วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเริ่มต้นโครงการและการศึกษาเบื้องต้น

การเริ่มต้นโครงการและการศึกษาเบื้องต้น

การเริ่มต้นการทำการวิเคราะห์ระบบเบื้องต้น โดยจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ ๆ 2 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นตอนการศึกษาระบบงานเบื้องต้น

2. ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน

ขั้นตอนการศึกษาระบบงานเบื้องต้น

งานในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการทำงานเริ่มแรกของการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1. การสำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation) งานในขั้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการค้นหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของระบบ ว่าอะไรเป็นสาเหตุอันสำคัญที่ทำให้ระบบเกิดปัญหาขึ้น และปัญหาที่แท้จริงของระบบนั้นคืออะไร และถ้าระบบมีปัญหาหลายปัญหาเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จะต้องทำการแก้ไขปัญหาใดก่อนเป็นอันดับแรก และปัญหาใดที่จะต้องทำการแก้ไขในอันดับต่อ ๆ ไป ดังนั้น ในการสำรวจเบื้องต้นนี้จึงประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อย ๆ ลงไปอีก ดังนี้

1.1 การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ (Organization and Function of Business System)

1.2 การศึกษาระบบงาน (System Investigation)

1.3 การพิจารณาความสามารถของระบบ (Determination of System Adequacy)ซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น 6 เรื่องใหญ่ ๆ ที่เรียกว่า 6 M ได้แก่

1.3.1 Man Power คือ กำลังคน หรือกำลังแรงงานของคน

1.3.2 Machine Power คือ กำลังเครื่องจักร ละเอียด

1.3.3 Material คือ ปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้า

1.3.4 Money คือ ปัญหาทางด้านการเงิน หรือสถานการเงิน (Money System)

1.3.5 Management คือ ปัญหาเกี่ยวกับระบบการบริหารงาน

1.3.6 Morale คือ ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องขวัญและกำลังใจของคนงานหรือพนักงาน เป็นอย่างไร

2. การกำหนดปัญหา (Problem Definition) ทำการกำหนดขอบข่ายในการแก้ไขปัญหาว่า จะทำการแก้ไขปัญหาอะไรก่อนหลังไปตามลำดับและจะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร การกำหนดขอบข่ายในการแก้ไขปัญหานี้ เรียกว่า การกำหนดปัญหา (Problem Definition) ซึ่งจะใช้เป็นกรอบในการออกแบบระบบงานต่อไป

3. การจัดทำเอกสารเสนอผลงานเบื้องต้น (Presentation) นักวิเคราะห์จะต้องจัดทำเอกสานเสนอผลงานการวิเคราะห์ระบบงานขั้นแรก เพื่อเป็นการชี้แจงถึงปัญหาและสาเหตุตลอดจนแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาที่ควร จะดำเนินการต่อไปให้ผู้บริหารได้ทราบเพื่อพิจารณาว่าควรจะดำเนินการ วิเคราะห์และออกแบบระบบต่อไปหรือไม่ เพื่อให้การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานได้ดำเนินการต่อไปนั่นเอง

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน

1. พิจารณาวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายขององค์กร

2. การพิจารณาความสามารถของระบบข่าวสารข้องมูลขององค์กร

3. การขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้บริหารระดับต่าง ๆ

4. การจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Steering Committee)

5. การกำหนดความต้องการทางด้านบุคลากรและการจัดตั้งทีมงาน (Team Work)

6. การกำหนดความต้องการทางด้านระบบข่าวสารข้อมูล (Information Requirement)

7. การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study)

8. การจัดทำเอกสารโดยทาง (System Proposal)


สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5012/P_3/System%20Analysis%20and%20Design/B8.htm

น.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ)

6 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. เราควรศึกษาการทำโครงการให้เข้าใจก่อนตามที่กล่าวมาข้างต้น
    การทำงานอย่างมีขั้นตอนจะช่วยในการทำงานที่เร็วขึ้นและลดปัญหาความผิกพลาดที่จะตามมาได้ถ้าไม่ศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบของเราอย่างละเอียด

    กัญจน์ ชาญสิทธิโชค (กัน)^ ^

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. การกำหนดความต้องการทางด้านระบบข่าวสารข้อมูล เป็นหน้าที่ของการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่จะต้องทำ โดยการพิจารณาว่าต้องการข่าวสารข้อมูลอะไรบ้างและข่าวสารข้อมูลนั้นจะต้องได้มาจากหน่วยงานใด จากนั้นจึงออกแบบฟอร์มสำหรับการบันทึกข่าวสารข้อมูลที่ต้องการจะนำไปใช้ และเลือกผู้รับผิดชอบที่จะทำการบันทึกข้อมูล โดยต้องกำหนดระยะเวลาเพื่อให้ได้ข่าวสารข้อมูลที่ทันต่อการใช้งาน

    นนทกร ฉัตรวิไลรัตน์

    ตอบลบ
  5. การสำรวจเบื้องต้นนั้นคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นลำดับแรกเพราะว่า ถ้าเราสำรวจได้ข้อมูลที่ดีและจำนวนมาก จะทำให้เราได้ข้อมูลที่มากและมีประโยชน์กับเรามากค่ะ

    กรรณิการ์ อภินันทกุล (นิ*)

    ตอบลบ
  6. การที่เราได้มีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของระบบ ทำให้รู้ถึงปัญหาความต้องการและข้อจำกัดต่างๆที่มี จะช่วยทำให้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาระบบได้ชัดเจนมากขึ้น ลดระยะเวลาในการพัฒนาระบบที่ไม่จำเป็น

    ประมาณ มะแก้ว(มาณ)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น