วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการติดตั้งระบบ

วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี้ หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่ เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ มีการวิธีการติดตั้งที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธีการ และการนำไปใช้นั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์และระบบการทำงานดังนี้คือ
1. การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง (Direct Changeover)
หมายถึง การนำระบบใหม่เข้ามาในองค์กรทันทีตามที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า จะมีการเริ่มใช้งานระบบใหม่เมื่อใด เมื่อนั้นระบบเดิมจะถูกยกเลิกทันที การรติดตั้งแบบนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อระบบงานได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะถูกนำมาติดตั้ง แต่การติดตั้งระบบด้วยวิธีการนี้มีอัตราความเสี่ยงสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น เพราะหากระบบใหม่ได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว หากเกิดความผิดพลาดในการทำงาน จะทำให้การทำงานอื่น ๆ ในองค์กรหยุดชะงัดองค์กรเกิดความเสียหายได้จึงไม่เป็นที่ยมใช้หากสามารที่จะหลีกเลี่ยงได้
2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
หมายถึง การที่ระบบงานเก่ายังคงปฏิบัติงานอยู่ แต่ระบบใหม่ก็เริ่มต้นทำงานพร้อม ๆ กัน วิธีการนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะทำให้อัตราความเสี่ยงของการหยุดชะงัดของงานลดน้อยลง วิธีการนี้เหมาะสมที่สุดเมื่อระบบงานเด่าเป็นระบบงานที่ใช้คนทำ และระบบงานใหม่จะเป็นระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้ระบบงานทั้ง 2 ทำงานควบคู่กันไปในระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการเปรียบเทียบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบงานทั้งสองระบบคล้องจองกัน เมื่อผลลัพธ์ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าถูกต้องในช่วงเวลาหนึ่ง ระบบงานเก่าจึงจะถูกยกเลิกออกไปเหลือเพียงระบบงานใหม่ในองค์กรเท่านั้นที่ยังปฏิบัติงานอยู่ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ การที่จะต้องใช้ระบบ 2 ระบบทำงานไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทำงานสูง ภาระในการทำงานจะตกอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงาน
3. การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased Or Gradual Conversion)
การติดตั้งแบบนี้เป็นการรวมเอาข้อดีของ 2 วิธีการแรกมาใช้ โดยเป็นค่อย ๆ นำเอาบางส่วนของระบบใหม่ซึ่งอาจจะเป็นระบบงานย่อยเข้าไปแทนบางส่วนของระบบงานเดิม วิธีการนี้จะทำให้อัตราเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดลดน้อยลงกว่าการติดตั้งแบบทันที โดยกระทบจากข้อผิดพลาดจะอยู่ในวงจำกัดที่สามารถควบคุมได้ แต่ข้อเสียจะมีตรงเวลาที่ใช้ในการทยอยเอาส่วนต่าง ๆ ของระบบใหม่มาแทนระบบเดิมซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลานาน วิธีการนี้เหมาะกับระบบงานใหญ่ ๆ แต่ไม่เหมาะกับระบบงานเล็ก ๆ ที่ไม่ซับซ้อน
4. การติดตั้งแบบโมลดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
เป็นการแบ่งระบบงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ (Module) และอาศัยการติดตั้งด้วยวิธีทยอยนำระบบใหม่เข้าไปทีละส่วนย่อย ๆ แล้วผู้ใช้ระบบทำการใช้ส่วนย่อย ๆ จนกว่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ระบบ จึงค่อยนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความไม่คุ้นเคยระหว่างผู้ใช้กับระบบไปได้มาก ข้อเสียของระบบนี้คือ ส่วนย่อย ๆ (Module) ที่ให้ผู้ใช้ทดสอบอาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ตามที่คาดไว้ และการติดตั้งแบบนี้อาจต้องใช้เวลานานและต้องการความเอาใจใส่อย่างมากจากนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ระบบด้วย
5. การติดตั้งแบบกระจาย (Distributed Conversion)
เป็นการติดตั้งระบบให้กับธุรกิจที่มีสามาขามากกว่า 1 แห่ง เช่น ธนาคาร บ.ประกันภัย ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การติดตั้งจะเริ่มทำการติดตั้งทีละสาขา โดยจะทำการติดตั้งและทดสอบเป็นอย่างดีแล้วในสาขาแรก จึงค่อย ๆ ทยอยนำไปติดตั้งในสาขาอื่น ๆ ต่อไป ข้อดีของวิธีการนี้คือ ระบบงานสามารถจะได้รับการทดสอบการปฏิบัติงานจริงจนกว่าจะเป็นที่พอใจ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสาขาอื่น ๆ เนื่องจากระบบงานใหม่จะทำงานเฉพาะสาขาที่ทำการติดตั้งเท่านั้น ไม่ได้โยงไปยังสาขาอื่น ๆ วิธีการติดตั้งสำหรับสาขาหนึ่งอาจจะให้ไม่ได้กับอีกสาขาหนึ่งจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง

1 ความคิดเห็น:

  1. การติดตั้งระบบแต่ละแบบนั้นมีข้อดีแต่แตกต่างกัน ดังนั้นการนำระบบไปใช้จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ

    รัตน์ชนันท์ ถาวรศักดิ์สุธี(โบว์ลิ่ง)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น