วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้มเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ปี 2554

แนวโน้มเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ปี 2554

  • 1) Cloud Computing
  • 2) Mobile Applications and Media Tablets
  • 3) Open Source Software
  • 4) Web 2.0
  • 5) Broadband Technology
    1. Cloud Computing การนำคอมพิวเตอร์มาให้บริการผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากรอย่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นของตัวเอง โ ซึ่งเป็นบริการในรูปแบบ Software as a Service หรือเรียกสั้นๆ ว่า SaaS บริการรูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ใช้บริการมองเห็นประโยชน์ในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ที่ลดลง ไม่ต้องเสียกำลังคนในการดูแลรักษาระบบ ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องการอัพเดทระบบรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้ทุกอย่างถูกรวมอยู่ในค่าบริการรายเดือนแล้วนั่นเอง
    2. Mobile Applications and Media Tablets เนื่องจากการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้บรรดาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ทำงานบนอุปกรณ์เหล่านั้นเพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้พัฒนาต่างรีบส่งแอพพลิเคชั่นของตนเองออกสู่ตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้นผ่านบริการรูปแบบ Application Store บวกกับระบบการสื่อสารความเร็วสูงอย่าง 3G ทำให้การทำงานทุกอย่างบนอุปกรณ์พกพากลายเป็นความจริงขึ้นมา
    3. Open Source Software เทคโนโลยีที่พลิกโฉมหน้าการพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่งผลให้เกิดระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านซอฟต์แวร์ในเครื่องระดับเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ทอปแล้ว ยังสร้างปรากฎการณ์ใหม่บนแพลตฟอร์มของอุปกรณ์พกพาที่ถนนทุกสายพากันวิ่งเข้าสู่ Android
    4. Web 2.0 เทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้งาน Social Network ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านบริการในรูปแบบของ Podcast, Videocast, Blog, Wiki และ Social Bookmark มากขึ้น คาดการณ์ว่าจะมีการนำเอาเทคโนโลยี Web 2.0 มาใช้ในทางธุรกิจมากขึ้น และจะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ออกมาสนับสนุนการใช้งานรูปแบบนี้
    5. Broadband Technology เทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยให้มีการขยายความกว้างของการส่งสัญญาณในเครือข่าย เรียกง่ายๆ ว่ามีการเพิ่ม Bandwidth นั่นเอง ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะส่งผลให้มีความพร้อมในการใช้งานรูปแบบของ Location Based มากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Location Based เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย


น.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น