วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอธิบายข้อมูล (Data Dictionary)

ในการเขียนแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram:DFD) เป็นการเขียนกระบวนการทำงานต่างๆ ในระบบงาน แต่รายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏในระบบงาน แผนภาพการไหลของข้อมูล(DFD) ไม่สามารถนำเสนอได้ทั้งหมด ดังนั้นในการวิเคราะห์และออกแบบระบบจึงต้องมีการเขียนคำอธิบายข้อมูล (Data Description) หรือพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด รายละเอียด คำอธิบายข้อมูลต่างๆ ในระบบงาน พจนานุกรมข้อมูลอาจแยกเขียนได้ดังต่อไปนี้

• พจนานุกรมโครงสร้างข้อมูล (Data Structure Dictionary)
• พจนานุกรมกระแสการไหลของข้อมูล (Data Flow Dictionary)
• พจนานุกรมแหล่งการเก็บข้อมูล (Data Store Dictionary)
• พจนานุกรมหน่วยงานภายนอกระบบ (External Entity Dictionary)

Data Structure Dictionary
พจนานุกรมโครงสร้างข้อมูลเป็นการเขียนคำอธิบายหรือราย ละเอียดของข้อมูลโครงสร้าง (Data Structure) ว่าประกอบไปด้วยข้อมูลย่อยหรือข้อมูลเดี่ยว(Data Element) อะไรบ้าง เพื่อความเข้าใจในระบบงานให้ชัดเจนมากขึ้น

สัญลักษณ์ที่ใช้ในพจนานุกรมโครงสร้างข้อมูล

ตัวอย่าง
สัญลักษณ์เท่ากับ
ใช้เขียนอธิบายว่าข้อมูลที่อยู่ทางซ้ายมือแยกย่อยลงได้เป็นข้อมูลย่อยๆ ทางขวามือ โดยมีเครื่องหมาย "+" หมายถึง"และ" ตัวอย่างเช่น
ที่อยู่ผู้ขาย = ถนน + จังหวัด + รหัสไปรษณีย์

สัญลักษณ์ [ ] หมายถึงให้เลือกหนึ่งจากตัวเลือกที่มีมากกว่าหนึ่ง เช่น
เกรด = [A B+ B C+ C D+ D E I]
* เกรดหมายถึงผลการเรียนในแต่ละวิชา *

สัญลักษณ์ { } การทำซ้ำสำหรับข้อมูลตัวหนึ่ง หรือกลุ่มของข้อมูลชุดหนึ่งนอกจากนั้นจะมีข้อความกำกับว่า "max" และ "min" หมายความว่าทำซ้ำจากจำนวนน้อยที่สุด (min) ไปถึงจำนวนมากที่สุด (max) ครั้ง ตัวอย่างเช่น
ใบสั่งซื้อ = ชื่อบริษัทที่ชื้อสินค้า + {ชื่อสินค้า+หน่วยสินค้า+จำนวน+ราคา}

Data Flow Dictionary
พจนานุกรม สำหรับการไหลของข้อมูลเป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดของข้อมูลที่ปรากฎในแต่ ละเส้นการไหลของข้อมูล (Data Flow) ในแผนภาพการไหลของข้อมูล เช่น




เครดิต : http://www.nayoktech.ac.th/~vwinwin/BC21_49/page8.html

นางสาวศุภญานี แต้มคุณ (มุก)

7 ความคิดเห็น:

  1. ในการจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบ ควรทราบข้อมูลรายละเอียด Data Description เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญ

    น.ส.ธิดารัตน์ เรืองแจ้ง ( กีต้าร์ )

    ตอบลบ
  2. รู้สึกเว็ปที่อาจารย์ให้ไว้ก็มีนะ อยู่บทที่ 6.1 อ่ะ
    http://www.nayoktech.ac.th/~vwinwin/BC21_49/page8.html

    ตอบลบ
  3. เป็นความรู้พื้นฐานที่ผู้ที่จะทำระบบบควรที่จะทราบ เพื่อทำให้การวิเคราะห์ระบบงานนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่น

    นางสาวธารทิพย์ โลหณุต (แพร)

    ตอบลบ
  4. Data Dictionary มีประโยชน์ในการเป็นเอกสารเพื่อการอ้างอิงสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การฝึกอบรมบุคลากร การพัฒนาระบบงาน และการบำรุงรักษาระบบงาน ลดความซ้ำซ้อน การรักษาความปลอดภัย การควบคุมการใช้งานพร้อมกัน การเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงของข้อมูล
    สามารถนำข้อมูลจากระบบงานต่าง ๆภายในองค์กรมาเชื่อมโยงและรวมเป็นฐานเดียวกันได้ และนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ รวมทั้งการทำ MIS

    นางสาวน้ำผึ้ง รักแดง (ลูกน้ำ)

    ตอบลบ
  5. Data Dictionary เป็นส่วนที่อธิบายงานของระบบให้ผู้อื่นได้เข้าใจระบบมากยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ต้องมีในคู่มือการใช้งานระบบหรือใช้อธิบายระบบ

    นางสาวเฉลิมขวัญ ส่งศรีจันทร์ (ขวัญ)

    ตอบลบ
  6. สำหรับภายในองค์กรพจนานุกรมข้อมูลจะเป็นตัวบอกคุณลักษณะของข้อมูลและเป็นตัวสำคัญสำหรับนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบ เพราะจะช่วยให้ทีมงานและผู้ใช้ระบบทุกคนพูดถึงข้อมูลตัวเดียวกัน เมื่อข้อมูลนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่ต่างกัน เช่นอยู่คนละแผนกแต่ใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น

    นนทกร ฉัตรวิไลรัตน์

    ตอบลบ
  7. เราว่า Data Dictionary เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดเก็บรายละเอียดของข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ เนื่องจากทุกฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล และยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ทำให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้โดยสะดวก เช่น ผู้ใช้อาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ ไว้ภายในหมวดรายการชื่อ “Report” เป็นต้น

    อุมาภรณ์ ชัยภักดี (ต้องตา)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น