ในปัจจุบัน คำว่า "โปรโตไทป์" ได้ถูกใช้ในหลายๆ ความหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ในสภาวะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การทำโปรโตไทป์สามารถจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยด้วยกันอยู่ กลุ่ม ดังนี้
1.ตัวต้นแบบชนิดปะติดปะต่อ (Patched-Up Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่สร้างขึ้นทีละส่วนแล้วนำมาปะติดปะต่อกัน คล้ายการนำขนมปังมาซ้อนชั้นกัน เช่น การสร้างวงจรรวม เป็นต้น ในลักษณะของระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่มีคุณสมบัติที่จำเป็นในการทำงานทั้งหมด แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นภาพรวมทั้งระบบว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถ นำแต่ละส่วนมาใช้งานได้จริง
รูปที่ 1 แสดงรูปตัวต้นแบบชนิดปะติดปะต่อ (Patched-Up Prototype)
2.ตัวต้นแบบที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง (Nonoperational Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบผลกระทบบางอย่าง เช่น การสร้างตัวต้นแบบรถยนต์เพื่อทดสอบแรงลมในอุโมงค์ ซึ่งใช้รถที่มีรูปแบบและอุปกรณ์ที่สามารถทดสอบได้ แต่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ การสร้างตัวต้นแบบนี้จะทำการเขียนรหัสโปรแกรมให้ผู้ใช้เห็นเพียงส่วนของอินพุทและเอาต์พุทเท่านั้น อาจจะยังไม่มีส่วนของการประมวลผล นั่นคือ จะไม่มีส่วนของ PROCESS ดังรูป
รูปที่ 2 แสดงรูปตัวต้นแบบไม่สามารถปฏิบัติได้จริง (Nonoperational Prototype)
3.ตัวต้นแบบที่ใช้ได้เพียงส่วนเดียว (First-Of-A-Series Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่เป็นเหมือนตัวต้นแบบนำร่องให้ผู้ใช้ได้ใช้ในส่วนหนึ่งให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ ก่อนที่จะใช้ระบบจริงเต็มรูปแบบเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด ตัวอย่าง ในบริษัทหนึ่งมีหลายเครือข่ายได้จัดทำระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อใช้ในการเช็คสินค้าที่สั่งซื้อ เขาจะใช้ตัวต้นแบบเพื่อ ทดสอบก่อนใช้งานจริงในทุกบริษัทเครือข่าย โดยทดลองใช้เพียงบริษัทหนึ่งก่อน เป็นต้น หรือการวางตู้ฝาก-ถอน ไว้บางจุด เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งาน ซึ่งจะมีรูแบบดังนี้
รูปที่ 3 แสดงรูปตัวต้นแบบที่ใช้เพียงส่วนเดียว
4.ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Select Features Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่ใช้ 3 แบบแรกมารวมกัน ในการเลือกใช้รูปแบบ โดยอาจสร้างต้นแบบในการปฏิบัติงานบางส่วนแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการช่วยให้สร้างระบบในส่วนที่ซับซ้อนง่ายขึ้น อย่างในกรณีที่สร้างระบบโดยในระบบนั้นมีเมนูซึ่งประกอบกันด้วยหลายรายการ เช่น 5 รายการ คือ การเพิ่มรายการ การลบรายการ การแก้ไขรายการ การค้นหารายการ การพิมพ์รายการ ซึ่งเราอาจให้ผู้ใช้ได้ใช้เพียง 3 ส่วนก่อน คือ รายการเพิ่มรายการ การลบรายการ การแก้ไขรายการ หรือร้านขายสินค้าในปั๊มน้ำมัน ลูกค้าสามารถจอดรถ ทานอาหารจานด่วนได้ และซื้อสินค้าบางรายการได้ เป็นต้น แล้วค่อยพัฒนาระบบไปเรื่อยในระหว่างมีการทดสอบใช้ตัวต้นแบบ
รูปที่ 4 แสดงรูปตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Selected Features Prototype)
8.3 แนวทางในการพัฒนาโปรโตไทป์ แบบตัดสินใจแน่วแน่ที่จะรวมการทำโปรโตไทป์เข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงานและโครงการ (SDLC) ในขั้นตอนของการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบแล้ว นักวิเคราะห์ระบบก็ควรจะศึกษาถึงขั้นตอนของการพัฒนาโปรโตไทป์ ซึ่งมีด้วยกัน 4 ขั้นตอน และแต่ละขั้นตอน ก็ต้องทำต่อเนื่องกันไป ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 แยกระบบงานใหญ่ให้เป็นระบบงานย่อย
เป็นการยากที่นักวิเคราะห์ระบบจะทำโปรโตไทป์สำหรับระบบขึ้นมาในครั้งเดียว ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงต้อง แยกส่วนของระบบงารที่เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องทำโปรโตไทป์เป็นส่วน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและวิเคราะห์
ขั้นตอนที่ 2 สร้างโปรโตไทป์ให้เสร็จเร็วที่สุด
ในการพัฒนาระบบงาน มักจะเกิดช่องว่างของระยะเวลาระหว่างการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบและการติด ตั้งระบบงานใหม่ที่ได้พัฒนาจนสำเร็จแล้ว ซึ่งช่องว่างนี่เอง มักไม่ค่อยมีใครคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้ระบบที่ อาจเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา การที่จะทำโพรโตไทป์ให้เร็วที่สุด นักวิเคราะห์อาจจะใช้เครื่องมือพิเศษ (special tools) เช่นCASE (Computer Adided System Engineering ) ภาษายุคที่ 4 (Fourth Generation Languages/4GL)ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management SYAtem/DBMS) หรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสร้างอินพุตและเอ้าท์พุตหรือ Application Generators เพื่อให้ผู้ใช้ระบบได้เห็นภาพจำลองของระบบงานจริง
ขั้นตอนที่ 3 ต้องมีความยืดหยุ่นในการทำโปรโตไทป์
ความยืดหยุ่นในที่นี้หมายถึง การทำโปรโตไทป์ให้มีลักษณะที่จะสามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไม่ใช่ทำในลักษณะตายตัวจะแก้ไขอะไรต้องทำใหม่หมด และก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่จะต้องแก้ไขใหม่ทั้งหมดที่ผู้ใช้ระบบคนใดคนหนึ่ง ท้วงติงขึ้นมา การแก้ไขที่เกิดขึ้นควรจะช่วยให้ระบบงานเข้าใกล้ความต้องการของผู้ใช้ระบบมากที่สุด
ขั้นตอนที่4 การดึงผู้ใช้ระบบเข้าร่วมเพื่อแสดงความคิดเห็น
ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากการจัดทำโพรโตไทป์มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้การดีไซน์และพัฒนาระบบเป็นไป ตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ หากผู้ใช้ระบบเห็นว่ายังมีบางส่วนที่ไม่เหมาะสม นักวิเคราะห์ระบบควรแก้ไขโปรโตไทป์ให้ผู้ใช้ระบบได้พิจารณาอีกครั้งว่าเป็นไปตามความต้องการหรือไม่
บทบาทของผู้ระบบที่มีต่อการทำโปรโตไทป์
บทบาทของผู้ใช้ระบบในการที่จะช่วยเหลือนักวิเคราะห์ในเรื่องของโพรโตไทป์มีอยู่ด้วยกัน 3 ทางคือ
1.ทดลองโปรโตไทป์
ในการทดลองใช้โพรโตไทป์ คำแนะนำถึงวิธีใช้งานจะน้อยมาก โดยนักวิเคราะห์ระบบจะปล่อยให้ผู้ใช้ระบบทดลองใช้โปรโตไทป์ด้วยตัวเอง ในการศึกษาถึงปฏิกิริยาของผู้ใช้ที่มีต่อโปรโตไทป์ นักวิเคราะห์จะได้อะไรดีๆ หลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากแนวความคิดของผู้ใช้ระบบ ควรจัดทำเป็นบันทึกและสำเนาให้กับทีมงาน เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงข้อมูลและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา
2.แสดงทัศนะคติต่อการทำโปรโตไทป์
ในส่วนนี้ เป็นการยากที่จะทำให้ผู้ใช้ระบบแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่แท้จริงเพราะกลัวว่าจะไปกระทบต่อนักวิเคราะห์ระบบ ซึ่งสิ่งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง และการวางตัวของนักวิเคราะห์ระบบ ว่าจะทำให้ผู้ใช้ระบบไว้วางใจตนเอง ได้มากน้อยอย่างไร
3.ให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไขโปรโตไทป์
หากผู้ใช้ระบบคิดว่าควรเพิ่มเติมหรือตัดออกสำหรับบางขั้นตอนของระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบควรแสดงความเต็มใจที่จะระบบฟัง ความคิดเห็นและคำแนะนำนั้น ๆ พร้อมกับสอบถามถึงสาเหตุและความต้องการของผู้ใช้ระบบ
นางสาวเฉลิมขวัญ ส่งศรีจันทร์ ( ขวัญ )
เราควรจะดูระบบงานของเราก่อนที่จะนำตัวต้นแบบและแนวทางในการพัฒนาของแต่ละโปรโตไทป์มาใช้ เพราะตัวต้นแบบแต่ละตัวใช้สำหรับระบบแต่ละระบบงานไม่เหมือนกัน
ตอบลบ