วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1.Structured System Analysis and Design Methodology (SSADM)
แนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศ แบบ Structured System Analysis and Design Methodology (SSADM) จะใช้แบบจำลองที่เป็นแผนภาพเพื่ออธิบายขั้นตอนการทำงานและข้อมูลทั้งหมดของระบบ โดยเรียกวิธีการใช้แผนภาพเพื่อจำลองขั้นตอนการทำงานหลักของระบบว่า “Process-Center Approach” และเรียกวิธีการใช้แผนภาพเพื่อจำลองข้อมูลของระบบว่า “Data-Center Approach”
ข้อดี ของ SSADM ในรูปแบบของ SDLC Waterfall Model คือ สามารถรวบรวมความต้องการจากผู้ใช้ได้เป็นระยะเวลานานก่อนที่จะเริ่มเขียน โปรแกรม และการเปลี่ยนแปลงความต้องการมีน้อย เนื่องจากก่อนที่จะถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ข้อมูลต่าง ๆ ที่วิเคราะห์มานั้นจะต้องได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากเจ้าของระบบก่อน จึงจะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมได้ หมายความว่าข้อมูลทุกอย่างที่วิเคราะห์และออกแบบมานั้นจะต้องตรงตามความต้อง การของผู้ใช้และเจ้าของระบบมากที่สุดนั่นเอง
ข้อเสีย จะใช้เวลานานมากในขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ และการออกแบบต่าง ๆ จะร่างลงบนกระดาษ ซึ่งผู้ใช้หรือเจ้าของระบบไม่สามารถทดลองใช้งานได้ จึงอาจจะทำให้ไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาในระหว่างขั้นตอนการเขียนโปรแกรมได้

2.Repid Application Development-based Methodology (RAD)
Rapid Application Development-based Methodology เป็น Methodology แนวใหม่ที่พัฒนาขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1990 เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของ Methodology แบบ Structured Design ด้วยการปรับระยะในวงจรการพัฒนาระบบ ให้มีขั้นตอนการทำงานที่รวบรัดมากขึ้น มีการเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) และเทคนิค (Techniques) ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาระบบนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ใช้ระบบยังสามารถทดลองใช้โปรแกรมต้นแบบเพื่อบอกนักวิเคราะห์ระบบ ได้ว่า ระบบที่ออกแบบมานั้นถูกต้องหรือไม่ และมีข้อผิดพลาดใดเกิดขึ้นบ้าง

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Methodology แบบ RAD นี้ได้มีการนำเทคนิคและเครื่องมือชนิดต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนการพัฒนาระบบ ให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ใน SDLC ได้ด้วยการใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าแบบ SSADM ยกัวอย่างเทคนิคและเครื่องมือดังกล่าว เช่น CASE Tools, JAD) และโปรแกรมภาษาที่ช่วยสร้างโค้ดโปรแกรม ช่วยออกแบบหน้าจอ รายงานและแบบฟอร์มต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่า RAD Methodology จะช่วยให้การพัฒนาระบบดำเนินการได้รวดเร็วเพียงใดก็ตาม นักวิเคราะห์ระบบที่เลือกวิธีการนี้ จะต้องพบกับปัญหาซึ่งเป็นข้อเสียของ RAD Methodology นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากผู้ใช้ได้ทดลองใช้โปรแกรมต้นแบบที่สามารถสร้างและแก้ไขได้ง่ายนั่นเอง
3. Object-Oriented Analysis and Design Methodology
จาก Methodologies ทั้งหมดในกลุ่มของ RAD Methodology ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นการดัดแปลงวิธีการในการพัฒนาระบบจาก Methodology แบบ Structured System Analysis and Design กล่าวคือ วิเคราะห์และออกแบบเพื่อแก้ปัญหาของระบบงานด้วยการอ้างอิงกับขั้นตอนการทำงาน (Process-Centered Approach) และอ้างอิงกับข้อมูลทั้งหมดของระบบ (Data-Centered Approach) แต่ทั้ง Process-Centered Approach และ Data-Centered Approach มีความสำคัญใกล้เคียงกันมาก ทำให้นักวิเคราะห์ระบบและทีมงานพัฒนาระบบเกิดความสับสนในการเลือกที่จะอ้างอิงด้วยวิธีการใด จึงทำให้เกิด “Object-Oriented Analysis and Design Methodology” เพื่อพัฒนาระบบในวงจร SDLC ด้วยการวิเคราะห์และออกแบบเพื่อแก้ปัญหาระบบงาน โดยมองปัญหาเหล่านั้นให้เป็นวัตถุที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนการทำงาน (Process) รวมกับข้อมูล (Data) ด้วย

ในยุค แรกของการนำ Object-Oriented Methodology มาใช้การพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ ต่างก็ใช้ แบบจำลองที่เป็นแผนภาพแตกต่างกันไป ทำให้แผนภาพไม่เป็นมาตรฐาน (Standard) เดียวกัน ยากแก่การนำไปสร้างเนื้อหาการเรียนการสอนในสถาบันศึกษา และยากต่อการทำความเข้าใจระหว่างเชิงวัตถุ (Object-Oriented Analysis and Design Methodology) ได้แก่ Grady Booch, Ivar Jacobson และ James Rumbaugh จึงร่วมกันคิดค้นมาตรฐานของแผนภาพสำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดีคือ “UML (Unified Modeling Language)” และได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานของการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุแนวใหม่ (Modem Object-Oriented Analysis and Design) จาก OMG (Object Management Group) ในปี ค.ศ.1997 และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (ปลายปี พ.ศ.2545)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่>>http://classroom.hu.ac.th/courseware/SA/chapter3/ch3_3.html
By. น.ส.ชุติมน ศิริศรชัย (ก้อย) :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น