โปรแกรมเมอร์ ( programmer ) หมายถึง บุคคลที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรม สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยงนั้น ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติ ( Operating System :OS ) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียน เช่น COBOL, BASIC และ C++ งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขตที่แน่นอน คือ โปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นนั้นถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ กิจกรรมงานของโปรแกรมจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น กับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันเอง หรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบให้แก่เขา
นักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SA (SYSTEM ANALYSIS) นั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลดิบที่จะป้อนเข้าระบบ งานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่เขาวางไม่ว่าผิดหรือถูก งานของเขาเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน คือ ผู้ใช้ วิธีการ เทคโนโลยี และอุปกรณ์ จนได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมออกมาเป็นระบบงาน (APPLICATION SYSTEM) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และกว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถ ใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน
๘๔๗นัทธมน
สำหรับโปรแกรมเมอร์จะเป็นการมองเฉพาะจุด มีขอบเขตการทำงานที่แน่นอน ส่วนนักวิเคราะห์ระบบ จะเป็นการมองภาพรวมของระบบ ซึ่งจะไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอน ทั้งโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบจึงมีความเหมือนที่แตกต่าง ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้
ตอบลบน.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ)
เพิ่มเติม บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบนะค่ะ
ตอบลบนักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัย 3 ประการ คือ คน ( people ) วิธีการ ( method ) และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ( computer technology ) ใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจ เมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล ( data ) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ ( business users ) นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงาน ในหน่วยงานต่างๆ และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองกลับทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ
น.ส.ศุภญานี เต้มคุณ (มุก)
โปรแกรมมเมอร์ก็เป็นคนที่สร้างโปรแกรมที่นักวิเคราะห์ได้วิเคราะห์ว่าระบบนี้ต้องใช้อะไรบ้าง นักโปรแกรมเมอร์ก็เพียงแค่สร้างระบบนี้ขึ้นมา แต่นักวิเคราะห์ต้องดูภาพรวมทั้งหมด ให้ระบบออกมาตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ตอบลบมานิตา (pick)
นักโปรแกรมเมอร์ (programmer) มือหนึ่งของโลกในอดีต คงต้องยกให้ “เอดา ไบรอน” ผู้ที่สามารถนำอัลกอริทึม มาเรียบเรียงเป็นชุดคำสั่งให้กับเครื่องคำนวณได้ในปี พ.ศ.2385 (ค.ศ. 1842) ในยุคที่ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันหากขยายความถึง อาชีพ “นักโปรแกรมเมอร์" (programmer) อย่างง่ายๆ อาชีพนี้คงหมายถึง ผู้มีหน้าที่การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนโค้ดได้สำหรับหลากหลายซอฟต์แวร์
ตอบลบน.ส.ธิดารัตน์ เรืองแจ้ง (กีต้าร์)
หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบมีดังนี้
ตอบลบ1. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านกำลังคน
2. กำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบงาน
3. ดำเนินการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบงาน
4. จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจในปัจจุบัน
5. พัฒนาระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อปัญหาให้แก่ธุรกิจ
6. วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมต่างๆ ของเทคโนโลยี การปฏิบัติการ และฐาน ทางเศรษฐกิจ
7. ทบทวนและยื่นข้อเสนอของระบบงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ
8. ดีไซน์และตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน
9. ดีไซน์แฟ้มหรือฐานข้อมูลและโครงสร้างต่างๆ ที่ใช้ในระบบ
10. ดีไซน์ลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบงานคอมพิวเตอร์ ( USERS) กับโปรแกรมเมอร์ ( PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่า
11. ดีไซน์วิธีการเก็บข้อมูลและเทคนิค
12. ดีไซน์ระบบรักษาความปลอดภัย และการควบคุมระบบ
13. ให้คำแนะนำทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย
14. วางแผนงานต่างๆ เพื่อให้ระบบได้พัฒนาขึ้นใหม่ถูกนำมาใช้แทนระบบเดิมโดยให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุด (CONVERSION PLANS)
นายธนชัย กะชามาศ(แบงค์)
แม้ทั้งสองอาชีพนี้จะมีความแแตกต่างกันทางด้านหน้าที่ความรับผิดชอบและความสามารถ แต่ทั้งนักโปรแกรมเมอร์และSA ก้อยังคงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน และทำให้งานออกมาดีมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานให้มากที่สุด ซึ่งก้อคงต้องเกิดจากการทำงานร่วมกันของทั้งสองอาชีพนี้อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ตอบลบนายนฤพนธ์ วุฒิภาพภิญโญ(นิกส์)
นักวิเคราะห์ระบบเปรียนเสมือนผู้บริหารซึ่งเป็นคนวางแผน และควบคุมการทำงานของลูกน้องและมีความรู้ในทุกๆด้าน แต่โปรแกรมเมอร์เปรียบเสมือนลูกน้องที่ต้องทำตามคำสั่ง มีความรู้เฉพาะด้าน คือ เทคโนโลยี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองอาชีพก็มีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
ตอบลบนางสาวกนกวรรณ ดาษเสถียร (แนน)
แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และ กว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถ ใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน
ตอบลบนางสาวจิตติมา ช้างน้อย (เชอร์รี่) ,, :D
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่
ตอบลบนักวิเคราะห์ระบบที่ดียังจะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2. มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4. ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอก
ที่เกี่ยวข้องกับระบบ
5. มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้
เกิดผลเสียแก่องค์กร
6. ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8. สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9. มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ
ตรงกัน
10. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11. สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12. เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่าง ถูกต้อง
By:ธารทิพย์ โลหณุต (แพร)