วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการ ปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการ ปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยี ที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก

- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

การพัฒนาระบบประกอบด้วย

1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ

- การปรับปรุงคุณภาพ

- การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน

- การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี

- การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว

2) บุคลากร (People)

3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ

4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการ เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศ แล ะงบประมาณที่กำหนด

5) งบประมาณ (Budget)

6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)

7) การบริหารโครงการ (Project Management)

ทีมงานพัฒนาระบบ

การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล

1) คณะกรรมการ (Steering Committee)

2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)

3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)

4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ

- ทักษะด้านเทคนิค

- ทักษะด้านการวิเคราะห์

- ทักษะดานการบริหารจัดการ

- ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค

- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)

หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

1) คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ

2) เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้

- ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น

- รวบรวมและกำหนดความต้องการ

- หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด

- ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก

- สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

3) กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ

4) กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ

5) ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง

6) เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา

7) แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย

8) ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

- การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)

- การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)

- การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

- การออกแบบระบบ (System Design)

- การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)

- การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คลิ๊ก

ที่มา : http://thailocal.nso.go.th/nso-cms/itdevelop.html?showall=1

นายพิเชฐ โพธิ์สุวรรณ (BigM)

5 ความคิดเห็น:

  1. การพัฒนาระบบสารสนเทศ จะเป็นการทำให้การทำงานนั้นเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นในการทำงาน และเป็นการเพิ่มข้อได้เปรียบในการทำงาน

    นางสาวธารทิพย์ โลหณุต (แพร)

    ตอบลบ
  2. การพัฒนานะบบสารสนเทศควรมีการวางระบบเพื่อตอบสนองธุรกิจมากที่สุด ระบบที่พัฒนาออกมานั้นควรแก้ไขปัญหาได้จริง โดยทีมของการพัฒนาระบบควรมีความรู้ในหลายๆด้านเช่น เทคโนโลยีต่างๆ

    เสาวรักษ์ พูลทา (กิ๊ก)

    ตอบลบ
  3. การพัฒนาระบบสารสนเทสจะช่วยปรับปรุงระบบสารสนเทศทั้งในขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำมาประยุกต์ใช้กับระบบงานเดิม เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ

    สุภาพร แซ่แต้ (B)

    ตอบลบ
  4. เห็นด้วยกับความจำเป็นในการพัฒนาระบบเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน เพราะระบบเดิมทำงานไม่ได้ตามต้องการ การดำเนินงาน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูล และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยี ที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย และมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะหากยังใช้ระบบเดิมก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการทำงาน ไม่ก่อให้เกืดค่าใช้จ่ายที่เพื่อมมากขึ้น ไม่ซับซ้อนไม่ยุ่งยากเหมือนระบบงานเดิม และสามารถช่วยแก้ปัญหาในการทำงานได้จริงๆ

    นางสาวบุษยา รินจันทร์ (กี๋) รห้ส 51040853

    ตอบลบ
  5. การที่ระบบสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการ รวดเร็ว และถูกต้องได้นั้นจำเป็นต้องมีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการพัฒนาระบบที่เรียกว่า ขั้นตอนการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ (Systems Delopment Life Cycle หรือ SDLC ) ดังนี้
    1. วิเคราะห์และกำหนดความต้องการของระบบงาน
    (System Analysis and Specification )
    2. ออกแบบขั้ื้นตอนการแก้ไขปัญหา (System Design )
    3. เขียนชุดคำสั่ง (Program Coding )
    4. ทดสอบการทำงานของระบบงาน (System or Program Testing)
    5. ใช้งานและบำรุงรักษาระบบ (System Implementaion and Maintenance )
    6. จัดทำเอกสารประกอบระบบ (Documentation)

    อุมาภรณ์ ชัยภักดี (ต้องตา) 51040903

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น