วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับเอาต์พุต

เอาต์พุตที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจจะต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม โดยทั่วไปเอาต์พุตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจ (Internal Output) และเอาต์พุตที่ใช้ภายนอกธุรกิจ (External Output) เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจได้แก่ รายงานต่างๆ ที่ใช้ภายในแผนกหรือหน่วยงาน เช่น รายงานการขายประจำวัน รายงานสรุปผลการขายประจำเดือน หรือรายงานเวลาการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ส่วนเอาต์พุตที่ใช้ภายนอก ได้แก่ เอาต์พุตที่จะต้องถูกส่งออกไปยังบุคคลภายนอกธุรกิจ เช่น ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน แบบฟอร์มการเสียภาษีของสรรพากร เป็นต้น

วิธีการดีไซน์เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกอาจจะต้องแตกต่างกับเอาต์พุตที่ใช้ภายใน เช่น อาจจะต้องมีการอธิบายถึงความหมายของแต่ละช่องที่กรอกลงไปให้ละเอียดขึ้น การจัดรูปแบบอาจจะต้องกำหนดตามมาตรฐานสากลหรือตามที่กฎหมายบังคับไว้ เป็นต้น วิธีการดีไซน์เอาต์พุตมีส่วนสัมพันธ์กับรูปแบบของเอาต์พุตที่ออกมาอย่างมาก เช่น ประเทศไทย เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกหรือที่ธุรกิจจะต้องให้กับหน่วยงานราชการ ทั้งหมดยังคงอยู่ในรูปแบบที่จะต้องพิมพ์ลงกระดาษทั้งสิ้น ดังนั้นรูปแบบของเอาต์พุตที่ใช้ย่อมต้องเลือกวิธีการพิมพ์ลงเครื่องพิมพ์อย่างเดียว เป็นต้น ดังตารางต่อไปนี้ได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการใช้รูปแบบต่างๆ เพื่อออกเอาต์พุต

รูปแบบที่ใช้

ข้อดี

ข้อเสีย

เครื่องพิมพ์

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในธุรกิจมีความยืดหยุ่น และความสามารถในการรองรับข้อมูลใหญ่ๆ ได้ดี

มีความเชื่อถือได้สูง และตรวจสอบได้ง่าย

มักจะก่อให้เกิดเสียงรบกวน โดยเฉพาะเมื่อใช้กับ เครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยทั่วไปมักให้ผลลัพธ์ช้า และต้นทุนของเครื่องพิมพ์ค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันมีเครื่องพิมพ์แบบ Laser ซึ่งให้งานพิมพ์รวดเร็ว ไม่มีเสียงรบกวน

จอภาพ

เงียบและมีความสามารถที่จะทำงานแบบออนไลน์ และส่งผ่านเอาต์พุตไปในระบบเครือข่ายได้ดี สามารถที่จะใช้ความสามารถ ของคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่ในการ ที่จะเข้าถึงแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และบ่อยครั้งตามต้องการ

ยังคงต้องการระบบเดินสายที่ดี โดยเฉพาะในระบบเครือข่าย

ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ บางลักษณะ โดยเฉพาะเอาต์พุตที่ใช้ภายนอก ที่ยังคงต้องการให้มี การพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์อยู่ดี

เสียง

เหมาะสำหรับระบบงานที่ต้องการส่งข้อความที่จะส่งให้กับผู้ใช้ระบบ และให้ผู้ใช้ระบบตอบสนองหรือกระทำต่อระบบทันที

เหมาะสำหรับผู้ใช้ระบบที่ต้องการความอิสระของการใช้มือ (Hands Free) เพื่อการปฏิบัติงานอย่างอื่น

ในปัจจุบันเทคโนโลย ีทางด้านนี้ยังค่อนข้างแพงอยู่ดี

ระดับของเสียงอาจไปรบกวนคน อื่นที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

การใช้วิธีนี้ค่อนข้างจะจำกัดอยู่มาก ไม่ใช่สามารถใช้กันได้โดยทั่วไป

ไมโครฟอร์ม

ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บอย่างมาก มีความคงทนต่อการใช้งาน สามารถใช้ได้บ่อยครั้งและค้นหาข้อมูลได้สะดวก

ต้องการซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ การใช้ไมโครฟอร์มโดยเฉพาะ

ต้องการอุปกรณ์พิเศษอีกเช่นกัน หากต้องการสำเนา (Copy) ออกทางเครื่องพิมพ์

ค่าใช้จ่ายตอนตั้งต้นจะค่อนข้างสูง

นางสาวศกุนตรา โชติเทียน รหัสนักศึกษา 51040877

3 ความคิดเห็น:

  1. การที่จะให้เอาพุดนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นนั้น ต้องออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานของผู้ใช้งานด้วย สนองความต้องการของผู้ใช้งานจะดีที่สุด

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณ MANITA และเห็นด้วยกับการออกแบบระบบ จะต้องมีความสอดคล้องและตอบสนองตาอ ความต้องการของผู้ใช้งาน (User Requirements) มากที่สุด วันที่ 2 ก.ค. เราจะเรียนเรื่องของ User Requirement กันนะคะ

    ตอบลบ
  3. เห็นด้วยคะ เพราะคนที่จะต้องอยู่กับระบบตลอดไม่ใช่คนวิเคราะห์ แต่คือผู้ใช้งาน

    นัทธมน847(โดนัท)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น