วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การพูดที่ดีจะทำให้ผู้พูดขึ้นสู่ที่สูง แต่บุคลิกภาพจะทำให้ผู้พูดสามารถดำรงอยู่ได้นาน


  บุคลิกภาพมีความสำคัญมากต่อการพูด โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ผู้พูดหรือนักพูดจะต้องมีบุคลิกภาพที่ต้องตาผู้ฟัง บุคลิกภาพมีความสัมพันธ์กับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนจนการฝึกอบรมในปัจจุบันหลายๆ หลักสูตรมักจะมีเนื้อหาบุคลิกภาพกับการพูด เช่น หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดแบบผู้นำ ฯลฯ
                มีคำถามว่า  แล้วบุคลิกภาพที่ดีของนักพูดหรือผู้พูดในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีอะไรบ้าง  สำหรับบุคลิกภาพที่ดีของนักพูดหรือผู้พูดต่อหน้าที่ชุมชนมี 2 อย่างครับ คือ บุคลิกภาพภายนอกกับบุคลิกภาพภายใน สำหรับบทความฉบับนี้กระผมขอพูดถึงบุคลิกภาพภายในก่อนครับ บุคลิกภาพภายในของนักพูดที่ดีมีดังนี้ครับ
-                    มีความมั่นใจหรือเชื่อมั่นในตนเอง นักพูดหรือผู้พูดที่ขาดความมั่นใจหรือเชื่อมั่นใน
ตนเอง มักจะพูดด้วยความไม่หมั่นใจ พูดแบบไม่เต็มอารมณ์ เต็มอาการของตนเอง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เมื่อต้องการแสดงท่าทางประกอบการพูดมักจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร แต่ถ้าแสดงความมั่นใจหรือเชื่อมั่นจนเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้เหมือนกัน เนื่องจากผู้ฟังสามารถสัมผัสได้
-                    มีไหวพริบ เชาว์ปัญญา มีความรอบรู้ บุคคลที่ต้องการเป็นนักพูดหรือพูดเก่ง พูดเป็น
จำเป็นต้องเป็นคนที่มีความรอบรู้ มีเชาว์ปัญญา และมีไหวพริบ สามารถแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆได้ เนื่องจากเวลาพูดแต่ละสถานที่มักมีปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น เพศ วัย อายุ สถานที่ เครื่องเสียง ฯลฯ
-                    มีความหนักแน่น มีสติ ควบคุมตัวเองได้ เนื่องจากการพูดแต่ละครั้งผู้พูดต้องเผชิญกับ
เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจากตัวผู้พูดเองหรือตัวผู้ฟัง เช่น ผู้พูดอาจจะอารมณ์เสียเนื่องจากโกรธหรือโมโหใครมา แต่เวลาขึ้นพูดผู้พูดต้องควบคุมตัวเองได้ มีสติ ถ้าหากผู้พูดหลุดหรือพูดพลาด อาจจะมีผลร้ายแรง ทำให้ผู้ฟังขาดความนับถือ ศรัธทา และบางครั้งอาจร้ายแรงจนต้องติดคุกติดระรางไปเลยก็มีเนื่องจากไปพูดหมิ่นประมาทผู้อื่น
-                    มีความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา พวกเราคงเคยได้ฟังหรือเคยไปอบรมกับวิทยากรหรือ
อาจารย์หลายๆ ท่านมาแล้ว บางท่านเราฟังแล้วรู้สึกสนุกสนาน มีชีวิตชีวา แต่เมื่อเราฟังบางท่านพูดแล้ว เรากลับเบื่อหน่าย ง่วงไม่อยากฟัง อยากให้การพูดนั้นจบไวๆ ดังนั้น การที่จะให้ผู้ฟังเกิดความมีชีวิตชีวาหรือเกิดความกระฉับกระเฉงเวลาฟัง ตัวเราผู้พูดก็ต้องทำตัวให้มีความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวาไปด้วย เนื่องจากในทางจิตวิทยาการพูดมันสามารถสื่อสารถึงกันได้ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ หากเราต้องการให้ผู้ฟังมีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไร ตัวผู้พูดต้องแสดงอารมณ์และความรู้สึกอย่างนั้นก่อน
-                    มีความเข้าใจเห็นใจผู้ฟัง นักพูดที่สามารถพูดจูงใจคน จำเป็นจะต้องศึกษาจิตวิทยา
ฝูงชน นักพูดที่พูดแล้วคนถูกใจ พอใจ นักพูดผู้นั้นมักเป็นคนที่มีความสามารถเข้าถึงหัวใจของผู้ฟังได้ นักพูดที่ให้เกียรติผู้ฟัง ผู้ฟังก็มักจะให้เกียรติผู้พูด ดังนั้นอย่าได้ดูถูกดูหมิ่นหรือแสดงอาการยโสโอหัง แก่ผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องไม่แสดงโทสะหรืออารมณ์โกรธจนลืมตัวเพราะเราแสดงอารมณ์โทสะเวลาพูด มันก็จะสื่อให้แก่ผู้ฟังเข้าใจอารมณ์โทสะของผู้พูดได้เช่นกัน
-                    มีความจริงใจ ไม่พูดโกหกผู้ฟัง อดีตประธานาธิบดีลินคอนล์ เคยกล่าวไว้ว่า “ เราสามารถโกหกคน
บางคนได้ตลอดเวลา เราสามารถโกหกคนทุกคนได้บางเวลา แต่เราไม่สามารถโกหกคนทุกคนและทุกเวลาได้”
ถ้าต้องการเป็นนักพูดที่ดี อย่าได้โกหกคนเลยครับ ควรพูดแต่ความจริง
                                ดังนั้นเราจะเห็นว่าบุคลิกภาพภายในของนักพูดมีความสำคัญมากในการพูด สำหรับบุคลิกภาพภายนอก เช่น การแต่งตัว การเดิน การยืน การนั่ง การแสดงท่าทาง ฯลฯ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจึงมีหน้าที่ที่ต้องฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ


ที่มา : http://www.gotoknow.org/blog/markandtony/411378
นายนฤพนธ์ วุฒิภาพภิญโญ (nix)

3 ความคิดเห็น:

  1. ถูกต้องเลยค่ะ การที่พูดที่ดีถือว่าเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งค่ะ แต่การพูดก็ต้องมีบุคลิกที่ดีไปด้วยค่ะ ถ้าการพูดดีแต่บุคคลิกไม่ดีก็จะทำให้การพูดนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือไปด้วยค่ะ

    ฺBy นางสาวพิชชานันท์ พินิจธนภาคย์ (เอ)

    ตอบลบ
  2. การสร้างความน่าเชื่อถือ เราสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเราเป็นหลัก การที่เรามีบุคลิกภาพที่ดี จะทำให้ผู้พบเห็นมองด้วยความชื่นชม และการที่เรามีวาทะศิลป์ที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้ตัวผู้พูดมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นการที่เรามีทั้งสองสิ่งอยู่ในตัวเรา ก็สามารถทำให้ตัวเราเป็นคนที่น่ามอง น่าเจรจาพูดคุย จะเห็นได้ว่าการสร้างบุคลิกภาพที่ดี สามารถทำได้โดยง่าย หากเรารู้จักฝึกฝน

    โดย นาวสาวสุภาพร แซ่แต้ (บี)

    ตอบลบ
  3. มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง ^^

    by น.ส.ชุติมน ศิริศรชัย (ก้อย):)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น