วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

CMM: Capability Maturity Model : เครื่องมือวัดระดับวุฒิภาวะ

CMM: Capability Maturity Model : เครื่องมือวัดระดับวุฒิภาวะ

CMM คืออะไร

  • การทำกระบวนการตัดสินใจและหลักการปรับปรุงคุณภาพมาใช้กับการพัฒนาและบำรุงรักษา software
  • เป็นแนวทางสำหรับให้บริษัท software ใช้
  • เป็นแบบจำลองสำหรับปรับปรุงองค์กร
  • เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับใช้ประเมินการทำงานของบริษัท software ได้อย่างมั่นใจ
  • เป็นแบบจำลองสำหรับวัดว่าหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนา software มีความสามารถและได้บรรลุวุฒิภาวะในการทำงานมากน้อยเพียงใด
  • ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของตัวเองเป็นหลัก แต่สามารถใช้สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่นได้
  • พัฒนาและเผยแพร่โดย software Engg Institute CMM ไม่ได้ครอบคลุมอะไรบ้าง
  • CMM ไม่ได้ครอบคลุมอะไรบ้าง
    • CMM ไม่ได้ครอบคลุมถึงประเด็นทั้งหมดทางกระบวนการ software และปรับปรุงคุณภาพ
    • ประเด็นที่เกี่ยวข้องบางส่วน/โดยอ้อม คือ
      • เครื่องมือ วิธีการ และเทคโนโลยี
      • ทีมงานและกระบวนการทำงาน
      • วิศวกรรมระบบและการตลาด
      • ทรัพยากรมนุษย์
      • พฤติกรรมขององค์กร

    Capability & Performance

    • Process Capability เป็นพิสัยของผลลัพธ์ที่ต้องการและทำได้โดยให้กระบวนการที่กำหนดขึ้นในระดับองค์การ และเป็นดัชนีสำหรับคาดคะเนผลการดำเนินงานโครงการในอนาคต
    • Process Performance เป็นการวัดผลลัพธ์จริงๆ ที่ได้จากการดำเนินงานตามกระบวนการที่กำหนด ปกติมักหมายถึงโครงการหนึ่งๆ ในองค์การ

    ระดับวุฒิภาวะ(CMM) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ

    1. Initial ไม่สามารถคาดคะเนกระบวนการได้และการทำงานยังไม่มีการควบคุมที่ดี

    2. Repeatable โครงการสามารถทำซ้ำภารกิจที่มีการควบคุมอย่างดี

    3. Defined สามารถจำแนกกระบวนการให้เข้าใจได้ง่าย

    4. Managed สามารถวัดผลและควบคุมกระบวนการ software ได้

    5. Optimizing เน้นในด้านการปรับปรุงกระบวนการ Optimizing Managed Defined Repeatable Initial

    สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://members.fortunecity.com/jutatit/computer/cmm.htm

    น.ส.วรพร ไตรศรัทธ์ (แตงโม)

2 ความคิดเห็น:

  1. CMM: Capability Maturity Model
    เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจในการพัฒนา

    กัญจน์ ชาญสิทธิโชค (กัน) ^ ^

    ตอบลบ
  2. CMM จะช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมคุณภาพในการพัฒนาและดูแลรักษาซอฟท์แวร์ และทำให้การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร์นั้นสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดความยุ่งยากและปัญหาในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีความก้าวหน้าด้านกิจการ รวมไปถึงจะยังช่วยประหยัดทรัพยากรด้านต่างๆขององค์กรอีกด้วย

    รัตน์ชนันท์ ถาวรศักดิ์สุธี (โบว์ลิ่ง)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น