ลักษณะการออกแบบและวางระบบงานที่ดี
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงผลลัพธ์ของระบบงานว่า ระบบงานที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมานั้นเป็นระบบงานที่ดีเพียงใด นักวิเคราะห์ระบบทุกคนคงไม่ต้องการเห็นผลงานของตนที่ทำขึ้นมาแล้วใช้ไม่ได้ ผู้ที่จะทำการตัดสิน ก็คือ ผู้ใช้ระบบที่นั่นเอง
1. การบรรลุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ใช้ หมาย ถึง ระบบงานได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้แก้ไปปัญหาได้อย่างถูกจุด และได้ตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจหรือผู้ใช้ระบบอย่างแท้จริง
2. การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม หมายถึง เงินที่ใช้ไปในการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบงาน และใช้กำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งสามารถคำนวณได้จากวิธีการหาสัดส่วนของอัตราผลตอบแทนของระบบต่อต้นทุนที่ ใช้ในการพัฒนาระบบนั้น ๆ
3. การหลีกเลี่ยงความซับซ้อน หมายถึง ระบบงานที่ได้ออกแบบขั้นนั้นไม่ควรจะทำให้มีความซับซ้อนมากนัก เพราะการออกแบบระบบงานที่ซับซ้อนมากไม่ได้หมายความว่านักวิเคราะห์ระบบนั้น เก่งแต่อย่างไร ตรงกันข้ามนักวิเคราะห์ระบบที่เก่งจริงจะต้องทำระบบงานที่ซับซ้อนยุ่งยากให้ ดูง่ายและเป็นธรรมชาติหรือธรรมดามากที่สุด การทำเช่นนี้จะทำให้ระบบงานสามารถที่จะบำรุงรักษาหรือแก้ไขดัดแปลงได้ง่าย ซึ่งจะสงผลดีต่อไปในอนาคต
4. ระบบงานมีมาตรฐานเดียวกัน หมายถึง การแกแบบระบบงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การรับรู้ผ่านทางคีย์บอร์ดและจอภาพ หรือประเภทรายงานต่างๆ จะมีลักษณะที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือพยายามให้เหมือนกันมากที่สุด การทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ใช้ระบบเกิดความคุ้นเคยต่อระบบงานทั้งหมดได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยให้การเรียนรู้ระบบเป็นไปได้สะดวกหากระบบงานที่ได้ออกแบบไม่มี มาตรฐาน จะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากทั้งผู้ใช้ระบบและนักวิเคราะห์ระบบด้วย
5. ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของระบบ หมายถึง ระบบงานที่ถูกพัฒนาขึ้นจะต้องได้รับทดสอบอย่างดี รวมทั้งมีการควบคุมภายในอย่างดีเพื่อป้องกันการผิดพลาดของข้อมูลที่อาจเกิด จากการป้อนเข้ามาในระบบหรือเกิดจากการประมวลผลของระบบ ข้อมูลที่ผิดพลาดจะต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อให้ระบบปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างถูกต้อง
6. ความยืดหยุ่นของระบบ หมายถึง ความสามารถที่จะพัฒนาระบบต่อไปได้ในอนาคต ระบบงานที่มีความยืดหยุ่นดีมักจะสามารถทำการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงได้ ง่ายและสามารถที่จะรองรับการขยายงานหรือการเติบโตได้เป็นอย่างดี เมื่อระบบได้ดำเนินมาถึงจุด ๆ หนึ่ง ระบบนั้นอาจจะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อรองรับความต้องการใหม่ที่เกิดขึ้น หากระบบนั้นมีความยืดหยุ่นดี การแก้ไขก็สามารถทำได้โดยง่าย โดยไม่จำเป็นจะต้องรื้อระบบออกมาใหม่ทั้งหมด
7. ระบบงานได้ถึงเอาข้อดีจากอดีตมารวมไว้ หมายถึง ระบบงานใหม่ได้รวบรวมเอาแนวทางการปฏิบัติงานของระบบงานเดิมที่ดีและมี ประสิทธิภาพมาไว้อยู่ในตัว ในขณะเดียวกันกับการตัดแนวทางที่ดีที่เกิดกับระบบเดิมออกจากระบบใหม่
8. ระบบงานให้ผลลัพธ์ที่เข้าใจได้ต่อผู้ใช้ระบบ หมายถึง ระบบงานได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้แก้ปัญหาบางประการให้กับ ผู้ใช้ระบบ ผลลัพธ์ที่ออกจากระบบจะต้องเป็นผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ ระบบงานที่ดีจะต้องให้ผลลัพธ์ที่เข้าใจได้ง่าย เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ และต้องเป็นรายงานที่เข้าใจง่ายมีความเหมาะสม
การที่จะทำระบบงานที่ดีออกมาได้ ต้องมีการวางแผนที่ดี ซึ่งต้องคลอบคลุมและชัดเจนในทุกประเด็นที่ผู้เขียนหรือพัฒนาระบบต้องการ เพื่อให้ระบบออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบได้เป็นอย่างดี
ตอบลบBy : กันต์ อึงรัตนากร (กัน)
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงผลลัพธ์ของระบบงานว่า ระบบงานที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมานั้นเป็นระบบงานที่ดีเพียงใด นักวิเคราะห์ระบบจึงจำเป็นต้องรู้จักวางแผนระบบงานที่ดี เพื่อให้ระบบงานนั้นตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ ระบบงานที่ดีจะต้องให้ผลลัพธ์ที่เข้าใจได้ง่าย เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ และต้องเป็นรายงานที่เข้าใจง่ายมีความเหมาะสม
ตอบลบby ชุติมน ศิริศรชัย (ก้อย)
แม้ทุกข้อที่กล่าวมาจะเป็นลักษณะการออกแบบและวางระบบงานที่ดี
ตอบลบแต่ข้าพเจ้าคิดว่า ข้อ 1.การบรรลุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ใช้ และข้อ 8.ระบบงานให้ผลลัพธ์ที่เข้าใจได้ต่อผู้ใช้ระบบ เป็นลักษณะที่สำคัญของการวางแผนและออกแบบระบบที่จะสามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างดีที่สุด
นายนฤพนธ์ วุฒิภาพภิญโญ(nIx)
ลักษณะการออกแบบและวางระบบงานที่ดีบรรลุวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เพราะผู้ใช้เป็นผู้ใช้งานจริงจากระบบ เพื่อให้งานของเขาบรรลุเป้าหมาย หากวางระบบงานไม่ดี งานก็จะเสียหาย ดังนั้นผู้ทำระบบต้องคำนึงถึงผู้ใช้งานแล้วนำข้อเสียมาปรับปรุงตามหลักการใช้งานของผู้ใช้ระบบ
ตอบลบนางสาวศกุนตรา โชติเทียน รหัสนักศึกษา 51040877
บทความนี้ น่าจะหยิบยกมาคุยกัน ในเรื่องของ ลักษณะการออกแบบและวางระบบงานที่ดี น่าจะหยิบมาเป็นประเด็นในการพูดคุยในห้องนะคะ
ตอบลบการที่เราจะออกแบบระบบให้ดีควรคำนึงถึงการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลักว่าเขาต้องการอะไรบ้าง เราถึงจะออกแบบระบบได้
ตอบลบวรพร ไตรศรัทธ์(แตงโม)