วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วงจรการพัฒนาระบบ

วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle :SDLC)
ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอน ที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้น ด้วยกัน คือ

1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
3. วิเคราะห์ (Analysis)
4. ออกแบบ (Design)
5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)
6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)
7. บำรุงรักษา (Maintenance)


สนใจติดต่อบทความตามลิงค์เลยค้าบ


http://www.bcoms.net/system_analysis/lesson3.asp


ข้อ 3.2 นะ

อิชช์กันต์ มานะวงศ์เจริญ (กิด)

3 ความคิดเห็น:

  1. ที่อ่านเจอมานะมีอีกแนวคิดในการพัฒนาระบบ
    คือ วิธีพัฒนาระบบแบบรวดเร็ว (rapid application development - RAD) แนวคิดนี้ยังคงใช้หลักการของวงจรพัฒนาระบบ ซึ่งเค้าบอกว่าองค์การสมัยใหม่มักใช้วิธีการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาสั้น และมีลักษณะที่ไม่เป็นทางการมากนัก โดยนำวิธีการต่าง ๆ มาปรับใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อด้อย วิธีการพัฒนาระบบแบบรวดเร็วสามารถลดขั้นตอนของวงจรพัฒนาระบบจาก 7 ขั้นตอน เหลือแค่เพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น .

    ศิริมา กุลอุดมทรัพย์ (note) :D *

    ตอบลบ
  2. วงจรการพัฒนาระบบ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาระบบ และยังเป็นโจทย์ให้แก่ตัวนักพัฒนาว่ามีความเข้าใจระบบอย่างถ่องแท้หรือยัง ซึ่งนักพัฒนาระบบต้องมีความรู้ในระบบนั้นๆอย่างละเอียดก่อนถึงจะสามารถพัฒนาระบบออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    By กันต์ อึงรัตนากร (กัน)

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณ กัน ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมา

    สิ่งแรกที่นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จะต้องมีคือ ความเข้าใจในระบบนั้น นั้น อย่างแท้จริง ... วิธีการที่จะทำให้เราเข้าใจระบบอยางแท้จริง.. จะต้องทำอย่างไร ... ใครอยากรู้บ้าง

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น