1. แผนภาพกระแสข้อมูลต้องมีความสมบูรณ์(Completeness)
ทุกสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนแผนภาพกระแสข้อมูล หรือแหล่งจัดเก็บข้อมูลจะต้องเชื่อมต่อกัน หากว่ามีสัญลักษณ์ใดไม่เชื่อมต่อกัน แสดงว่าแผนภาพกระแสข้อมูลไม่สมบูรณ์
2. แผนภาพกระแสข้อมูลต้องมีความสอดคล้อง (Consistency)
การสร้างแผนภาพกระแสข้อมูลจะต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างสิ่งที่ปรากฏอยู่ในแผนภาพบริบท กล่าวคือ เมื่อมีการแบ่งย่อยระดับลงมา แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับล่างจะต้องมีสิ่งที่ปรากฏในระดับบนเสมอ
3. แผนภาพกระแสข้อมูลต้องมีการทำซ้ำ (Iterative)
เนื่องจากการสร้างแผนภาพกระแสข้อมูลในรอบแรกอาจจยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบปรับปรุง และแก้ไขเพื่อให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้น
4. การแบ่งย่อยระดับแผนภาพกระแสข้อมูลต้องมีจุดสิ้นสุด
เมื่อมีแผนภาพกระแสข้อมูลระดับรอง ควรมีการกำหนดว่าควรจะหยุดแบ่งย่อยเมื่อใด โดยใช้หลักเกณฑ์ในการตัดสินก็คือ เมื่อการประมวลผลไม่สามารถแบ่งย่อยได้อีก นั้นหมายความว่าการประมวลผลมีหน้าที่ในการทำงานเพียงหน้าที่เดียว และเมื่อเล็งเห็นว่าไม่มีรายละเอียดใดจำเป็นต่อการทำงานของระบบแล้ว
ที่มา : การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์
By น.ส. วรพร ไตรวศรัทธ์ (แตงโม)
หลักเกณฑ์การตรวจสอบแผนภาพกระแสข้อมูล บางคนอาจถามว่าตรวจสอบเพื่ออะไร การตรวจสอบส่วนมากมุ่งเน้นตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result) เพื่อให้ทราบว่าผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และคุ้มค่าหรือไม่ เพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ที่สุด
ตอบลบศิริมา กุลอุดมทรัพย์ (note) :D *