วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนผังการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์




อ้างอิง จาก http://www.et2you.com/index.php?option=com_content&view=article&id=248:2010-03-13-05-02-11&catid=49:2010-03-12-04-40-16&Itemid=112

โดย สุภาพร แซ่แต้ 51040886

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ ข้อเสนอวิธีแก้ปัญหาไวรัสแบบยั่งยืนนะคะ
    1. ควรทำการ update ฐานข้อมูลไวรัสของโปรแกรมป้องกันไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณบ่อยๆ นะครับ
    (ไม่ว่าคุณจะได้มาฟรีหรือเสียเงินก็ตาม) เพราะการ update บ่อยๆ จะทำให้เครื่องของเรารู้จักไวรัสตัวใหม่ๆ ได้ดีขึ้น จะได้ไม่เป็นกรณีเชิญโจรเข้ามานั่งเล่นในบ้านของเรานะครับ ถ้าเครื่องเราไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ทเป็นประจำ ก็ลองหาวิธีการ update แบบ off-line ก็ได้ครับ

    2. ติดตั้งโปรแกรมจำพวก Disable การ Autorun ของอุปกรณ์
    ตัวหนึ่งที่ผมว่าดีและฟรีก็คือ CPE17 Autorun Killer และอีกตัวก็คือ USB Security Disk (เครื่องที่ผมใช้งานอยู่ลงทั้งสองตัวนี้ครับ) โดยการทำงานคร่าวของมันก็คือ “จะหยุดการ Autorun เมื่อตอนที่เราเสียบ Thumb Drive (อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ USB ) หรือใส่แผ่นซีดี” เพราะไวรัสหลายตัวเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านช่องทางนี้

    3. เมื่อติดตั้งแล้วโปรแกรม Disble Autorun แล้ว หลังจากเสียบอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ USB แล้ว อย่าเพิ่งเริ่มใช้งาน
    ให้ลองคลิ้กขวาที่เม้าส์ ที่ Drive ของ USB เสียบอยู่ เลือกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสสแกนดูก่อนเปิด จะช่วยป้องกันการติดไวรัสได้ดีเลยทีเดียว

    4.หลังจากดาวน์โหลดไฟล์หรือได้รับไฟล์อะไรใหม่ก็ตาม อย่าเพิ่งเปิด เสียเวลาสักนิด สแกนดูก่อน
    เพราะส่วนใหญ่ไฟล์ที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ทมักจะแนบไวรัสไว้ด้วย (พวก Crack,Sereal Number,Keygen นี่ตัวดีเลย)

    5. การสำรองข้อมูลหรือการใช้ System Restore ก็เป็นการป้องกันที่ดี
    (ถ้าใครสำรองข้อมูลด้วยการ Ghost ได้นี่ยิ่งดีใหญ่เลยครับ ผมก็ทำไว้อยู่เหมือนกัน windows มีปัญหาปุ๊ป ลง Ghost ปั๊บ กลับมาใสปิ๊งเหมือนเดิม)

    6. ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ไม่ควรเก็บไว้ใน ไดรว์ C:
    เพราะหากเกิดปัญหาอะไรก็ตามจนถึงขั้นที่ต้อง format เครื่องใหม่ ข้อมูลใน ไดรว์ C: จะหายไปทั้งหมด ถามว่ากู้กลับมาได้ไหม ตอบว่าได้ครับ แต่อาจไม่สมบูรณ์ ถ้าอย่างนั้น เก็บไว้ที่อื่นง่ายกว่าเยอะครับ

    ตอบลบ
  2. ทำให้เห็นขั้นตอนอย่างชัดเจนดีค่ะ

    ชุติมน ศิริศรชัย ก้อย 51040834

    ตอบลบ
  3. ก็ดีน๊ะค๊ะ เป็นการวางแผนการแก้ปัญหาที่ดีมีมาตรฐาน 555 แต่บางคนการแก้ปัญหาก็อาจแตกต่างกันออกไป
    จึงอยากเสริมนิดนึง คือปัญหาคอมพิวเตอร์ เครื่องเสียบู๊ตไม่ขึ้น อุปกรณ์เจ๊ง ฮาร์ดดิสก์พัง ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ดูจะเป็นเรื่องปกติ ที่ผู้ใช้คอมฯ ทุกท่านจะต้องเจออย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง ถ้าจะให้ทุกคนลุกขึ้นมาแก้ปัญหาหรือซ่อมเองก็เป็นเรื่องยาก เพราะถ้าเป็นอาการเสียทางด้านฮาร์ดแวร์ทุกคนก็มักจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แล้วก็ส่ายหัวเมื่อเจอปัญหาเหล่านี้ เพราะกลัวว่าถ้าซ่อมเองแล้วเครื่องจะพัง สู้ยกเครื่องไปให้ร้านซ่อมดีกว่า เพื่อความมั่นใจ
    ทุกครั้งเมื่อยกเครื่องไปที่ร้าน ก็ต้องเสียค่าซ่อมอย่างน้อย ๆ ก็ 500 บาท เป็นราคามาตรฐานที่ค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าช่างแค่เปิดฝาเครื่องแล้วขยับสายเล็กน้อย เครื่องก็หายเป็นปกติ ยิ่งรู้สึกไม่อยากจะจ่ายค่าซ่อมเลย แต่ถ้ามีอุปกรณ์พังก็ยังดี แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าราคาอุปกรณ์ที่เปลี่ยนนั้นร้านซ่อมขายให้ในราคาแพงเกินจริงหรือเปล่า และเปลี่ยนอุปกรณ์แล้วเครื่องจะหายจริงใหม หรือว่าถูกหลอกวางยาให้คุณยกมาซ่อมอีก เรียกว่าซ่อมกันไม่รู้จบสักที ที่กล่าวมาทั้งหมด จึง อยากจะแนะนำให้ทุกท่านเห็นประโยชน์ ในการเรีนรู้ทางด้านฮาร์แวร์บ้าง เพื่อให้สามารถตรวจซ่อมและแก้ปัญหาเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องไปให้ช่างซ่อม

    กีต้าร์ 844 งุ๊งิ๊ๆ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น