วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การประมวลผล

การประมวลผล

จุดมุ่งหมายการประมวลผล

1. เพื่อให้การประมวลผลนั้นชัดเจนเข้าใจง่าย การใช้วิธีนี้จะทำให้ผู้วิเคราะห์ได้เรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนใน การประมวลผลการทำงาน
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องในการอธิบายในรูปแบบเฉพาะของการประมวลผลระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์
3. เพื่อตรวจสอบการออกแบบระบบ โดยการประมวลผลนั้นจะถูกต้องหรือไม่ด้านข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่อง และออกการรายงานทางหน้าจอ
ประเภทของการประมวลผลที่ไม่ต้องมีการอธิบาย
ประเภทของการประมวลผลที่ไม่ต้องมีการอธิบายสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. การประมวลผลที่ใช้การแทนที่ทางกายภาพในส่วนของการป้อนข้อมูลเข้าระบบหรือการ ออกรายงานที่เป็นรูปแบบไม่ซับซ้อน เช่น การอ่านค่า การเขียนค่า เป็นต้น
2. การประมวลผลที่แทนที่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลซึ่งจะมีรายละเอียดในพจนานุกรมข้อมูล
3. การประมวลผลที่เป็นการประมวลผลในลักษณะที่เป็นการดึง Function ที่มีอยู่เดิมหรือเป็นการนำโปรแกรมย่อยมาใช้

คำอธิบายการประมวลผล

คำอธิบายการประมวลผล “Process Description” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Minispecs”
จะอธิบาย รายละเอียดการทำงานภายในโพรเซสหนึ่ง ๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ โพรเซสนี้เปลี่ยนอินพุตเป็นเอาต์พุตอย่างไร โพรเซสระดับล่างสุดใน DFD จะต้องเขียนคำอธิบายว่ามันทำงานอย่างไร
คำอธิบายการประมวลผลสามารถกำหนดข้อมูลของระบบไว้ในพจนานุกรมข้อมูลและแบ่ง การทำงานเป็นหน้าที่ต่างๆ ย่อยลงได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล

วิธีการอธิบายการประมวลผล

  1. ประโยคโครงสร้าง (Structure Sentences)
  2. การตัดสินใจแบบตาราง(Decision Tables)
  3. ผังต้นไม้(Decision Tree)

นักวิเคราะห์ระบบจะเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือใช้ปนกันก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่ไม่ว่าจะเขียนด้วยวิธีใด ๆ เมื่อเขียนแล้วควรจะมีคุณสมบัติดังนี้

  • เขียนแล้วคำอธิบายนั้นควรจะใช้สื่อสารกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในระบบได้ง่าย ผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะเป็นผู้ใช้ผู้จัดการ ผู้ตรวจสอบ
  • เขียนแล้วคำอธิบายนั้นสามารถนำมาตรวจสอบความถูกต้องกับ ผู้ใช้ได้ง่ายการเขียนเป็นประโยคโครงสร้างอาจจะไม่เหมาะสมถ้าต้องนำมาตรวจ สอบกับผู้ใช้เพราะว่า คำอธิบายนั้นจะยาวแบะ คำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไข หรือการทำงานซ้ำก็เขียนไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขหรือการทำงานซ้ำก็เขียนไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขที่มี AND,OR หรือ NOT
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5016/nidz/Web_Analyse/unit9.html

นางสาวจิตติมา ช้างน้อย (เชอร์รี่) ,, :D

5 ความคิดเห็น:

  1. วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision Tables)
    ตารางการตัดสินใจ (Decision table) เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงเงื่อนไขการตัดสินใจ และการเลือกการทำงานหรือกระทำกิจกรรมใต้เหตุการณ์ของเงื่อนไขที่ระบุ เช่นเดียวกับต้นไม้การตัดสินใจ แต่ตารางการตัดสินใจเป็นลักษณะตาราง
    เงื่อนไข
    กฎสำหรับการตัดสินใจ / การกระทำ
    การระบุเงื่อนไขสำหรับการพิจารณาการทำงาน กฎที่เป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุ
    การกระทำที่เป็นไปได้ การระบุการเลือกการกระทำภายใต้กฎเกณฑ์
    สรุปขั้นตอนการเขียนตารางการตัดสินใจ (Decision Tables)
    - เริ่มจากตารางเปล่า
    คำนวณจำนวนแถวตั้งโดยนำจำนวนค่าที่เป็นไปได้ของแต่ละเงื่อนไขมาคูณกันได้ผลลัพธ์เท่าไรบวกอีก 1
    ใส่ชื่อเงื่อนไขแถวตั้งแถวแรก และใส่ตัวเลขเรียงลำดับตั้งแต่ 1 ในแถวถัดมาจนครบทุกแถวตั้ง
    - จำนวนแถวตั้งลบด้วย 1 แล้วนำผลลัพธ์มาหารด้วยจำนวนค่าที่เป็นไปได้ของเงื่อนไขแรกจะได้ว่าจะต้องเขียนค่าของเงื่อนไขนั้นซ้ำกี่ครั้ง
    - ทำซ้ำสำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ เหมือนข้อที่แล้ว แต่จะใช้จำนวนซ้ำของเงื่อนไขก่อนหน้าเป็นตัวตั้ง
    - ตั้งชื่อสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการตัดสินใจ
    - สร้างแถวนอนการตัดสินใจ และเติมค่าที่ถูกต้องตามเงื่อนไขแต่ละอัน
    - อ่านเงื่อนไขตามแนวตั้ง
    - พยายามเขียนตารางนี้ใหม่อีกทีเพื่อให้กะทัดรัดโดยตัดแถวตั้งที่ไม่จำเป็นออก

    นายธนชัย กะชามาศ (แบงค์)

    ตอบลบ
  2. นักวิเคราะห์ระบบต้องสามารถเลือกใช้วิธีการอธิบายการประมวลผล ให้เข้าใจตรงกันกับผู้ใช้ เพื่อให้ทราบกระบวนการดำเนินงานอย่างถูกต้องและชัดเจน

    นายพิเชฐ โพธิ์สุวรรณ (BigM)

    ตอบลบ
  3. จะเลือกวิธีผังต้นไม้ (Decision Tree) เมื่อ
    - การเกิดเงื่อนไขต่าง ๆ และการกระทำกิจกรรมเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง
    - กรณีที่มีเงื่อนไขหลากหลายแบบ ในการแตกกิ่งที่แตกต่างกันไปคือเงื่อนไขไม่จำกัดเป็นต้น

    กรรณิการ์ อภินันทกุล (นิ*)

    ตอบลบ
  4. เทคนิคในการเลือกวิธีการเขียนอธิบายการประมวลผล มีดังนี้
    1. เลือกวิธีประโยคโครงสร้างภาษา(Structure Language)เมื่อ
    - การประมวลผลนั้นเป็นกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่มีการกระทำซ้ำ
    - ต้องการสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับนักวิเคราะห์ระบบในการอธิบายการประมวลผลวิธีนี้จะดีที่สุด
    2. เลือกวิธีใช้ตารางการตัดสินใจ(Decision Table)เมื่อ
    - เงื่อนไข กิจกรรมที่จะกระทำ และกฎในการประมวลผลมีความซับซ้อนมาก
    - เมื่อการประมวลผลนั้นมีกฎต่าง ๆ ที่ขัดแย้ง และเกิดกรณีฟุ่มเฟือยได้ วิธีนี้จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
    3. เลือกวิธีผังต้นไม้ (Decision Table)เมื่อ
    - การเกิดเงื่อนไขต่าง ๆ และการกระทำกิจกรรมเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง
    - กรณีที่มีเงื่อนไขหลากหลายแบบ ในการแตกกิ่งที่แตกต่างกันไปคือเงื่อนไขไม่จำกัดเป็นต้น

    น.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ)

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณ ส้มโอ ในการให้ความกระจ่างเรื่องของการเลือกวิธีการเขียนอธิบายการประมวลผล
    อาจารย์จงดี

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น