การพัฒนาการคิด
กรอบความคิดของการคิด ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้กระบวนการคิด แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ทักษะความคิด หรือทักษะการคิดพื้นฐาน ที่มีขั้นตอน การคิดไม่ซับซ้อน
กลุ่มที่ 2 ลักษณะการคิด หรือการคิดขั้นกลาง/ระดับกลาง เป็นการคิดที่มีลักษณะการคิดแต่ละลักษณะอาศัยการคิดขั้นพื้นฐานมากบ้างน้อยบ้าง
กลุ่มที่ 3 กระบวนการคิดหรือการคิดระดับสูง คือ มีขั้นตอนในการคิดซับซ้อนและต้องอาศัยทักษะความคิดและลักษณะความคิดเป็นพื้น ฐานในการคิด กระบวนการคิดมีอยู่หลายกระบวนการ เช่น กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการตัดสินใจ
การพัฒนากระบวนการคิดต้องอาศัยตัวร่วมขณะคิด 4 ตัวร่วมดังนี้
ตัวร่วมที่ 1 กรอบโลกทัศน์/ชีวทัศน์ คือตัวร่วมสำคัญที่ผสมผสานในระหว่างที่เราคิด เราคิดอย่างไร จะสรุปความคิดของเราออกมาเช่นไร จะยึดกรอบเดิมหรือกรอบใหม่
ตัวร่วมที่ 2 นิสัย คือ นิสัยมีผลเชื่อมโยงกับรูปแบบวิธีคิดของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวกำหนดการคิด และการแก้ปัญหาของเรา
ตัวร่วมที่ 3 อารมณ์ คือ เมื่อเราเกิดอารมณ์ใดก็ตามสมองของเรามักจะสร้างภาพในใจหรือเกิดจินตนาการถ่ายทอดอารมณ์นั้น
ตัวร่วมที่ 4 แรงจูงใจ คือ การที่เราตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงเรามักจะกระตุ้นด้วย แรงขับภายใน ได้แก่ แรงขับความต้องการพื้นฐาน แรงขับความอยากรู้อยากเห็นกระบวนการแก้ปัญหา
และยังมีระบบและรูปแบบของการคิด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> http://www.oknation.net/blog/print.php?id=365536
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น