วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของ DFD

ส่วนประกอบของ DFD
เพื่อให้การเขียนแผนภาพการไหลของข้อมูลเป็นมาตรฐานและมีแบบแผนที่ถูกต้อง ในที่นี้จะใช้สัญลักษณ์ในการเขียน DFD ตามทฤษฎีของ SSADM (Structure Systems Analysis and Design Method) ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 สัญลักษณ์ ดังต่อไปนี้

1. สัญลักษณ์แทนการประมวลผล (Process)

2. สัญลักษณ์แทนกระแสข้อมูลเป็นลูกศร (Data Flow)

3. สัญลักษณ์แทนแหล่งเก็บข้อมูล (Data Store) เป็นเส้นขนาน 2 เส้น ปลายปิด 1 ด้าน

4. สัญลักษณ์แทนสิ่งที่อยู่นอกระบบ (External หรือ Terminators)



รูปที่ 2 แสดงสัญลักษณ์ในการเขียน DFD

เราจะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ข้างต้นนี้เพื่อเขียนแผนการไหลของข้อมูล เพื่ออธิบายกระบวนการทำงานเป็นแผนภาพ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
1. สัญลักษณ์แทนการประมวลผล (Process)
รูปสี่เหลี่ยมมีหมายเลขและชื่อกำกับ เป็นสัญลักษณ์แทนขั้นตอนในกระบวนการทำงาน จะกระทำให้ลักษณะของข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป ดังตัวอย่าง

การประมวลผลจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลขาเข้าเป็นผลลัพธ์ นั่นหมายความว่า จะต้องมีการกระทำบางอย่างต่อข้อมูลทำให้เกิดผลลัพธ์ขึ้นมา โดยปกติแล้วข้อมูลที่เข้าสู่โพรเซสจะแตกต่างจากข้อมูลเมื่ออกจากโพรเซส

โพรเซสเป็นตัวอย่างอันหนึ่งของ "กล่องดำ" หมายถึง เราทราบว่าข้อมูลเป็นอะไร ผลลัพธ์อะไรที่เราต้องการ และหน้าที่โดยทั่วๆไปของโพรเซส แต่จะไม่ทราบว่าโพรเซสนั้นทำงานอย่างไร หลักการของกล่องดำมีประโยชน์ในการเขียนแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล โดยที่ยังไม่ต้องการทราบในรายละเอียดว่าโพรเซสนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง ซึ่งสามารถหารายละเอียดเหล่านั้นได้ในภายหลัง
ชื่อโพรเซสเป็นตัวบอกว่าโพรเซสนั้นทำหน้าที่อะไร คำที่ใช้ควรมีความหมายที่แน่นอน ควรจะใช้คำกริยา เช่น แก้ไข พิมพ์ คำนวณ เป็นต้น ถ้าการทำงานใดที่เราไม่สามารถหาคำแทนได้อย่างเหมาะสม อาจจะหมายความว่า งานนั้นๆ ไม่ใช่โพรเซสก็ได้ โพรเซสใดไม่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีก จะมีสัญลักษณ์ * กำกับอยู่ด้วย จะปรากฏที่โพรเซสในระดับล่างสุดของ DFD

จากรูปตัวอย่างข้างต้น แสดงว่าโพรเซส คำนวณภาษี เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมสุดท้ายในการทำงาน ไม่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีก


นางสาวอริญญา ปิ่นแก้วกาญจน์ (ปอย)

8 ความคิดเห็น:

  1. กำลังต้องการเลย ขอบคุณมาก

    ต้องหัดเขียนเยอะๆ จะได้ ชำนาญ 555

    อิชช์กันต์ มานะวงศ์เจริญ (กิด)

    ตอบลบ
  2. เห็นด้วยกับความเห็นของกิด ... ต้องฝึกฝนมากมาก ถึงจะเชี่ยวชาญนะคะ

    ตอบลบ
  3. เห็นด้วยคะ ทุกๆอย่างไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าอยากชำนาญ ก็ต้องหมั่นฝึกฝน


    นัทธมน847 (โดนัท)

    ตอบลบ
  4. ช่ายค่ะเราควรฝึกฝนหลังจากที่ได้เรียนไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ..
    เพราะDFD กำลังมีผลกับเราค่ะ 55
    ถ้าเราไม่เรียนรู้ว่าขั้นตอนในการเขียนเป็นยังไง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนแต่ละขั้นตอนคือสัญลักษณ์ไหน เราอาจจะทำให้ผู้ที่ต้องการศึกษาได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยอธิบายกระบวนการทำงานเป็นแผนภาพ

    ตอบลบ
  5. DFD เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการทำระบบต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงขั้นตอนการทำงานต่างๆของระบบ
    แต่ทั้งหมด ก็ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างดี ถึงจะเขียนออกมาได้ละเอียดและสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ

    นางสาวน้ำผึ้ง รักแดง (ลูกน้ำ)

    ตอบลบ
  6. ทำให้ทราบถึงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการแสดงถึงกระบวนการทำงานต่างๆในระบบ
    และDFDเป็นการแสดงรายละเอียดของการทำงานว่ามีอะไรบาง

    น.ส. วรพร ไตรศรัทธ์ (แตงโม)

    ตอบลบ
  7. ทำให้ทราบถึงสัญลักษณ์ต่างๆ และการเขียนDFD ได้นำไปใช้ในการทำสัมนาด้วยค่ะ ขอบคุณมาก^^

    น.ส.ชุติมน ศิริศรชัย ก้อย*

    ตอบลบ
  8. เป็นตัวที่บอกว่าข้อมูลแต่ละส่วนนั้นวิ่งไปยังส่วนไหนของระบบเราและทำให้เวลาเขียนโปรแกรมออกมาจะได้สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อีกด้วย

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น