วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี

aaสมัยก่อน ในศูนย์คอมพิวเตอร์จะเห็นภาพผู้คนนั่งเจาะบัตรคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลหรือโปรแกรม การทำงานในสมัยนั้นส่วนใหญ่ใช้การประมวลผลแบบกลุ่ม โดยนำข้อมูลเก็บไว้ในเทปบันทึก แล้วนำมาประมวลผล เพื่อทำรายงานตามความต้องการ การทำงานในลักษณะประมวลผลแบบกลุ่มก็ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบันโดยเฉพาะงานวิจัย
aaaaaการแจ้งผลสอบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคาร ต้องมีการค้นหาข้อมูลผลสอบ และตอบให้ทราบทันทีทั้งที่เป็นระบบเสียงพูดและระบบแสดงผลบนจอภาพ เป็นตัวอย่างที่แสดงว่า การทำงานกับระบบฐานข้อมูลเริ่มมีความจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง การประมวลผลแบบนี้ มีการเรียกค้นหาข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา จึงนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
aaaaaต่อมาไมโครคอมพิวเตอร์ได้เป็นที่นิยม โดยมีขีดความสามารถทางด้านความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาลดลง และมีโปรแกรมสำเร็จเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ง่าย ๆ เกิดขึ้นหลายโปรแกรม แนวโน้มการใช้งานประมวลผลข้อมูลด้วยไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น
aaaaaเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีจัดการฐานข้อมูลก็ได็รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การจัดการฐานข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาเล่าเรียนกันในหลาย ๆ ระดับ การจัดการฐานข้อมูลจะยึดหลักการที่สำคัญคือ

aaaaa1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม โดยกระจายอยู่ในหลาย ๆ แฟ้ม มักจะพบปัญหาของการปรับแก้ไขข้อมูล เพราะต้องคอยปรับปรุงข้อมูลให้ครบทุกแฟ้ม มิฉะนั้นจะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยากข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบและเก็บอยู่ในฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อน
aaaaa
ในการกำหนดรูปแบบข้อมูลจะต้องทำให้ข้อมูลทั้งฐานข้อมูลเป็นรูปเดียวกัน เช่น การกำหนดข้อมูลชื่อ ให้ใช้ชื่อแล้วเว้นช่องว่างจึงเป็นนามสกุล และมีตำแหน่งต่อท้ายแทนการขึ้นต้น เช่น พ.ท. สมชาย ดีใจ เก็บเป็น สมชาย ดีใจ พ.ท. เป็นต้น เมื่อมีการกำหนดรูปแบบข้อมูลที่ชัดเจน และถือปฏิบัติใช้ทั้งฐานข้อมูลก็จะลดปัญหาการจัดการฐานข้อมูลลงไปได้มาก ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบฐานข้อมูล
aaaaa
ข้อมูลจะต้องใช้งานได้กับผู้ใช้หลาย ๆ ประเภท หรือหลายแบบ เช่น ข้อมูลในฐานข้อมูลของจังหวัด จะต้องใช้ได้ทุกอำเภอ
aaaaa
ความต้องการข้อมูลของแต่ละหน่วยงานอาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น แผนกขายต้องการชื่อที่อยู่ของลูกค้าเพื่อติดต่อส่งเสริมการขาย แผนกติดตามหนี้ต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติหนี้ค้างของลูกค้า
aaaaa
การเรียกชื่อข้อมูล อาจจะเรียกแตกต่างกัน เช่น ชื่อสินค้า อาจเรียกได้หลายอย่างในชื่อสินค้าเดียวกัน
aaaaa
2) กำหนดมาตรฐานข้อมูล ในการสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตราฐาน มีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตราฐาน มีการกำหนดคำหลัก (keyword) หรือค่าที่ใช้แทนข้อมูลอย่างเดียวกันเพื่อให้ได้ความหมายต่อการใช้งานที่ดี
aaaaa3) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล เพื่อบ่งบอกว่าใครจะเป็นผู้แก้ไขหรือข้อมูลได้บ้าง มีการบันทึกประวัติการแก้ไขข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นอาจมีความสำคัญ ดังนั้นการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
aaaaa4) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นระบบที่ข้อมูล และฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้ การออกแบบให้ข้อมูลเป็นอิสระนี้ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรูบแบบ
aaaaa5) รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง แต่เดิมมีการเก็บข้อมูลแยกเป็นแฟ้มกระจัดกระจาย จึงต้องเก็บข้อมูลด้วยเทป แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลกลาง ทำให้ระบบการทำงานใช้ข้อมูลร่วมกันได้

aaaaaการดำเนินงานฐานข้อมูลจะต้องมีการจัดการเตรียมฐานข้อมูลและบริหารข้อมูล โดยจัดแบ่งแยก ปรับปรุงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องหน้าที่หลักของผู้บริหารฐานข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูลตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แบ่งกลุ่ม จัดลำดับ กำหนดรหัสข้อมูล สรุปผลทำรายงาน คำนวณเก็บรักษาข้อมูลโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและเชื่อถือได้ของข้อมูล การค้นหาข้อมูล การสำรวจข้อมูล และเผยแพร่แจกจ่ายข้อมูล

http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/technof3.htm#3.6

นางสาวอริญญา ปิ่นแก้วกาญจน์ ปอย

6 ความคิดเห็น:

  1. คล้ายๆๆ กับ database ที่เรียนมาเลยนะ เป็นเหมือนวิธีการทำ Normalization ค่อยๆๆ ทำไปทีละขั้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และหลักข้ออื่นๆๆ ก็คล้ายๆๆกัน

    กรรณิการ์ อภินันทกุล (นิ*)

    ตอบลบ
  2. เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนิ จริงแล้วการจัดการกับสารสนเทศ และมีการจัดเก็บรวบรวมไว้ ก็คือฐานข้อมูล การจัดการสารสนเทศที่ดีก็เลยมีวิธีการคล้ายๆกับการ Nomalization

    นัทธมน847(โดนัท)

    ตอบลบ
  3. ปัจจุบันองค์กร สถาบัน หน่วยงาน ต่าง ๆ ล้วนแต่ลงทุนมากกว่า 50% ของงบประมาณไปกับการจัดหาระบบสารสนเทศ (Information Systems) มาใช้งาน ดังนั้นการจัดการระบบสารสนเทศ (Management Information System: MIS) และ การจัดการสารสนเทศล้วนแต่มีความสำคัญ เพราะถ้าขาดการจัดการที่ดีแล้ว ย่อมจะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สารสนเทศ ได้รับสารสนเทศที่ไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานหรือตัดสินใจผิดพลาดตามมา และยิ่งในปัจจุบันสารสนเทศที่ไหลเวียนไปนั้นมีปริมาณที่มากและซับซ้อนสูง การจัดการด้วยสามัญสำนึกหรือความสามารถส่วนบุคคลจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) จึงกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการสารสนเทศต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ

    ตอบลบ
  4. การตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงาน ลักษณะการจัดการสารสนเทศเหมือนวิชา DATABASE ที่เรียนมาปี 3 เลย เพราะระบบงานธุรกิจจะมีการเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล โดยระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่ผู้ใช้ระบบ ดังนั้นผู้ออกแบบระบบที่ดีจะต้องคำนึงถึงประโยชน์จากผู้ใช้ เพื่อนำมาใช้งานตามความเหมาะสมให้เข้ากับงาน สะดวก รวดเร็ว และข้อมูลถูกต้องงสามารถมีการปรับแก้ไขได้ตลอดเวลา

    นางสาวศกุนตรา โชติเทียน รหัส 51040877

    ตอบลบ
  5. การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของ MIS ทุกการทำงานล้วนมีคำว่าการจัดการ เวลาเราทำงานอะไรก็ตาม ต้องมีการจัดการ บริหารงานที่ดีนั้นเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่อย่างนั้นคงไม่มีหลักสูตรการบริหาร และการจัดการ หรอกเนอะ


    ศิริมา กุลอุดมทรัพย์ (note) :D *

    ตอบลบ
  6. การพัฒนาระบบสารสนเทศในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อชีวิตชีวิตการทำงานประจำวันอย่างมาก ทุกระดับงาน โดยเฉพาะ ระดับ บริการ และระดับนโยบาย เพราะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการเก็บข้อมูล การทำงาน รวบรวมข้อมูลนั้นรายงานให้ หัวหน้างานทราบว่าทำครบถ้วนใหม เทคโนโลยีสารสนเทศนำเอาข้อมูลที่รวมรวมมาวิเคราะห์ ออกเป็นรายงานวิเคราะห์ ให้ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนโยบาย ทำได้ใช้ในการควยคุม การวางแผน การตัดสินใจ กำหนดทิศทางการบริหารในอนาคตของบริษัท

    By:นางสาวธารทิพย์ โหลณุต (แพร)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น