วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI

แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI ( OSI Reference Model )

แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI ( open systems Interconnection reference Model ) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า OSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร Internation Standard Organization ( ISO ) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้ จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด

แบบจำลอง OSI จะแบ่งการทำงานของระบบเครือข่ายออกเป็น 7 ชั้น คือ

1.APPLICATION เป็นชั้นการทำงานของซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย เช่น การ transfer แฟ้มข้อมูลการจำลอง terminal การแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้น
2. PRESENTATION เป็นชั้นการทำงานของระบบรักษาความลับและการแปลงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เช่น แปลงระหว่าง EBCIDIC กับ ASCII หรือ การแปลงข้อมูลรหัสจบบรรทัดระหว่างระบบ UNIX กับ MS-DOS เป็นต้น
3. SESSTION รับผิดชอบการควบคุมการติดต่อและการประสานของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย เช่น การตรวจสอบลำดับก่อนหลังที่ถูกต้องของ เป็นต้น
4. TRANSPORT เป็นชั้นที่รับผิดชอบการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างจุด จะทำการตรวจสอบ 3 ชั้นล่างว่ามีการทำงานที่ถูกต้อง และทำการส่งผ่านข้อมูลให้ชั้นที่สูงกว่าโดยซ่อนวิธีการทำงานที่เกิดขึ้นจริงใน 3 ชั้นล่างไว้ โดยปกติแล้วนับจากชั้นนี้ถึงชั้นบนสุดจะอยู่ในซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางด้านเครือข่ายตัวเดียวกัน ในขณะที่ชั้นที่ต่ำกว่านี้เป็นส่วนจัดการเครือข่ายซึ่งขึ้นกับชนิดของระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่
5. NETWORK เป็นชั้นที่ทำการตรวจสอบการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เช่น เวลาที่ใช้ในการส่ง การส่งต่อ (routing) และการจัดการลำดับ (flow control) ของข้อมูล
6. DATA LINK เป็นชั้นที่รับผิดชอบการนำข้อมูลเข้าและออกจากตัวกลาง การจัดเฟรม การตรวจสอบและจัดการข้อผิดพลาดของข้อมูล (error detection correction and retransmission) ในชั้นนี้จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อย (sub-layers) คือ

- LLC (Logical Link Control) จะอยู่ในครึ่งบน รับผิดชอบในเรื่องการตรวจสอบข้อผิดพลาด
- MAC (Media Access Control) อยู่ในครึ่งล่าง เป็นส่วนของวิธีส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง

7. PHYSICAL จะเป็นชั้นการทำงานทางกายภาพของระบบการเชื่อมต่อ ทั้งในส่วนของสัญญาณทางไฟฟ้า ระบบสายสัญญาณ (cable) และตัวเชื่อม (connector)


ที่มา http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net3.htm

โดย นางสาวสุภาพร แซ่แต้ 51040886


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น