วันนี้ขอพาท่านผู้ชม ผู้อ่าน และแฟนคลับทุกๆ ท่าน เข้าไปสัมผัส ตำแหน่งงานหนึ่งของ กสท นั่นก็คือ “นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์“ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก เนื่องจากถึงคราวเปิดรับสมัครบุคลากรเข้าทำงานทีไร ตำแหน่งนี้มีเข้าร่วมชิงชัยในสนามสอบด้วยเกือบทุกครั้ง เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว หลายคนก็คงอยากรู้แหละว่า คนพวกนี้เค้าต้องทำงานกันอย่างไร? งั้นเราไปดูกันเลยดีกว่า
คุณสมบัติเบื้องต้นของนักวิเคราะห์ระบบที่ควรจะมี คือ
1. มีความรู้ความสามารถทาง คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม
2. มีความสามารถในสื่อสาร
3. มีทักษะการแก้ไขปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและปัญหาในระยะยาวได้ดี
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีใจรักในงานให้บริการ
5. มีความเป็นผู้นำและสร้างทีมในการทำงานได้
6. ขยัน อดทนต่อสถานการณ์ที่กดดันได้ และมีความรับผิดชอบสูง
คราวนี้เราจะไปดูกันต่อค่ะว่า ในแต่ละวันงานของคนพวกนี้เค้าทำอะไรกันบ้าง โดยทั่วไปแล้วงานของคนกลุ่มนี้จะยึดหลักการทำงานตามวงจรของการพัฒนาระบบงานทางคอมพิวเตอร์ที่ประกอบได้ด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. ศึกษาความเป็นไปได้
2. เก็บรวบรวมความต้องการของผู้ใช้งาน
3. วิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่
4. พัฒนาระบบงาน
5. ทดสอบระบบงานที่พัฒนาขึ้น
6. ฝึกอบรมผู้ใช้งาน และการจัดทำเอกสารคู่มือ
7. ดูแลรักษาระบบที่พัฒนาขึ้นให้ใช้งานได้และเป็นปกติดีในทุกๆ วัน
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ได้รู้ถึงงานของอาชีพนักวิเคราะห์ระบบแล้ว อาจทำให้เข้าใจเรื่องการพัฒนาระบบงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย หากใครสนใจอยากเข้ามาสัมผัสในอาชีพนี้ก็ยินดีค่ะ เพราะว่าในสาขาอาชีพนี้ยังคลาดแคลนคนทำงานอีกเยอะเลย…
หากมีโอกาสในครั้งต่อไปที่ได้เขียนเล่าเรื่องแบบนี้อีก อาจจะนำเสนอเทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อให้งานด้านการพัฒนาระบบประสบความสำเร็จ และผู้ใช้งานเกิดความพึงพอใจสูงสุดค่ะ
นายนฤพนธ์ วุฒิภาพภิญโญ(นิกส์) n_n
นักวิเคราะห์ควรดูเทคโนโลยีให้มากๆ ข่าวสารต่างๆ เพื่อให้ทันเทคโนโลยีด้วย ระบบที่เราได้ทำออกมาจะได้ไม่ล้าสมัย
ตอบลบและควรตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ให้ทันด้วย เพราะเทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นใหม่เร็วมาก เพื่อประโยชน์ในการนำมาออกแบบระบบให้เข้ากับเทคโนลียีใหม่ได้
ตอบลบนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น แต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไป ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงาน ในหน่วยงานต่างๆและคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองที่ทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ
ตอบลบนางสาวจิตติมา ช้างน้อย (เชอร์รี่) ,, :))
นักวิเคราะห์ระบบ คือตัวกลางที่สำคัญในการสร้างและพัฒนาระบบขึ้นมา
ตอบลบนักวิเคราะห์ระบบต้องดูด้วยว่างานใดเหมาะสมที่จะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานจริงๆ แต่ไม่ได้ทำให้ยุ่งยากมากขึ้น หรือไม่ได้ช่วยให้การดำเนินงานดีขึ้นเลยก็ไม่สมควรทำ และไม่จำป็นต้องนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
ตอบลบทำไมเขาไม่นั่งทำงานอะ ยืนทำไม่ปวดแขนหรอ
ตอบลบ