วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบคลังข้อมูล หรือ Data Ware-house

ระบบคลังข้อมูล หรือ Data Ware-house

ระบบคลังข้อมูล หรือ Data Ware-house คือ ระบบการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร (มักเป็นองค์กรขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ เช่น กรมสรรพสากร) โดยข้อมูลเหล่านั้นมักเป็นข้อมูลกระจัดกระจาย ให้มารวมไว้เป็นศูนย์กลางข้อมูล ขององค์กร และสามารถเก็บข้อมูลย้อนหลังได้หลายๆ ปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) หรือใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ โดยการวิเคราะห์ต้องทำได้แบบหลายมิติ (Multidimentsional Analysis) ตลอดจนการวิเคราะห์ทางธุรกิจ เช่น การพยากรณ์ (Forecasting), What-If Analysis, Data Mining เป็นต้น

องค์ประกอบสำคัญ

1. เครื่องมือในการดึงข้อมูล (Data Extract/Cleansing) จากแหล่งข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ระบบปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เพื่อจัดสร้างคลังข้อมูล
2. เครื่องมือในการเข้าไปเรียกค้นข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Front End Tool)
3. โครงสร้างของ Hardware Platform, Database, Networks, Implement Teams

สำหรับซอฟต์แวร์ระบบวิเคราะห์ข้อมูล ที่ใช้งานในปัจจุบัน เรียกว่า ซอฟต์แวร์ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบ On Line Analytical Processing (OLAP) ซึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือก OLAP ได้แก่

1. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายมิติ (Multidimensional Analysis)
2. สถาปัตยกรรมแบบ Client/Server
3. ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ (Performance Data Access)
4. เครื่องมือในการพัฒนาระบบ (Application Development Tools)
5. การดึงข้อมูล (transformation) จากแหล่งต่างๆ เช่น ระบบคลังข้อมูล, Flat File, Spreadsheet
6. ความสามารถในการจัดลำดับชั้นของข้อมูล (Hierarchy)
7. เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Forecasting, Statistic, Data Mining


ที่มา : http://nobunaka2524.wordpress.com/

อุมาภรณ์ ชัยภักดี (ต้องตา)

7 ความคิดเห็น:

  1. ปัจจุบัน DATA WAREHOUSE ถือว่ามีสำคัญและทุกๆองค์กรจำเป็นที่จะต้องมี เพราะสามารถเข้าช่วยในการรวบรวมข้อมูลได้จำนวนมากและจัดการข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึง การนำมาข้อมูลมาช่วยในการพยากรณ์ ตัดสินใจต่างๆ จะมีความแม่นยำมากขึ้น และช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆได้

    นางสาวน้ำผึ้ง รักแดง (ลูกน้ำ)

    ตอบลบ
  2. ระบบคลังข้อมูล หรือ Data Ware-house นะถือได้เป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะระบบงานนี้จะสามารถรวบรวมข้อมูลที่ซับซ้อนให้มีความง่ายต่อการจัดเก็บมากขึ้น และข้อมูลที่อยู่ในระบบคลังข้อมูลยังสามารถนำมาใข้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องอีกด้วย

    BY นางสาวพิชชานันท์ พินิจธนภาคย์ (เอ)

    ตอบลบ
  3. จากที่อ่านระบบคลังข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบขององค์กรเป็นการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ปรับปรุง ให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งการพัฒนาระบบจำเป็นต้องพิจารณาในหลาย ๆ ปัจจัย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการลงทุนและการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีของระบบ ทั้งฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ ที่จะนำมาใช้ ทีมพัฒนาที่ต้องมีความพร้อมรวมไปถึงความสำคัญของระบบคลังข้อมูลด้วย


    ศิริมา กุลอุดมทรัพย์ (note) :D *

    ตอบลบ
  4. ระบบคลังข้อมูล หรือ Data Ware-House เป็นระบบที่เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเก็บข้อมูลเยอะ โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ Data Ware-House จะเข้าไปช่วยในการจัดระบบแต่ละแผนกต่างๆให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการและถูกต้อง เพิ่มควาสะดวกรวดเร็วในการทำงาน

    By วรพร ไตรศรัทธ์ (แตงโม) ^^

    ตอบลบ
  5. Data Warehouse เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เก็บข้อมูลเยอะๆ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญมากในการนำมาวิเคราะห์พยากรณ์ต่างๆ บริษัทต่างๆก็ควรที่จะต้องเลือกขนาดฐานข้อมูลให้เหมาะสม


    ภาริณี วิจิตโรทัย (พลอย)

    ตอบลบ
  6. Data Warehouse เป็นฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลไว้จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่อาจจะเป็นข้อมูลที่หลากหลาย อาจจะตรงกับความต้องการใช้งานในแต่ละส่วนงาน ซึ่งหากผู้ที่ต้องการจะใช้งานข้อมูลใน Data Warehouse จะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลใ้ห้ตรงกับความต้องการใช้งานให้มากที่สุด

    น.ส.สุวดี แจ้งจิตร (เฟิร์น)

    ตอบลบ
  7. โดยปกติแล้ว ฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ๆ ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ๆ ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ๆ ที่ไม่จริงในปัจจุบัน

    นัทธมน 847

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น