การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านวิชาการคอมพิวเตอร์และด้านธุรกิจในแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะในงานด้านที่ตนจะต้องเข้าไปทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้น ๆ และสามารถที่จะพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจอย่างมีเทคนิคและแบบแผน ผู้ที่จะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีจะต้องมีการเตรียมตัวศึกษาและหาประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี ซึ่งอาจจำแนกย่อยออกเป็น
1.1 ด้าน Hardware คือ ด้านระบบของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นรูปธรรมที่เกี่ยวกับชนิดและประเภทของเครื่อง ความสามารถเข้าใจการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องในยุคปัจจุบันที่กำลังทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบอยู่ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนยุคปัจจุบันหนึ่งยุคซึ่งเป็นเครื่องที่ยังมีผู้ใช้อยู่ในปัจจุบัน และระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะนำเข้ามาใช้แทนยุคปัจจุบัน
1.2 ด้าน Software คือ โปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง เช่น ระบบ PC-DOS, MS-DOS, UNIX, OS/2 และ WINDOWS ในเวอร์ชันต่าง ๆ นอกจากนี้ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม APPLICATION ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้าน WORD PROCESSING เช่น CU-WRITER,WORD FOR WINDOWS, MICROSOFT WORD Version ต่าง ๆ , LOTUS Version ต่าง ๆ , Dbase, FOXPRO, ACCESS Version ต่าง ๆ เป็นต้น
นักวิเคราะห์ระบบไม่จำเป็นจะต้องเขียนโปรแกรมเป็นหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นทุกเครื่อง แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านนี้มามากเพียงพอที่จะทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบได้ เช่น ต้องรู้ว่าธุรกิจแห่งนั้นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ระบบอะไร ซึ่งเหมาะสมกับระบบธุรกิจนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมควรจะแนะนำให้ใช้ระบบอะไรแทนหรือถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมไปใช้ระบบใหม่ ต้องออกแบบระบบใหม่ให้ใช้ได้อย่างถูกต้องตามความต้องการและความเหมาะสมของผู้ใช้ระบบ เป็นต้น
2. เป็นผู้มีความรู้ทางด้านธุรกิจแขนงต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้สำหรับการบริหารองค์กร เช่น
2.1 ความรู้ทางด้านการบริหารทั่วไป เกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจ การจำแนกสายการปฏิบัติงาน การจัดตั้งทีมงาน หรือความรู้เกี่ยวกับการจัดองค์กรบริหารธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
2.2 ความรู้สำหรับใช้ในการตัดสินใจ (Decision Making และ Decision Support) เช่น Statistics, Probability, Theory of Game, Decision Table, Network Analysis เป็นต้น
2.3 ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการออกแบบระบบ เพราะการออกแบบระบบนั้นจะต้องเป็นการออกแบบที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Even Analysis) การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน (Performance Analysis) เป็นต้น
2.4 ความรู้ทางด้านระบบบัญชีและการวิเคราะห์ทางการเงิน อันเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรธุรกิจทุกแห่ง ซึ่งการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานมักจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและการเงินขององค์กรธุรกิจนั้น ๆ ด้วยเสมอ
3.เป็นผู้ที่มีความรอบรู้และประสบการณ์ทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างดีโดยการศึกษาหาความรู้จาก
3.1 การศึกษาวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานโดยตรงจากห้องเรียน หรือ จากตำราที่มีผู้เขียนขึ้นสำาความรู้จาก
หรับการศึกษาหรือสำหรับการค้นคว้าของผู้สนใจทั่วไป หรือจากบทความ การสัมมนาทางวิชาการ ที่สถาบันต่าง ๆ ได้จัดขึ้น
3.2 ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบจริง ๆ เช่น การฝึกหัดวิเคราะห์และออกแบบระบบในห้องเรียน การไปฝึกงานหรือได้ทำงานทางด้านนี้ร่วมกับทึมงานนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
3.3 ประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรม ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์และออกแบบระบบไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมก็ตาม แต่ก็ต้องมีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดีอย่างน้อยหนึ่งหรือสองภาษา เช่น COBOL, BASIC, C++, PASCAL โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีความรู้หรือความสามารถในการเขียน Program Logic หรือ Program Flowchart เป็นอย่างดี
3.4 ประสบการณ์ทางด้านการเขียนเอกสารและรายงาน (Documentation) ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกหัดและการหัดทำ หัดเขียนบ่อย ๆ
4. ความสามารถในการแก้ปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์และออกแบบระบบจะต้องมีความสามารถที่จะแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจแยกออกเป็นส่วน ๆ และวิเคราะห์ปัญหาเหล่านั้นเพื่อที่จะหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหาในแง่ของการหาเหตุและผล (Cause and Effects) อย่างมีขั้นตอน และรู้จักใช้ความสามารถของตนเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหา (Alternative Solution) แม้ว่าความสามารถอันนี้จะเป็นพรสวรรค์ที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน แต่ความสามารถในการแก้ปัญหา สามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้
หัวใจของการหาวิธีการแก้ปัญหาที่สำคัญ คือ การพยายามมองภาพของปัญหาในกว้าง ๆ อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาวิธีแรกที่ตนคิดเป็นวิธีที่ดีที่สุด และเป็นวิธีเดียวเท่านั้น อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนอื่น ๆ คิด เพื่อแก้ปัญหาที่คล้าย ๆ กันกับของตนนั้นเป็นวิธีมาตรฐาน และใช้ได้กับวิธีของเรา ควรพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน (Strong and Weak Point) ของแต่ละวิธีโดยละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจนำวิธีการนั้น ๆ มาพัฒนาเป็นระบบใช้งานจริง
5. มีมนุษยสัมพันธ์และความสามารถในการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากนักวิเคราะห์และออแบบระบบจะต้องพบปะกับบุคคลหลายประเภท หลายอาชีพ และหลายระดับ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การสื่อสารจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้บุคคลต่าง ๆ ที่นักวิเคราะห์ระบบติดต่ออยู่เข้าใจในสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบต้องการ และในที่นี้จะหมายรวมถึง ความสามารถที่จะสัมภาษณ์ (Interview) ความสามารถที่จะอธิบายหรือชี้แจงในที่ประชุม (Presentation) รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง (Listening) ด้วย
6. ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม (Group Work or Team) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะขาดเสียไม่ได้ เนื่องจากงานของนักวิเคราะห์ระบบส่วนใหญ่จะต้องกระจายให้กับโปรแกรมเมอร์ ถัดลงไปคือการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม จึงส่งผลต่อความสำเร็จและความเชื่อถือต่อนักวิเคราะห์ระบบเองโดยตรง ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบควรจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะการทำงานแต่กับฝ่ายของตนเองหรือกับโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หากแต่จะต้องทำตัวเองให้เป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบได้อีกด้วย การทำงานโดยทำให้ผู้ใช้ระบบรู้สึกเป็นกันเองกับนักวิเคราะห์ระบบจะทำให้การติดตั้งระบบงานเป็นไปโดยสะดวกขึ้น พร้อมกับลดแรงกดดันหรือต่อต้านจากผู้ใช้ระบบที่มีแนวความคิดว่า โดนยัดเยียดระบบงานใหม่ให้แทนระบบงานดั้งเดิม
7. ประสบการณ์เก่า ซึ่งไม่สมารถจะหลีกหนีความเป็นจริงไปได้ ว่าประสบการณ์มีความสำคัญต่อทุกสาขาอาชีพ นักวิเคราะห์ระบบก็เช่นเดียวกัน ประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาในระหว่างปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนาระบบ จะเป็นการส่งเสริมให้ตัวนักวิเคราะห์ระบบก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ
กีต้าร์ (กาตี้) 844 งุ๊งิ๊ๆ
นักวิเคราะห์ระบบต้องรู้รอบด้านและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
ตอบลบพิเชฐ โพธิ์สุวรรณ (บิ๊กเอ็ม)
นักวิเคราะห์ระบบไม่เพียงแต่จะมีความรู้และประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีเท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสนใจในเรื่องของธุรกิจ ความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และหมั่นพัฒนาทักษะด้านต่างๆของตนเองอยู่สม่ำเสมอด้วย
ตอบลบน.ส.ฤดีมาศ บุญทรง (ส้มโอ) 51040874
ต้องสามารถกำหนดปัญหาและแนวทางของระบบงานที่นำมาแก้ไขให้ได้ ถึงจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบให้กับ user ได้ นักวิเคราะห์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นผู้สมานช่องว่างนี้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะนำเอาความเข้าใจและเทคโนโลมาพัฒนาระบบงานข้อมูลเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับงาน
ตอบลบศิริมา 881(note ) :D *
นักวิเคราะห์ระบบเป็นอาชีพที่ต้องเตรียมตัวเยอะจริงๆผนวกกับประสบการณ์ที่ขาดไม่ได้ แต่ก็น่าสนใจและท้าทายไม่น้อยเลย
ตอบลบเฉลิมขวัญ ส่งศรีจันทร์ (ขวัญ)