วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษาระบบ

การบำรุงรักษาระบบเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการพัฒนาระบบ หลังจากที่ทำการติดตั้งระบบงานใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งระบบอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อยุคสมัยหรือปรับปรุงข้อผิดพลาดให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาระบบเป็นการยืดอายุระบบงานให้ใช้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ เป็นงานหลักในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เพราะการที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้รับการพัฒนาและบำรุงรักษาที่ดีอาจส่งผลให้ระบบไม่สามารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ(ฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย) ไม่มีความน่าเชื่อถือ (ข้อมูลสารสนเทศ) และไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน (Software) ซึ่งมีผลทำให้องค์กรไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งผู้บริหารไม่สามารถกำหนดนโยบายและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องซึ่งการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. Hardware breakdown (อุปกรณ์เกิดความเสียหาย) อุปกรณ์ Hardware ถึงแม้จะมีความน่าเชื่อถือมาก แต่บางครั้งอาจเกิดความเสียหายผิดพลาดในการทำงานได้ เช่น อุปกรณ์เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน เป็นต้น ดังนั้นเราจึงสามารถเลือกวิธีดำเนินการเพื่อลดระยะเวลาที่เครื่องจะหยุดการทำงานได้

บริการภายใน กิจการควรมีหน่วยงานซ่อมบำรุงภายใน และสามารถขยายขีดความสามารถขององค์กรได้

ใช้บริการจากภายนอก โดยกำหนดค่าดูแล Hardware จากผู้จำหน่าย Maintenance Contract (per call, per year / Preventive Maintenance)

บริการแบบผสมผสานใช้วิธีการที่ 1 และ 2 ผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อการเหมาะสมกับองค์กรและการดำเนินงาน

2. Software Maintenance การบำรุงรักษา Software คือการกระทำต่อระบบ หรือ โปรแกรมที่ใช้งานอยู่แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ

Corrective Maintenance แก้ไขจุดบกพร่อง (Bug) ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่เคยตั้งไว้

Adaptive Maintenance ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานแวดล้อมปัจจุบัน

Upgrading ยกระดับให้ใช้งานได้ เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยน Hardware, System, Software และอื่น ๆ

Enhancing เสริมเพิ่มเติม เกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการใหม่ ๆ เกิดขึ้นและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบ

3. Maintenance redevelopment life cycle (วงจรของการบำรุงรักษา และการ พัฒนาระบบใหม่)

4. Software Maintenance Management (การจัดการบำรุงรักษาระบบ)

5. System Efficiency Enhancement (การพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเพิ่ม ประ สิทธิภาพระบบสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการบูรณาการข้อมูลจากส่วน ภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลาง)

6. ในองค์กรที่มีการใช้ IT ในการพัฒนาจำเป็นต้องวางแผนการจัดการการบำรุงรักษา ดังต่อไปนี้

การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลกรให้มีหน้าที่ดูแลการ บำรุงรักษา

ดูแลการจัดทำสัญญาเรื่องการบำรุงรักษาระบบและประสานงาน

กำหนดนโยบายการคิดค่าใช้จ่าย การให้บริการบำรุงรักษาต่อหน่วยงาน ในสังกัดอื่นอย่างชัดเจน เพื่อผลของการประเมิน

กำหนดขั้นตอนและลำดับความสำคัญของการบำรุงรักษาแต่ละแบบ

รวมทั้งการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ซึ่งในการดำเนินการนี้เป็นการบำรุงรักษา และการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย อุปกรณ์ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายรวมถึง Software ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายเพื่อให้รองรับการใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

กิจกรรมในการบำรุงรักษาระบบ

1. เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ

2. วิเคราะห์ข้อมูลการร้องขอเพื่อการปรับปรุง

3. ออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุง

4. ปรับปรุงระบบ

ประเภทของการบำรุงรักษาระบบ

1. ซ่อมบำรุงเพื่อความถูกต้อง (Corrective Maintenance)

2. ซ่อมบำรุงเพื่อปรับเปลี่ยน (Adaptive Maintenance)

3. ซ่อมบำรุงเพื่อความสมบูรณ์ (Perfective Maintenance)

4. ซ่อมบำรุงเพื่อป้องกัน (Preventive Maintenance)

ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนในการบำรุงรักษาระบบ

1. จำนวนข้อผิดพลาดที่อยู่ในระบบ

2. จำนวนลูกค้า

3. คุณภาพของเอกสาร

4. คุณภาพของทีมงานซ่อมบำรุง

5. เครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนการซ่อมบำรุง

การจัดการการซ่อมบำรุงรักษาระบบ

1. บุคลากรในทีมงานบำรุงรักษาระบบ

2. การประเมินประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาระบบ

3. การควบคุมการร้องขอให้ปรับปรุงระบบของผู้ใช้


นางสาวกนกวรรษ ดาษเสถียร (แนน )

4 ความคิดเห็น:

  1. หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมและใช้งานไปแล้ว อาจจะมีข้อบกพร่องในด้านต่างๆเกิดขึ้น ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
    ผมคิดว่าในขั้นตอนของการบำรุงรักษาระบบนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งครับ

    ปฐมพงษ์ ตระกูลมณีเนตร (เต้)

    ตอบลบ
  2. การบำรุงรักษาอาจรวมถึงการพัฒนาระบบให้ทันสมัยหรือตามความต้องการของผู้ใช้ที่อาจจะมีเพิ่มขึ้นได้

    มานิตา 872 (pick)

    ตอบลบ
  3. การบำรุงรักษาระบบจะเป็นขั้นตอนที่มีการเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุด ระบบต้องปรับให้ทันกับโลกประจุบัน ผู้ใช้งาน และปัจจัยอื่นๆอีกด้วย


    นส.ภาริณี วิจิตโรทัย (พลอย) 51040868

    ตอบลบ
  4. การบำรุงรักษานั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ซึ่งการบำรุงรักษาอาจอยู่ในรูปของการแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม การปรับปรุงหรือแก้ไขโปรแกรมให้รอบรับกับความต้องการใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ระบบ หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ

    รัตน์ชนันท์ ถาวรศักดิ์สุธี(โบว์ลิ่ง)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น