วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตัวแปลภาษา

ตัวแปลภาษา (Compiler หรือ Translating Software) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับใช้ในการแปลโปรแกรมทีเราเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและทำตามคำสั่งของผู้ใช้ได้ ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกันคือ
  1. Assembler โปรแกรมที่ใช้ภาษาแอสเซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อยๆจนจบโปรแกรม
  2.  
  3. Compiler โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งจะแปลทั้งโปรแกรมให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงจะปฏิบัติตามคำสั่งทีละคำสั่ง
  4.  
  5. Interpreter โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาเบสิก โดยจะแปลทีละคำสั่งและทำตามคำสั่งนั้น แล้วแปลต่อไปเรื่อยๆจนจบโปรแกรม
 

3 ความคิดเห็น:

  1. เพิ่มเติมนะคะ
    ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรม มีทั้งภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูง ภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาแอสแซมบลี ส่วนภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ได้แก่ ภาษาปาสคาล ภาษาซี เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรมภาษาซีจะต้องใช้โปรแกรมคอมไพเลอร์ในการแปลภาษาให้เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ตัวแปรภาษาซีที่ใช้งานง่าย ได้แก่ โปรแกรมเทอร์โบซี ในการเขียนโปรแกรมนั้นผู้พัฒนาโปรแกรมจะต้องออกแบบขั้นตอนการพัฒนาอย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมและแก้ไขโปรแกรมในภายหลัง ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมได้แก่ การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา การเขียนผังงานและซูโดโค้ด การเขียนโปรแกรม การทดลอง และการแก้ไขโปรแกรม การทำเอกสารประกอบ

    นางสาวน้ำผึ้ง รักแดง (ลูกน้ำ)

    ตอบลบ
  2. มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคดคะ ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้นโดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกันกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที

    นางสาวมานิตา พรมโสภา (pick)

    ตอบลบ
  3. จะมีใครทำCompilerภาษาไทยบ้างไหมนี่ ;)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น