หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่
นอกจากหน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ คือ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ แล้วนักวิเคราะห์ระบบยังมีหน้าที่ที่ต้องดำเนินการอีกหลายหน้าที่ดังนี้
1. รวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
2. จัดทำเอกสาร ในระหว่างทำการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำเอกสารในแต่ละขั้นตอนให้ละเอียด
3.จัดทำพจนานุกรมข้อมูล ( Data Dictionary ) เป็นการรวบรวมเอกสารทั้งหมด และอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องมีการใช้งานในระบบ พจนานุกรมจัดเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ระบบ
4.ออกแบบระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ และมีความเหมาะสมมากที่สุด รวมทั้งออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน และฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำมาใช้งาน
5.สร้างแบบจำลอง ทำการสร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอแก่เจ้าของระบบและผู้ใช้งาน
6.ทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ในบางครั้งนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้ทดสอบโปรแกรมเอง แต่หากให้ผู้ใช้งานระบบเป็นผู้ทดสอบจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจระบบงานอย่างแท้จริง
7.ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ ทำการติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบเดิมเป็นระบบใหม่
8.จัดทำคู่มือ จัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบ
9. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุง ดัดแปลง หรือแก้ไขทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้ระบบมีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุดจัดทำแบบสอบถามถึงผลการดำเนินงานของระบบใหม่ที่ได้ติดตั้งไปแล้ว
10.เป็นผู้ให้คำปรึกษา คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนในระบบ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการใช้โปรแกรมหรือทางด้านเทคนิคก็ตาม
11.เป็นผู้ประสานงาน ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรได้ถูกต้องตรงกันที่สุด
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่
นักวิเคราะห์ระบบที่ดียังจะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2. มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4. ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอก
ที่เกี่ยวข้องกับระบบ
5. มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้
เกิดผลเสียแก่องค์กร
6. ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8. สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9. มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ
ตรงกัน
10. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11. สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12. เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง
นางสาวบุษยา รินจันทร์ รหัส 51040853 (กี๋)
ถึง กี๋ และนักศึกษา ทุกท่าน
ตอบลบลองพิจารณานะคะ ว่า ในการทำปัญหาพิเศษ (โปรแกรม) เราได้ทำงานอย่างไร ทำหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ ครบถ้วนหรือไม่ .... อีกข้อ เรามีคุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ มากน้อยเพียงใด .... น่าคิดนะจ้ะ
อาจารย์จงดี