วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธี เขียน DFD

วิธีสร้าง DFD
1. กำหนดสิ่งที่อยู่นอกระบบทั้งหมด และหาว่าข้อมูลอะไรบ้างที่เข้าสู่ระบบหรือออกจากระบบที่เราสนใจเข้าสู่ระบบ ที่อยู่ภายนอก ขั้นตอนนี้สำคัญมากเพราะจะทำให้ทราบว่าขอบเขตของระบบนั้นมีอะไรบ้าง

2. ใช้ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 นำมาสร้าง DFD ต่างระดับ

3. ขั้นตอนต่อมามีอีก 4 ขั้นตอน โดยให้ทำทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งได้ DFD ระดับต่ำสุด

• เขียน DFD ฉบับแรก กำหนดโพรเซสและข้อมูลที่ไหลเข้าออกจากโพรเซส

• เขียน DFD อื่นๆ ที่เป็นไปได้จนกระทั่ง DFD ที่ถูกที่สุด ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดที่รู้สึกไม่ง่ายนักก็พยายามเขียนใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ควรเสียเวลาเขียนจนกระทั่งได้ DFD ที่สมบูรณ์แบบ เลือก DFD ที่เห็นว่าดีที่สุดในสายตาของเรา

• พยายามหาว่ามีข้อผิดพลาดอะไรหรือไม่ ซึ่งมีรายละเอียดในหัวข้อ "ข้อผิดพลาดใน DFD"
เขียนแผนภาพแต่ละภาพอย่างดี ซึ่งDFD
ฉบับนี้จะใช้ต่อไปในการออกแบบและใช้ด้วยกันกับบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องในโครงการด้วย

4. นำแผนภาพทั้งหมดที่เขียนมาแล้วเรียงลำดับ ทำสำเนา แล้วพร้อมที่จะนำไปตรวจสอบข้อผิดพลาดกับผู้ร่วมทีมงาน ถ้ามีแผนภาพใดที่มีจุดอ่อนให้กลับไปเริ่มต้นใหม่ที่ขั้นตอนที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง

5. นำ DFD ที่ได้ไปตรวจสอบข้อผิดพลาดกับผู้ใช้ระบบเพื่อหาว่ามีแผนภาพใดไม่ถูกต้องหรือไม่

6. ผลิตแผนภาพฉบับสุดท้ายทั้งหมด

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะคับ อ่านต่อได้ที่

http://www.nayoktech.ac.th/~vwinwin/BC21_49/page7.html#0

อิชช์กันต์ มานะวงศ์เจริญ (กิด) 51040901

6 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลต่างที่ได้เกิดขึ้นกับแผนภาพทำให้ทราบถึง

    1 ข้อมูลมาจากไหน

    2 ข้อมูลไปที่ไหน

    3 ข้อมูลเก็บที่ใด

    4 เกิดเหตุการณ์ใดกับข้อมูลในระหว่างทาง

    BY นางสาวพิชชานันท์ พินิจธนภาคย์ (เอ)

    ตอบลบ
  2. การเขียนแผนภาพ ทำให้ได้รู้ลำดับขั้นตอนต่างๆของระบบงาน ทั้งยังรับทราบถึงรายละเอียดงานย่อยๆ ว่ามาจากแฟ้มข้อมูลใดบ้าง มีความสัมพันธ์กันยังไง
    รวมถึงแสดงให้เห็นถึงทิศทางการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ และการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในระบบ

    โดย นางสาวสุภาพร แซ่แต้ (บี) 51040886

    ตอบลบ
  3. (เพิ่มเติม) Data Flow Diagram เป็นเครื่องมือของนักวิเคราะห์ระบบที่ช่วยให้สามารถเข้าใจกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งทราบถึงการรับ / ส่งข้อมูล การประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นแบบจำลองของระบบ แสดงถึงการไหลของข้อมูลทั้ง INPUT และ OUTPUT ระหว่างระบบกับแหล่งกำเนิดรวมทั้งปลายทางของการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแผนก บุคคล หรือระบบอื่น โดยขึ้นอยู่กับระบบงานและการทำงานประสานงานภายในระบบนั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้รู้ถึงความต้องการข้อมูลและข้อบกพร่อง (ปัญหา) ในระบบงานเดิม เพื่อใช้ในการออกแบบการปฏิบัติงานในระบบใหม่

    น.ส. ศุภญานี แต้มคุณ (มุก)

    ตอบลบ
  4. แผนภาพนี้จะช่วยให้การวิเคราะห์ระบบเป็นไปได้สะดวก โดยทำให้เห็นถึงข้อมูลและขั้นตอนต่างๆของระบบอย่างชัดเจน

    รัตน์ชนันท์ ถาวรศักดิ์สุธี (โบว์ลิ่ง)

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  6. การสร้างแผนภาพ DFD ขึ้น จะทำให้เราจัดอันดับความคิดได้อย่างชัดเจน ว่าแผนภาพจะแสดงใหัเห็นถึงข้อมูลการดำเนินงานต่างๆของระบบ และทำให้เราทราบว่าควรเริ่มดำเนินการหรือควรกระทำสิ่งใดเป็นอันดับแรกจนถึงลับดับสุดท้าย

    By:นางสาวธารทิพย์ โลหณุต (แพร)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น