การบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบ
เมื่อนำระบบใหม่มาใช้งานจริงแล้ว ก็ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพราะโลกไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่ง ผู้ใช้อาจจะขอให้มีการเพิ่มส่วนนั้นส่วนนี้ขึ้นมาอีกหรือหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือต้องการรายงานบางอย่างเพิ่มเติม หรือมีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด แต่ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุอะไร ระบบต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องเตรียมระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมขึ้นได้ เมื่อรวมโปรแกรมที่เพิ่มเติมเข้ามาในระบบแล้ว ส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องแก้ไขตามไปด้วย ดังนั้น การบำรุงรักษาระบบเป็นขั้นตอนในการปรับปรุงทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้เรียบร้อยแล้ว และพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด การบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบ แบ่งออกได้ดังนี้
1.แก้ไขความผิดพลาดของโปรแกรมที่ได้ทำการเขียนขึ้น เนื่องจากในการทดสอบโปรแกรมอาจจะยังทำได้ไม่สมบูรณ์เพียงพอ ไม่ครบทุกจุดที่จะต้องทำการตรวจสอบสาเหตุที่เกิดเหตุการณ์นี้เนื่องมาจาก
1.1 ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นการทดสอบไม่ครอบคลุมทุกเงื่อนไขของปัญหา
1.2 ปัจจัยต่างๆ ในขณะทดสอบโปรแกรมไม่เหมือนกับขณะปฏิบัติงานจริง
1.3 ตัวโปรแกรมเองมีข้อผิดพลาดหรือจุดปิดพลาด
1.4 เกิดจากสิ่งที่ไม่คาดคิดหรือไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ในขณะที่ทำการออกแบบและพัฒนา
2.การปรับปรุงระบบหรือโปรแกรม ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของระบบ เช่น
2.1 การปรับ Job Control Language ให้เหมาะสมกับลักษณะของฮาร์ดแวร์
2.2 การปรับเปลี่ยนชนิดของเครื่อง อาจมีผลทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงโปรแกรมให้เข้ากับเครื่องรุ่นใหม่
2.3 เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตาม
การปรับปรุงในด้านเวลาการทำงานของระบบ
การปรับปรุงเวลาทำงานของระบบ เช่น การปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อรวมโปรแกรมแล้ว จะต้องทดสอบอีกครั้งว่า ระบบทำงานต่อไปนี้ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ โดยทำการทดสอบดังนี้
1.ทดสอบการทำงานตามหน้าที่ (Functional Testing) เป็นการทดสอบว่าโมดูลทำงานตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ เช่น โมดูลแยกสถานะใบทวงหนี้จะต้องแยกสถานะได้ถูกต้องตามเงื่อนไขในโปรแกรม เป็นต้น
2.ทดสอบการกู้ข้อมูล (Recovery Testing) เป็นการทดสอบว่าระบบสามารถดึงข้อมูลทั้งเก่าและใหม่กลับคืนมาได้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ไฟล์ระหว่างที่ใช้โปรแกรมอยู่ การทดสอบนี้สำคัญมากสำหรับระบบ
On-line ใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น
3.ทดสอบสมรรถภาพ (Performance Testing) เป็นการทดสอบว่าระบบสามารถทำงานและให้คำตอบในเวลาที่รวดเร็วตามที่ออกแบบไว้
การบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่จะต้องทำตลอดอายุการใช้งานของระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้คิดหาวิธีการที่จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบที่เกิดขึ้น
นางสาวเฉลิมขวัญ ส่งศรีจันทร์ ( ขวัญ )
ข้อมูลที่สำคัญในการปรับปรุงระบบ จะมาจากผู้ใช้ระบบ เพราะผู้ใช้จะทราบถึงปัญหา และสามารถบอกความต้องการได้
ตอบลบนายพิเชฐ โพธิ์สุวรรณ (BigM)
การบำรุงรักษาระบบ และการปรับปรุงระบบควรมีการศึกษาและเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดี มาใช้ในการปรับปรุง หรือ พัฒนาต่อไป
ตอบลบการปรับปรุงระบบนั้น เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก ซึ่งเป็นการปรับปรุงหรือแก้ไขระบบให้รองรับกับความต้องการใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ระบบหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบนั่นเอง
ตอบลบรัตน์ชนันท์ ถาวรศักดิ์สุธี (โบว์ลิ่ง)
การบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบ ถือว่าเป็นอีกขั้นตอนใน SDLC ซึ่งเป็นขั้นตอนที่คิดว่ามีค่าใช้จ่ายมากที่สุดในกระบวนการพัฒนา เนื่องจากว่าจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบสามารถการใช้งานของระบบ ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ แล้วจะต้องมีการพัฒนาต่อไปหาระบบนั้นยังไม่ตรงต่อการใช้งานค่า
ตอบลบน.ส.สุวดี แจ้งจิตร (เฟิร์น)
การบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบงานที่ดี จะทำให้แก้ไข้ข้อผิดพลาดของระบบงานเดิมให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตอบลบนาย ต้น เหรียญรุ่งเรือง (ต้น)
การบำรุงรักษาระบบเป็นเหมือนการพัฒนาระบบให้มีความใหม่มากขึ้น เพื่อที่จะตอยสนองความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบัน
ตอบลบนางสาวอริญญา ปิ่นแก้วกาญจน์ (ปอย)