1. อ่านหนังสือตอนเช้าๆ จะช่วยในการจดจำได้เยอะเพราะว่าตอนเช้าสมองของเราปลอดโปร่ง ถ้าเทียบกับตอนเย็น หรือตอนดึกๆ เนื่องจากสมองของเราผ่านอะไรมามากมายแล้ว สู้รบปรบมือกันมาทั้งวัน
2. รู้มั้ยว่า การยืนอ่านหนังสือ ช่วยในการจดจำมากกว่า การนั่งอ่านหนังสืออีกนะจะบอกให้แล้วอีกอย่างช่วยกัน การหลับคาหนังสืออีกด้วย
3. การจดโน๊ต ให้ดูสะอาดตาสวยงาม จะเป็นสิ่งดีมากๆ เนื่องจากลายมือที่สวยและเป็นระเบียบ จะช่วยในการจดจำได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะ ถ้าบอกแบบนี้ เราควรใช้กระดาษสีขาว และปากกาหมึกสีดำ ช่วยให้อักษรมีความชัดเจน และมีพลังเยี่ยมยอดเมื่อบวกกับสีขาวในกระดาษที่เป็นช่องว่างอยู่ การเรียบเรียงตัวอักษร เราควรที่จะจดแบบให้มีการเคลื่อนไหว แทนที่จะจดแบบแนวนอน เรียงยาวแบบธรรมดาๆ ก็คือการจดแบบเป็นกลอน แทนที่จะจดให้มันเป็นพรืดยาว จนเอียน การจดแบบนี้ ทำให้เมื่อยสายตา เพราะเราต้องใช้สายตากวาดทอดยาวไป ทำให้เมื่อยล้าสายตาอย่างยิ่ง ทำให้เลิกอ่านกันไปดื้อๆแต่การที่เราจดแบบกลอน มันช่วยให้สายตาของเราไม่ล้า ทำให้เราอ่านหนังสือได้มากขึ้น และจำได้รวดเร็วกว่าเดิม ไม่ต้องมาอ่านซ้ำหลายๆ รอบเหมือนแต่ก่อน
4. การจดอีกแบบนึง ก็คือ การจดแบบ mind mapping การจดแบบนี้ หลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกันดี คือ การ มีคีย์เวิร์ดชื่อเรื่องไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขากิ่งก้านหัวข้อย่อยๆ ออกมา ขอย้ำนิดนึงว่า ควรจะใช้คำสั้นๆ ที่สำคัญๆ เพื่อง่ายต่อการจดจำ และไม่น่าเบื่อ
5. การเรียนแบบจับคู่ ควรที่จะมีคู่หู 1 คนในการเรียนเพื่อแชร์ความรู้ที่แต่ละคนได้มา และโต้เถียงความรู้กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งวิธีนี้ก็ได้ผลดีเช่นกัน ทำให้การเรียนมีสีสัน และเกิดความตื่นตัวอีกด้วย
6. การอ่านหนังสือเสียงดัง หรือโยกตัว โยกขา การอ่านแบบมีจังหวะจะโคน ช่วยในการจดจำด้วย เพราะว่าเราได้ใช้ประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.phraepao.go.th
By นายภูมิภัทร จิตติเลิศวุฒิ (หนุ่ม) รหัสนักศึกษา 51040870
พยายามทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ดีที่สุด ส่งตรงตามกำหนด และเข้าชั้นเรียนทุกครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คะแนนออกมาดีน่ะค่ะ
ตอบลบอ่านข้อแรก ก็ทำไม่ได้แล่ววว
ตอบลบkit 901