วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ

การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ (System Analysis and Design)
การวิเคราะห์และออกแบบระบบคือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งหรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบก็คือ การหาความต้องการ (Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบ และการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผน หรือเรียกว่าพิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้งานได้จริง ตัวอย่างระบบสารสนเทศ เช่น ระบบการขาย ความต้องการของระบบก็คือ สามารถติดตามยอดขายได้เป็นระยะ เพื่อฝ่ายบริหารสามารถปรับปรุงการขายได้ทันท่วงที ตัวอย่างรายงานการขายที่กล่าวมาแล้วจะชี้ให้เห็นว่าเราสามารถติดตามการขายได้อย่างไร

นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst หรือ SA)
นักวิเคราะห์ระบบคือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบเพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ ในกรณีที่นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในองค์กรนั้น ก็สามารถวิเคราะห์ระบบได้เช่นกันโดยการศึกษาสอบถามผู้ใช้และวิธีการอื่นๆ ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง ผู้ใช้ในที่นี้ก็คือเจ้าของและผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศนั้นเอง ผู้ใช้อาจจะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เพื่อให้นักวิเคราะห์ระบบทำงานได้อย่างคล่องตัวมีลำดับขั้นและเป้าหมายที่แน่นอน นักวิเคราะห์ระบบควรทราบถึงว่า ระบบสารสนเทศนั้นพัฒนาขึ้นมาอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>>>
http://rugnoy.blog.mthai.com/2007/07/27/public-3

By. น.ส.ชุติมน ศิริศรชัย (ก้อย)

4 ความคิดเห็น:

  1. ในความเห็นของเรานะ

    ขอยกตัวอย่างในการทำสัมนา ปัญหาพิเศษ พวกเราก็เปรียบเป็นนักวิเคราะห์ระบบ ที่กำลังวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบันขององค์กรเพื่อให้ทราบถึงปัญหา หรือให้ทราบถึงความต้องการขององค์กร แล้วนำมาออกแบบระบบให้ได้ระบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญต้องตรงความต้องการของผู้ใช้งานด้วยคะ

    By :ปิยะดา โซ๊ะประสิทธิ์ (เดียร์) :D

    ตอบลบ
  2. การวิเคราะห์ระบบ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะได้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อยของระบบ เพื่อที่จะทำการแก้ไขหรือพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พวกเราโชคดีที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับด้านนี้เนื่องจากทรัพยากรบุคคลของนักวิเคราะห์ระบบมีจำนวนไม่มากนัก หากเปรียบเทียบกับนักบริหารด้านอื่น จึงควรตั้งใจศึกษาและนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สุงสุดในอนาคต

    By กันต์ อึงรัตนากร (กัน)

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณ ก้อย กัน และเดียร์ นะคะ

    ปัญหาพิเศษ และ วิชานี้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร พวกเราอาจจะได้ คำตอบ เลา เลา บ้างแล้ว .... ส่วน สหกิจ ไม่ต้องห่วง นะคะ ครูจะพยายาม ให้พวกเราได้คำตอบ ด้วยตัวเอง นะคะ

    คำถามของครูคือ เราเป็นนักวิเคราะห์ระบบแล้วหรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดี

    ตอบลบ
  4. ในความคิดขอหนูหนูว่า ...ยังค่ะ แต่อยู่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนาที่กำลังจะไปเป็นนักวิเคราะห์ระบบค่ะ :)

    คุณสมบัติเบื้องต้นของนักวิเคราะห์ระบบที่ควรจะมี คือ
    1. มีความรู้ความสามารถทาง คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม
    2. มีความสามารถในสื่อสาร
    3. มีทักษะการแก้ไขปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและปัญหาในระยะยาวได้ดี
    4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีใจรักในงานให้บริการ
    5. มีความเป็นผู้นำและสร้างทีมในการทำงานได้
    6. ขยัน อดทนต่อสถานการณ์ที่กดดันได้ และมีความรับผิดชอบสูง

    ชุติมน ศิริศรชัย (ก้อย) :)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น