วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การติดตั้งระบบ

การวิเคราะห์และการอกแบบระบบ ซึ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ที่มีความสำคัญมากในการที่ระบบจะได้รับการพัฒนาเป็นระบบใหม่หรือไม่ สำหรับขั้นตอนหลังจากผ่านการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาแล้ว คือ การติดตั้งระบบที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่การวางแผน การติดตั้งระบบใหม่ที่ได้ทำการพัฒนามาแล้ว ซึ่งจำได้ศึกษากันในบทนี้

1.ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง จะต้องทำการวางแผนให้ครอบคลุมถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จะติดตั้งทั้งหมดที่ต้องใช้ ไม่ใช่เฉพาะการติดตั้งโปรแกรมของระบบงานใหม่เท่านั้น แต่รวมถึงการติดตั้งฐานข้อมูลและแฟ้มข้อมูลที่จำเป็นและซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ต้องการใช้ร่วมกันด้วย
การติดตั้งซอฟต์แวร์จึงมีระดับตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับซับซ้อน เช่น ระบบสำหรับผู้ใช้คนเดียว (Sigel User) แบบง่ายไปจนถึงระบบที่ซับซ้อน ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทั้งทางระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้เชื่อมกับระบบใหม่ ไปจนถึงการติดตั้งระบบให้ใช้ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างออกไปซึงมีความแตกต่างกันของคุณสมบัติของเครื่อง ทำให้การวางแผนการติดตั้งระบบงานต้องมรการพิจารณารอย่างรอบคอบ และทำรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
ในส่วนของการติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งจะต้องสนใจว่าซอฟต์แวร์อะไรที่จะจะติดตั้งให้กับผู้ใช้และจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การติดตั้งสำเร็จลงได้ นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องคำนึงว่า อะไรบ้างที่จะต้องนำไปทำการติดตั้ง และแผนงาการตั้งระบบนี้จะต้องทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย และกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับทีมงาน และร่วมกันประชุมกันก่อนอีกครั้งก่อนที่จะนำเอาแผนงานที่ได้วางเอาไว้ทำการติดตั้งปฏิบัติจริง
2.วิธีการติดตั้ง เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี่หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่ วิธีการติดตั้งที่นิยมใช้อยู่มีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี คือ

    1. การติดตั้งแบบทันทีโดยตรง ( direct Changeover)
    2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
    3. การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased or Gradual conversation)
    4. การติดตั้งแบบโมดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
    5. การติดตั้งแบบกระจาย (Distributed conversation)

3.ผลกระทบที่ที่มีต่อองค์กร สิ่งสุดท้ายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องคำนึงถึง คือ ผลกระทบของระบบงานใหม่ที่ทีต่อธุรกิจหรือองค์กร เพราะการติดตั้งระบบงานให้เข้าไปในองค์กรย่อมก้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและผู้ใช้ระบบไม่มากก็น้อย จึงต้องมีการชี้แจงให้ทราบถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปและผลกระทบต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกสับสนในช่วงแรกของการใช้ระบบงานใหม่นั้นให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้นในทุกขั้นต้อนของการวิเคราะห์และออกแบบระบบจึงมักดึงเอาผู้ใช้ระบบเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอยู่ตลอดเลา และในการติดตั้งระบบ ผู้ใช้ยังคงมีส่วนร่วมซึ่งมีความสำคัญต่อการที่ระบบงานใหม่จะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ ผู้ใช้ระบบจะช่วยนักวิเคราะห์ระบบได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างแฟ้มข้อมูล การบันทึกข้อมูลย้อนหลัง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น การให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเจ้าของระบบงานใหม่นี้ด้วย

ข้อดีในการวิเคราะห์ต้นทุนระบบ

  1. การวางแผนการวิเคราะห์ต้นทุน เป็นผลลัพธ์ที่มีรากฐานอยู่บนการวิเคราะห์ต้นทุนของโอกาสในการใช้ทรัพยากรไปในจุดประสงค์หนึ่ง ๆ มากกว่าอีกจุดประสงค์หนึ่ง

2. การวางแผนการวิเคราะห์ต้นทุน เป็นสิ่งที่มีรากฐานอยู่บน Cash Flow ที่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องใช้สำหรับ Project หนึ่ง ๆ และต้องใช้จำนวนเงินนั้น ๆ ต่อจากนั้นก็สามารถที่จะวางงบประมาณและจัดเตรียมจำนวนเงินไว้เพื่อใช้จ่ายเมื่อถึงกำหนดเวลา

ระยะเวลาคืนทุน
มาตรฐานโดยทั่วไปที่ใช้กันบ่อย ๆ ให้พิจารณาความสามรถในการทำกำไรของระบบหรือจะเรียกว่า Payback Period ตัวอย่างเช่น ระบบที่ทำการวิเคราะห์และออกแบบใหม่นี้มีมูลค่าต้นทุน 900,000 บาท และองค์การจะมีรายได้เข้ามาประมาณปีละ 300,000 บาท เวลายืนทุนจะเท่ากับ 3 ปี (900,000 / 300,00 = 3 )

การเปรียบเทียบระบบเดิมกับระบบใหม่
ผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบ ต้นทุนของระบบเดิมกับระบบใหม่นั้นอาจเป็นผลลัพธ์อันเดียวที่สำคัญที่สุดในการเปรียบเทียบต้นทุน การเปรียบเทียบขั้นพื้นฐานหนึ่งต่อหนึ่งของค่าใช้จ่ายในขณะนี้กับในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ขั้นตอนการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในทางเศรษฐกิจของระบบเดิมและระบบใหม่คือ

  1. ประเมินค่าระบบใหม่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปของการเปรียบเทียบกันระหว่างระบบเดิมและระบบใหม่
  2. คำนวณหาค่าใช้จ่ายในการทำงานของระบบเดิม
  3. คำนวณหาค่าใช้จ่ายในการทำงานของระบบใหม่ ในกรณีนี้การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เที่ยงตรง สามารถจะเกิดได้ในระหว่างระบบเดิมและระบบใหม่
  4. เปรียบเทียบต้นทุนการปฏิบัติการของระบบเดิมและระบบใหม่ คำนวณค่าใช้จ่ายที่วางไว้ในการลงทุน รวมทั้งค่าติดตั้งระบบในแต่ละครั้งด้วย

ทรัพยากรและต้นทุน
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของทั้งระบบเดิมและระบบใหม่นั้น สามารถที่ประเมินจากเอกสารต่าง ๆ รายงานหรือสรุปผลต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดไว้ในช่วงเวลาของการศึกษาระบบ โดยทั่วไปจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ
  2. ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
  3. ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ

การทดสอบระบบ
มีจุดประสงค์โดยเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนนำไปใช้งานจริง ประกอบด้วยการทดสอบดังต่อไปนี้

  1. ทดสอบว่าโปรแกรมสามารถทำงานจริงได้ตามข้อกำหนดและตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่
  2. ทดสอบเจ้าหน้าที่ว่าพร้อมสำหรับระบบงานนั้นหรือไม่
  3. ทดสอบผู้ใช้งานระบบ (User) ว่าได้มีการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการใช้งานระบบหรือไม่
กัญจน์ ชาญสิทธิโชค (กัน)

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอให้ พวกเรา ประเมิน และแสดงความคิดเห็นว่า หาก เราเป็นนักวิเคราะห์ระบบ ปัญหาพิเศษของเรา จะ มีการติดตั้งระบบแบบใด เพราะเหตุใด

    ตอบลบ
  2. อย่างตัวอย่างงานสัมนาของกลุ่มนะค่ะ จะเป็นเรื่องของการใช้ระบบในคลินิกทันตกรรม ซึ่งการติดตั้งระบบควรจะเป็นแบบคู่ขนานค่ะ เนื่องจากว่า โดยทางการแพทย์แล้ว การใช้ระบบทั้งหมดคงไม่สามารถเป็นได้ในกรณีของคลินิกทันตกรรมเล็กๆ การตรวจรักษารวมถึงการลงบันทึกประวัติการรักษาของผู้ป่วย ทันตแพทย์ยังจำเป็นที่จะต้องใช้การเขียนอธิบายการรักษาของผู้ป่วยลงในบัตร OPD อยู่ดังนั้น หากเราเปลี่ยนระบบและมีการใช้งานระบบแบบโดยตรงทันที แน่นอนย่อมเกิดผลกระทบกับทางทันตแพทย์ค่ะ

    น.ส.สุวดี แจ้งจิตร (เฟิร์น)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น