วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว ( RAD )

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว (Rapid Application Development)




การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว เรียกว่า RAD เป็นวงจรการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนารวดเร็วกว่า และคุณภาพดีกว่าวิธีพัฒนาระบบงานดั้งเดิม มี 4 ขั้นตอน

1. การกำหนดความต้องการ

2. การออกแบบโดยผู้ใช้

3. การสร้างระบบ

4. การเปลี่ยนระบบ


เทคนิคสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ RAD คือ

- มีกรอบระยะเวลาการพัฒนาซอฟต์แวร์ RAD

- เป็นแนวร่วมปฏิบัติการกับ JAD

- พัฒนาต้นแบบและรวดเร็ว


PS. เพืื่อนๆสามารถอ่านเพิ่มได้ตาม link>> http://www.docstoc.com/docs/71800073/Ch12_Prototype ตั้งแต่หน้า 5 นะ


ศิริมา กุลอุดมทรัพย์ ( note ) :D *


5 ความคิดเห็น:

  1. ตามความคิดเห็นนะค่ะ
    การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว ถือว่าเป็นระบบงานหนึ่งก็ว่าได้ ที่ทำให้ระบบงานออกมาได้อย่างดีค่ะ หลังจากที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมนะค่ะ ระบบงานนี้เป็นระบบงานที่มีการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบหนึ่งที่ทำให้การทำงานมีความพร้อม อีกทั้งยังถือว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพดีกว่าการพัฒนารูปแบบเดิมๆ อีกด้วยค่ะ ทำให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วทำให้ช่วยประหยัดด้านเวลา เพราะระบบงานนี้จะลดจากระบบงานเดิม (ระบบSDLC) ที่มี 7 ขั้นตอนเหลือเพียง 4 ขั้นตอนค่ะ

    พิชชานันท์ พินิจธนภาคย์(เอ)^^

    ตอบลบ
  2. เอาเปนว่า เห็นด้วยกับ เอละกันนะ ฮ่าๆ

    อิชช์กันต์ มานะวงศ์เจริญ (กิด) ^^

    ตอบลบ
  3. ข้อดีของระบบนี้สามารถช่วยให้พัฒนาระบบได้สำเร็จลุล่วงโดยใช้เวลาน้อยที่สุดแต่ข้อเสียของระบบนี้ก็มี ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้ตลอดเวลา,ความพร้อมขององค์กร,ค่าใช้จ่าย ดังนั้นถ้าจะเลือกใช้ระบบอะไรก็ตามควรศึกษาความต้องการขององค์กร ความเป็นไปได้ก่อนที่จะนำระบบนี้มาใช้ด้วยนะค่ะ

    กรรณิการ์ อภินันทกุล (นิ)*

    ตอบลบ
  4. การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็วถือว่ามีความสะดวก รวดเร็วกว่าระบบงานเดิมมาก ช่วยลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายขององค์กร ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงระบบไปในทางดีขึ้น






    ธารทิพย์ โลหณุต (แพร)

    ตอบลบ
  5. ความรวดเร็วในการพัฒนาระบบถือเป็นปัจจัยนึงของการพัฒนาระบบ ถ้าหากระบบที่ทำการพัฒนาอยู่เสร็จช้าเกินไป ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ความต้องการของผู้ใช้ระบบนั้นเปลี่ยนไปแล้ว

    ประมาณ มะแก้ว(มาณ)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น