วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Spiral Model

Spiral Model คือ Software Development Process ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเอาจุดแข็งของ Development Model อื่นที่ดีอยู่แล้วมาประยุกต์ (waterfall model) และเพิ่มเติมส่วนของการวิเคราะห์ และตีค่าความเสี่ยงที่เกิดเพื่อจะได้ทราบว่าจุดใดมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน จะได้หาวิธีลดความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้การพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ การวิเคราะห์หรือต้นเหตุของความเสี่ยง ก็เพื่อที่จะหาวิธีการที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด รวมถึงวิธีการแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ถ้าความเสี่ยงน้อยลง ก็ทำให้ Cost หรือ ต้นทุนที่ใช้ก็จะลดลงตามไปด้วย

Development Process ของ Spiral Model

ถูกพัฒนามากจากโครงสร้างพื้นฐานของ Waterfall Model ที่มีการแบ่งแยกขั้นตอน เช่น Concept Of Operation phase, Software Requirements phase, Design phase, Coding phase, Integration phase, Implement phase เป็นต้น เนื่องจากใน Waterfall model สามารถ ส่งผลลัพธ์ที่ได้ป้อมกลับไปยังขั้นตอนก่อนหน้านั้นโดยที่ไม่ต้องมีการแก้ไขทุกขั้นตอนใหม่หมด แต่ Waterfall Model ยังไม่มีส่วนไปจะมีความสำเร็จที่เป็นไปได้มาน้อยขนาดไหน ฉะนั้น การใช้ Waterfall Model ในแต่ละขั้นตอนจะเกิดการ Feedback บ่อยครั้ง Spiral Model จึงถูกพันกับความเสี่ยงและความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้น ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดข้อผิดพลาด

ข้อดี เปรียบเทียบกับ Software Development Process Model อื่น ๆ

ถ้าใน Project มีความเสี่ยงต่ำในด้านของ User Interface หรือ performance และมีความเสี่ยงสูงในแง่ของ Budget และ ระยะเวลามันจะเหมือนกับเป็น Waterfall Model ถ้าความต้องการ Software มีค่าค่อนข้างคงที่ คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย จะเหมือนกับเป็น Two – leg Model ถ้าใน Project มีความเสี่ยงต่ำในแง่ของ Budget แต่มีความเสี่ยงสูงในแง่ของ User Interface ว่าจะไม่ตรงกับความต้องการจะเหมือนกับเป็น Evaluation Model ถ้าสามารถเปลี่ยนจาก Application ไปเป็น Software หรือ Code ได้ จะเหมือนกับเป็น Transform Model ถ้ามีความเสี่ยงในหลายปัจจัยข้างต้น Spiral Model จะช่วยให้เสี่ยงน้อย คือมีความเหมาะสมที่สุดในแต่ละปัจจัย

สรุปข้อดีของ Spiral Model ได้ดังนี้

1. สนับสนุน กานนำ Software กลับมาใช้อย่างเต็มตัว
2. ในแต่ละ Cycle มีขั้นตอนประมวลผลที่สิ้นสุดภายใน Cycle เดียว
3. การวางแผนเพื่อกำหนดทางเดินของ Software Process ในรอบต่อไป
4. เนื่องจากการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทำให้ ผลลัพธ์ของ Software Product ตรงกับความต้องการ
5. แก้ไขข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่น ๆ
6. มีความเป็นอิสระต่อกันทางด้านการพัฒนาและการแก้ไข

ข้อเสีย เนื่องจาก Spiral Model ทุก Cycle ของการพัฒนามีการวิเคราะห์และตีค่า ถ้าการวิเคราะห์เกิดผิดพลาด จะทำให้ Software Produce ที่ออกมาผิดพลาดทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ปฐมพงษ์ ตระกูลมณีเนตร (เต้) 51040854

3 ความคิดเห็น:

  1. Spiral Model เป็น Model ที่เหมาะกับซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เนื่องจากการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงเป็นค่าใช้ จ่ายที่อาจจะไม่คุ้มสำหรับโครงการขนาดเล็กและผู้ที่จะจัดการความเสี่ยงได้ต้องมีประสบการณ์ เหมาะกับงานที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อย หรือมีความต้องการใหม่เรื่อย ๆ


    น.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ)

    ตอบลบ
  2. เพิ่มเติมเนื้อหาค่ะ

    โครงสร้างของ Spiral Model

    · รัศมี ของวงกลม จะหมายถึง Cost ที่เกิดขึ้นในขบวนการพัฒนา Software ถ้าจำนวนของ Cycle ที่มากขึ้นก็จะหมายถึง Cost ของการพัฒนาก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย

    · มุม ของวงกลม หมายถึง

    ความก้าวหน้าในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนในแต่ละ Cycle ได้สำเร็จ





    นส.ภาริณี วิจิตโรทัย (พลอย) 51040868

    ตอบลบ
  3. การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบนี้มีข้อดีคือมีอิสระต่อกันในการพัฒนาและการแก้ไขในแต่ละขั้นตอน แต่เนื่องจาก Spiral Model นั้น ในทุกๆ Cycle ของการพัฒนาจะต้องมีการวิเคราะห์ ซึ่งถ้ามีการวิเคราะห์ผิดพลาดก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

    รัตน์ชนันท์ ถาวรศักดิ์สุธี(โบว์ลิ่ง)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น