วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รหัสแทนข้อมูล

เป็นรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รหัสแอสกีเป็นรหัสมาตรฐานที่ได้จากหน่วยงานกำหนดฐานของสหรัฐอเมริกา (ASCII ย่อมาจาก America Standard Code Information Interchange) เป็นรหัส8บิตหรือ1ไบต์ต่อหนึ่งอักขระและแทน
สัญลักษณ์ต่างๆ ได้ 256 ตัว
รหัสแอสกีจะกำหนดไว้เป็นฐานสิบเมื่อจะนำไปสู่หน่วยความจำคอมพิวเตอร์จึงจะแปลเป็นเลขฐานสอง สำหรับผู้ใช้งาน
สามารถที่จะเขียนในรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย
ชนิดของรหัสแทนข้อมูล
ในทางทฤษฎีแล้วผู้ใช้สามารถกำหนดรหัสแทนอักขระใด ๆ ได้เองจากกลุ่มของเลขฐานสอง 8 บิต แต่ในความเป็นจริงนั้นทำไม่ได้
เพราะหากทำเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาระหว่างเครื่องสองเครื่องที่ใช้รหัสต่างกัน เปรียบเทียบได้กับคนสองคนคุยกันคนละภาษา ดังนั้น
จึงควรมีการกำหนดรหัสแทนข้อมูลที่เป็นสากล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันได้ รหัสแทนข้อมูลที่นิยมใช้กัน
ในปัจจุบัน คือ
รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code)
รหัสเอบซีโคด พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มใช้แทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 2 หรือ 256 ชนิด การเก็บข้อมูลโดยใช้รหัสเอบซีดิก
จะแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือโซนบิต (Zone bits) ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมีจำนวน 4 บิตและนิวเมอริกบิต (Numeric bits)ในอีก 4 บิต
ที่เหลือ
รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange)
รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications)
ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง
8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ
โซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกัน

รหัส UniCode

เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียน
แบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัวซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและ
สัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ
Window NT ระบบปฏิบัติการUNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย

ที่มา : http://jantima-ssp.exteen.com/20080212/entry-6

นายต้น เหรียญรุ่งเรือง (ต้น)

















4 ความคิดเห็น:

  1. เลข 0 และ 1ในระบบฐานสองแต่ละตัว เรียกว่าบิต (bit) ย่อมาจากคำว่า Binary Digit บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดในการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากบิตเดียวไม่สามารถเก็บข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ ได้ครบ ดังนั้นจึงต้องรวมบิตหลายบิตเข้าเป็นกลุ่มเรียกว่าไบต์ (byte) แต่ละไบต์จะแทนอักขระหนึ่งตัว โดยปกติแล้วใช้แปดบิตรวมกันเป็นหนึ่งไบต์

    ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องคำนึงถึงรหัสที่ใช้แทนข้อมูล ความจุของหน่วยความจำและความจุของที่เก็บข้อมูลสำรองในคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน่วยของความจุที่เก็บข้อมูลจะมีหน่วยเป็นหน่วยของไบต์ และหากมีความจุสูงก็อาจใช้หน่วยความจุเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) โดยหนึ่งกิโลไบต์มีค่าเป็น 1,024 ไบต์ ใช้สัญลักษณ์ KB หรือ K แทน (บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณ 1 กิโลไบต์ ประมาณ 1,000 ไบต์) ดังนั้นถ้าหน่วยความจำขนาด 640 กิโลไบต์ จะเก็บข้อมูลได้ 640 x 1,024 หรือ 655,360 ไบต์ นอกจากนี้ยังมีหน่วยความจุเป็นเมกะไบต์ (Megabyte)ซึ่งมีค่าเป็น 1,024 x1,024 หรือ 1,048,576 ไบต์ ใช้สัญลักษณ์ MB หรือ M แทน (บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณ 1 เมกะไบต์ ประมาณ 1,000,000 ไบต์ หรือหนึ่งล้านไบต์)

    ปัจจุบันนี้ หน่วยความจำมีความจุมากขึ้นจนอยู่ในหน่วยของจิกะไบต์ (Gigabyte) ซึ่งมีค่าเป็น 1,024 x1,024 x1,024 ไบต์ หรือ 1,073,741,824 ไบต์ ใช้สัญลักษณ์ GB หรือ G แทน (บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณ 1 จิกะไบต์ ประมาณ 1,000,000,000 ไบต์ หรือหนึ่งพันล้านไบต์) ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะมีหน่วยความจำหลักเพียง 640 กิโลไบต์ แต่ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ จะมีหน่วยความจำหลักที่มีความจุตั้งแต่ 8 เมกะไบต์ ถึง 32 เมกะไบต์ หรือมากกว่านี้ ส่วนในเครื่องเมนเฟรมจะมีหน่วยความจำที่มีความจุถึงหน่วยของจิกะไบต์

    นอกจากนี้ ในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ยังมีการรวมกลุ่มของบิตจำนวนหนึ่งเรียกว่าเวิร์ด (word) ซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดจะมีขนาดของเวิร์ดไม่เท่ากัน โดยทั่วไปแล้วถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดมีเวิร์ดขนาดใหญ่กว่า ก็แสดงว่าเครื่องนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะใช้ 8 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์บางรุ่นใช้ 16 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ในเครื่องระดับเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์บางรุ่นใช้ 32 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ส่วนในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้ 64 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าเป็นเครื่องขนาด 8 บิต (หนึ่งเวิร์ด) จะหมายความว่า ณ ขณะใดขณะหนึ่งเครื่องนั้นจะสามารถประมวลผลได้ครั้งละ 8 บิต แต่ในเครื่องขนาดใหญ่ขนาด 64 บิต จะสามารถประมวลผลได้ครั้งละ 64 บิตหรือ 8 ไบต์ ทำให้ประมวลผลเร็วกว่าเครื่องรุ่นเก่าถึง 8 เท่า


    โชติกา แซ่ฮ้อ (มด)

    ตอบลบ
  2. โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมได้มีการเปลี่ยนแปลงการแทนข้อมูลด้วยรหัส ACSII ให้ต่างไปจากมาตรฐาน โดยรหัสการจัดรูปแบบตัวอักษร (formatiing) ให้เป็นตัวหนาหรือตัวเอียง เป็นต้น ทำให้โปรแกรมอื่น ๆ ไม่สามารถอ่านข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมประเภทนี้ได้ เพราะมีการกำหนดรหัสแทนข้อมูลไม่ตรงกัน

    กรรณิการ์ อภินันทกุล (นิ*)

    ตอบลบ
  3. คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แทนสัญญาณทางไฟฟ้าด้วยตัวเลขศูนย์ และหนึ่งซึ่งเป็นตัวเลขในระบบฐานสอง เมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมาเรียงกัน จะใช้สร้างรหัสแทนความหมายจำนวน หรือตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ และเพื่อให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ไปในแนวเดียวกัน

    นางสาวกนกวรรณ ดาษเสถียร ( แนน )

    ตอบลบ
  4. รหัสแทนข้อมูล มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกันจึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสตัวเลขในระบบเลขฐานสอง ถ้าสมมติไม่มีการคิดค้นรหัสแทนข้อมูลปานนี้เราคงคุยกับคอมพิวเตอร์กันไม่รู้เรื่องอยู่

    ศิริมา กุลอุดมทรัพย์ (note) :D *

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น