหนกันแล้ว ประเทศไทยเรายังล้าหลังอยู่เลย ขนาดประเทศลาวยังมี 3G ใช้กันแล้ว ญี่ปุ่นก็มี 4G แล้ว สงสัยไทยเราคงต้องรอยาวเลยล่ะ
ตอบลบเมืองไทย 3g ยังใช้ไม่ได้ทุกที่เลย wifi ก็จำกัดการใช้งาน ที่มีให้ใช้ได้ทุกที่ก็เป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ แต่กรุงโซลของเกาหลีใต้ จะให้บริการ WiFi โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามสถานที่สาธารณะกลางแจ้งเพื่อให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ เนื่องจากความต้องการใช้ WiFi เพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางการเจริญเติบโตของธุรกิจสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์แทปเล็ต ปัจจุบันมีบริการ WiFi ในพื้นที่ด้านนอก ในกรุงโซล และจะขยายบริการให้ได้ทุกแห่งตามถนน รวมถึงรถโดยสาร รถไฟใต้ดิน และแท็กซี่ ซึ่งจะติดตั้งอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตไร้สาย ให้บริการผู้โดยสารภายในสิ้นปีนี้
ตอบลบข้อมูลเพิ่มเติม Manager Online
นางสาวกนกวรรณ ดาษเสถียร (แนน)
ประเทศไทยเพิ่งเปิดตัว 3G เทคโนโลยีไปในขณะเดียวกันที่ กระแสทั่วโลกเริ่มเปิดตัว 4G เทคโนโลยีกันแล้ว นั่นก็หมายความว่า เราจะได้ใช้เทคโนโลยี 3G อีกไม่นาน ก็ต้องมาไล่ตามกระแส 4G เทคโนโลยีกันอีกใช่ป่ะ hahahah.
ตอบลบศิริมา กุลอุดมทรัพย์ (note) :D *
ปัจจุบัน 3G ในประเทศไทย ยังไม่สามารถให้สัญญาณได้อย่างทั่วถึงเลย ในขณะที่ปนะเทศอื่นเขามี 4G กันแล้ว จะเห็นได้ว่า เมื่อความต้องการความสะดวกละบายของมนุษย์ไม่มีวันหมด เทคโนโลยีก็ยังไม่หยุดพัฒนา เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา ทำให้นุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมานั้นมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่เราควรเลือกใช้เทคโนโลนีในทางที่ถูกต้อง และควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด
ตอบลบอริญญา ปิ่นแก้วกาญจน์ ปอย