ข้อดีของการทำโปรโตไทป์
1. นักวิเคราห์ระบบสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบได้ในระหว่างตอนต้น ๆ ของการพัฒนา
สิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบเสื่อมเสียไม่ได้เลยคือ โปรโตไทป์ที่นำมาใช้เป็นแม่แบบของระบบงานจริงนั้น จะสมบูรณ์ได้ขึ้นอยู่กับการอุทิศเวลาของผู้ใช้ระบบที่จะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่นำไปใช้ในการแก้ไขระบบงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงให้ได้ ดังนั้นความพยายามที่จะแก้ไขระบบงานตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ความพยายามที่จะแก้ไขระบบงานภายหลังจากที่ได้พัฒนาไปจนเสร็จสิ้นแล้ว
2. นักวิเคราะห์ระบบสามารถขจัดระบบที่ไม่จำเป็นออก
ในระหว่างการรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ หากผู้ใช้ระบบและนักวิเคราะห์ระบบเห็นว่า โปรโตไทป์ใดไม่เป็นที่ต้องการก็ สามารถยกเลิกได้แต่เนิ่น ๆ ผิดกับการพัฒนาระบบใดไปแล้ว เมื่อยกเลิกก้ค่อนข้างจะสิ้นเปลือง
3. นักวิเคราะห์ระบบสามารถดีไซน์ระบบให้เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ระบบมากขึ้น
การทำโพรโตไทป์เท่ากับเป็นการติดตามความต้องการของผู้ใช้ระบบอยู่ตลอดการพัฒนา ทำให้นักวิเคราะห์สามารถดีไซน์ระบบงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถดีไซน์ระบบงาน เผื่อไว้สำหรับการขยับขยายในอนาคตได้อีกด้วย
ข้อเสียของการทำโปรโตไทป์
1. ยากแก่การบริหารโครงการ
แม้ว่านักวิเคราะห์ระบบจะยอมรับว่าการแก้ไขโพรโตไทป์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบงาน อย่างไรก็ตามการแก้ไขโปรโตไทป์แบบไม่จำกัดก็คงจะก่อให้เกิดปัญหาต่อการบริหารโครงการ (Project management) ทั้งโครงการก็ได้
2. นักวิเคราะห์ระบบอาจเข้าใจผิดคิดว่าระบบงานสมบูรณ์แล้ว
ในบางครั้งหากผู้ใช้ระบบยอมรับโปรโตไทป์เป็นอย่างดี จะทำให้นักวิเคราะห์ระบบเข้าใจไขว้เขวว่าโปรโตไทป์นั้นสมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องทบทวนอะไรอีก และนำโปรโตไทป์นั้นไปเป็นแม่แบบในการดีไซน์ระบบงานจริง ในระยะเวลาไม่นานนัก ระบบงานที่มาติดตั้งจากแนวความคิดนี้อาจก่อให้เกิดความผิดหวังแก่หลายๆ ฝ่ายได้ เนื่องจากโปรโตไทป์ไม่ใช่ระบบที่ไม่ สมบูรณ์ แต่เป็นเพียงการนำเอาหน้าที่สำคัญบางประการมาให้ผู้ใช้ ระบบได้ทดลองดูเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ใช้ระบบยังไม่รู้ ไม่เห็น
นางสาวศกุนตรา โชติเทียน รหัสนักศึกษา 51040877
จำได้ว่า ในห้องเรียน อ.วอนชนกบอกว่า จริงๆแล้ว ระบบที่พวกเรากำลังออกแบบมันเป็นเพียงแค่โปรโตไทป์เอง ;]
ตอบลบแค่นี้ก็ยากแล้ว 55 5
นัทธมน847(โดนัท)