วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของ DFD

1. แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD)
Data Flow Diagram เป็นเครื่องมือของนักวิเคราะห์ระบบที่ช่วยให้สามารถเข้าใจกระบวนการทำงานของ แต่ละหน่วยงาน ซึ่งทราบถึงการรับ / ส่งข้อมูล การประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นแบบจำลองของระบบ แสดงถึงการไหลของข้อมูลทั้ง INPUT และ OUTPUT ระหว่างระบบกับแหล่งกำเนิดรวมทั้งปลายทางของการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแผนก บุคคล หรือระบบอื่น โดยขึ้นอยู่กับระบบงานและการทำงานประสานงานภายในระบบนั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้รู้ถึงความต้องการข้อมูลและข้อบกพร่อง (ปัญหา) ในระบบงานเดิม เพื่อใช้ในการออกแบบการปฏิบัติงานในระบบใหม่

รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างDFD ต่างระดับ (คลิกที่รูปถ้าต้องการดูรูปที่ชัดเจน)

จาก รูปที่ 1 ลูกศรแสดงถึงข้อมูลซึ่งต้องมีชื่อกำกับ ลูกศรนี้จะเคลื่อนที่ผ่านระบบตรงกลาง คือ การสร้างระบบวานใหม่ แสดงถึงการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับข้อมูลที่วิ่งเข้ามา และลูกศรที่วิ่งออกจากระบบตรงกลางแสดงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำบนข้อมูล นั้นๆ แต่จากรูปนี้เราไม่อาจทราบว่าระบบใหม่สร้างขึ้นมาได้อย่างไร เอให้ได้รายละเอียดในการสร้างระบบใหม่ เราก็แตกระบบนี้ลงอีกระดับหนึ่ง ในรูปที่ 1 ส่วนล่างที่แตกออกไปเป็น 3 กิจกรรม มีกิจกรรมอยู่ 3 ขั้นตอนในการสร้างระบบใหม่ การแยกย่อยหน้าที่หนึ่งให้ได้รายละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจระบบนั้นได้ดีขึ้น และอาจจะแตกกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมลงให้มีรายละเอียดมากขึ้นอีกก็เป็นได้ จนกว่าจะได้รายละเอียดเหมาะสมตามจุดประสงค์ของเรา วิธีการเขียนนี้ก็เหมือนกันกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีหลาย ๆ โปรแกรมย่อยนั่นเอง ดังนั้นการเขียน DFD ละเอียดเท่าใดก็ทำให้การออกแบบที่ตามมาง่ายขึ้นเท่านั้น

โมเดลทางกายภาพและทางตรรกภาพ (hysical and Logical Model)
ในการเขียน แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) เราอาจเขียนได้ใน 2 รูปแบบ คือ แผนภาพการไหลของข้อมูลทางกายภาพ และแผนภาพการไหลของข้อมูลทางตรรกภาพ ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้จะแตกต่างกันคือ เมื่อเราพูดถึงลอจิคัลหรือตรรกภาพจะหมายถึง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราพูดถึงโดยไม่สนใจว่าจะทำอย่างไร เช่น เราพูดว่าเรียงลำดับข้อมูล เราจะไม่สนใจว่าจะเรียงลำดับข้อมูลนั้นได้อย่างไร เราเรียกการกระทำแบบนี้ว่า ลอจิคัลหรือตรรกภาพ หรืออีกนัยหนึ่งลอจิคัลก็คือ "ทำอะไร" ในขณะที่ฟิสิคัลหรือกายภาพจะมีความหมายตรงข้ามคือ จะต้องการทราบว่า การจะทำอะไรนั้นจะต้องทำอย่างไร เช่น การเรียงลำดับข้อมูลต้องทราบว่า จะต้องใช้โปรแกรม Utility ช่วยในการเรียงลำดับ

สรุป ก็คือ ลอจิคัลหรือตรรกภาพจะไม่สนใจว่า "จะทำอะไร" ส่วนฟิสิคัลหรือกายภาพนอกจากจะต้องทราบว่าจะทำอะไรแล้วยังต้องคำนึงด้วยว่า "จะทำอย่างไร"

ตัวอย่างแผนภาพลอจิคัลและฟิสิคัลสำหรับการพิมพ์รายงานเพื่อเตรียมเงินสด

รูปตัวอย่างแผนภาพลอจิคัล สำหรับการพิมพ์รายงานเพื่อเตรียมเงินสด

รูปตัวอย่างแผนภาพฟิสิคัลสำหรับการพิมพ์รายงานเพื่อเตรียมเงินสด

2. ส่วนประกอบของ DFD
เพื่อให้การ เขียนแผนภาพการไหลของข้อมูลเป็นมาตรฐานและมีแบบแผนที่ถูกต้อง ในที่นี้จะใช้สัญลักษณ์ในการเขียน DFD ตามทฤษฎีของ SSADM (Structure Systems Analysis and Design Method) ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 สัญลักษณ์ ดังต่อไปนี้

1. สัญลักษณ์แทนการประมวลผล (Process)


2. สัญลักษณ์แทนกระแสข้อมูลเป็นลูกศร (Data Flow)

3. สัญลักษณ์แทนแหล่งเก็บข้อมูล (Data Store) เป็นเส้นขนาน 2 เส้น ปลายปิด 1 ด้าน

4. สัญลักษณ์แทนสิ่งที่อยู่นอกระบบ (External หรือ Terminators)

รูปที่ 2 แสดงสัญลักษณ์ในการเขียน DFD

เราจะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ข้างต้นนี้เพื่อเขียนแผนการไหลของข้อมูล เพื่ออธิบายกระบวนการทำงานเป็นแผนภาพ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
1. สัญลักษณ์แทนการประมวลผล (Process)
รูปสี่เหลี่ยมมีหมายเลขและชื่อกำกับ เป็นสัญลักษณ์แทนขั้นตอนในกระบวนการทำงาน จะกระทำให้ลักษณะของข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป ดังตัวอย่าง

การ ประมวลผลจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลขาเข้าเป็นผลลัพธ์ นั่นหมายความว่า จะต้องมีการกระทำบางอย่างต่อข้อมูลทำให้เกิดผลลัพธ์ขึ้นมา โดยปกติแล้วข้อมูลที่เข้าสู่โพรเซสจะแตกต่างจากข้อมูลเมื่ออกจากโพรเซส

โพ รเซสเป็นตัวอย่างอันหนึ่งของ "กล่องดำ" หมายถึง เราทราบว่าข้อมูลเป็นอะไร ผลลัพธ์อะไรที่เราต้องการ และหน้าที่โดยทั่วๆไปของโพรเซส แต่จะไม่ทราบว่าโพรเซสนั้นทำงานอย่างไร หลักการของกล่องดำมีประโยชน์ในการเขียนแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล โดยที่ยังไม่ต้องการทราบในรายละเอียดว่าโพรเซสนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง ซึ่งสามารถหารายละเอียดเหล่านั้นได้ในภายหลัง
ชื่อโพรเซสเป็นตัวบอกว่าโพรเซสนั้นทำหน้าที่อะไร คำที่ใช้ควรมีความหมายที่แน่นอน ควรจะใช้คำกริยา เช่น แก้ไข พิมพ์ คำนวณ เป็นต้น ถ้าการทำงานใดที่เราไม่สามารถหาคำแทนได้อย่างเหมาะสม อาจจะหมายความว่า งานนั้นๆ ไม่ใช่โพรเซสก็ได้ โพรเซสใดไม่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีก จะมีสัญลักษณ์ * กำกับอยู่ด้วย จะปรากฏที่โพรเซสในระดับล่างสุดของ DFD

จากรูปตัวอย่างข้างต้น แสดงว่าโพรเซส คำนวณภาษี เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมสุดท้ายในการทำงาน ไม่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีก

3. กระแสข้อมูล (Data Flow)
กระแสข้อมูลแทนด้วยลูกศร โดยที่มีชื่อกำกับบนลูกศร

ข้อมูล จะไหลระหว่างโพรเซสต่างๆ และอาจจะเคลื่อนที่มาจากสิ่งที่อยู่นอกระบบก็ได้ ข้อมูลที่เคลื่อนที่อาจจะเป็นเพียงข้อมูลเดี่ยวๆ เช่น เลขที่สินค้า หรือกลุ่มของข้อมูล เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า เป็นต้น

กลุ่มของข้อมูลควรจะเป็นเรื่องเดียวกัน หรือสัมพันธ์กัน ถ้าต้องการอ้างถึงข้อมูลทั้งสองที่ไม่เกี่ยวข้องกันให้เขียนแยกเป็นลูกศร 2 อัน เช่น



รูปที่ 3 ข้อมูล 2 รายการไม่เหมือนกันจะต้องแยกลูกศรออกจากกัน(ซ้ายเป็นภาพที่ผิด),(ขวาเป็นภาพที่ถูก)

4. แหล่งเก็บข้อมูล (Data Store)
แทนด้วยเส้นขนาน 2 เส้น ปลายปิด 1 ด้าน และมีชื่อและหมายเลขกำกับ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไฟล์และถูกเรียกใช้เมื่อต้องการ โดยปกติแล้วไฟล์ไม่อาจจะอยู่ในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก ถ้าหัวลูกศรวิ่งเข้าสู่ไฟล์แสดงว่า มีการเขียนข้อมูล หรือการแก้ไขข้อมูลในไฟล์ การตั้งชื่อไฟล์ควรเป็นคำนาม

รูปที่ 4 การแก้ไขข้อมูลในไฟล์

ประเภทของแฟ้มข้อมูล คือ
1. Manual File
2. Digital File
3. Transaction File
ในการเขียน DFD แหล่งเก็บข้อมูลต้องไม่เชื่อมต่อกันโดยตรง โดยปราศจากโพรเซสใดโพรเซสหนึ่งก่อน

แหล่งเก็บข้อมูลนอกระบบ (Terminator)
สิ่งที่อยู่นอกระบบแทนวงรี ซึ่งจะมีชื่อ และชื่อกระบวนการกำกับอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นตัวบุคคล หรือองค์การต่างๆ สิ่งที่อยู่นอกระบบอาจจะเป็นที่ส่งข้อมูลเข้าระบบ หรืออาจเป็นตัวรับข้อมูลจากระบบก็ได้


นายธนชัย กะชามาศ 51040840 (แบงค์)

3 ความคิดเห็น:

  1. ทำให้รู้จักสัญลักษณ์ในแผนการไหลของข้อมูล ว่าสัญลักษณ์ในแต่ละสัญลักษณ์มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้นำมาเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องในการทำแผนการไหล


    By:นางสาวธารทิพย์ โลหณุต (แพร)

    ตอบลบ
  2. สัญญลักษณ์ใน DFD มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับ่าทฤษฎีของใครด้วยนะคะ
    อาจารย์จงดี

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น