ขยัน คือ การเอาภาระงานอย่างไม่นิ่งดูดาย ไม่ว่าจะกระทำให้แก่ตัวเองหรือผู้อื่นก็ตามแล้วก็กระทำอย่างสม่ำเสมอด้วยความอดทน ไม่เกียจคร้าน ไม่ย่อท้อ โดยประการใด ๆ ไม่รังเกียจต่องานประเภทนั้น ๆ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์มากหรือน้อยเพียงนิด แต่เป็นงานอาชีพที่สุจริตถูกกฎหมาย สังคมยอมรับ |
| |
ขยัน หมายถึง พฤติกรรมการกระทำการงาน หรือสิ่งอื่นใดก็ตามโดยการกระทำนั้นได้ทำอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้องตามระเบียบ ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง เพราะหากขยันผิด ๆ แล้วย่อมก่อภัยตามมาภายหลัง อาจต้องเสียทรัพย์ เสียชื่อเสียง ติดคุกติดตาราง บาดเจ็บ ถึงแก่ชีวิตสังคมรอบด้านตราบาปไว้ ให้ทุกข์ทรมานในชาตินี้หรือชาติหน้าต่อๆไป ฯลฯ แต่หากขยันผิดทางโลกทางธรรม ก็มีแต่เสียเวลาของชีวิตอยู่เรื่อย ๆ ไป หลงวกวนแต่เรื่องเดิม ๆ เดินทางผิด หลงทางผิด เป้าหมายของชีวิตเปลี่ยนไป สูญสิ้นไปอย่างไร้ค่า |
| |
ความขยันที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ต้องขยันอย่างรู้จักใช้สติ - ปัญญา ควบคู่กันไป เพราะแม้ขยันบากบั่นทุ่มโถมเต็มที่สักปานใดก็ตาม หากขยันอย่างโง่ ๆ ไม่ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ |
|
ก็จะประสบความล้มเหลวได้ จนบางคนถึงกับล้มละลายหมดเนื้อหมดตัวมาแล้วนักต่อนัก ดังนั้นการที่คนเราจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างดีผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้นั้นไม่มีทุกข์ภัยหรือบาปกรรมใด ๆ ตามมาเบียดเบียนจะต้องมีองค์ประกอบของความขยันดังนี้
|
1. | ขยันอย่างอดทนสม่ำเสมอ |
| |
2. | ขยันในทางที่ดี ถูกต้อง สังคมยอมรับ ยกย่อง |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น